กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนควนสตอร่วมใจต้านภัยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน) ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L5284-02-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอสม.โรงพยาบาลควนโดน
วันที่อนุมัติ 27 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 35,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ ว่าที่ ร.ต.หญิงรัชดา นุ่งอาหลี นางซอเฝี๊ยะ นุ่งอาหลี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 700 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) จากการคัดกรองความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ใน หมู่ที่ 5 -10 ตำบลควนสตอ อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล ในช่วงไตรมาส ในช่วงย้อนหลัง 3 ปีที่ผ่าน พบว่า ปี 2563 มีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 114 ราย(ร้อยละ 6.87) กลุ่มสงสัยป่วย 25 ราย(ร้อยละ 1.19) ผู้ป่วยรายใหม่ 16 ราย(ร้อยละ 11.51 ของกลุ่มเสี่ยงและสงสัยป่วย)มีกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง 109 ราย(ร้อยละ 6.37) สงสัยป่วย 63 ราย(ร้อยละ 3.68) ผู้ป่วยรายใหม่ 24 ราย(ร้อยละ 13.95 ของกลุ่มเสี่ยงและสงสัยป่วย) ผู้ป่วยสะสม 623 ราย(ร้อยละ 11.92 ของประชากรทั้งหมด) ,ปี 2564 มีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 191 ราย(ร้อยละ 16.39) กลุ่มสงสัยป่วย 27 ราย(ร้อยละ 1.88) ผู้ป่วยรายใหม่ 21 ราย(ร้อยละ 9.63 ของกลุ่มเสี่ยงและสงสัยป่วย) มีกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง 177 ราย(ร้อยละ 11.30) สงสัยป่วย 159 ราย(ร้อยละ 10.15) ผู้ป่วยรายใหม่ 57 ราย(ร้อยละ 7.34 ของกลุ่มเสี่ยงและสงสัยป่วย) ผู้ป่วยสะสม 664 ราย(ร้อยละ 12.58 ของประชากรทั้งหมด) และ ปี 2565มีจำนวนประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป ได้รับการคัดกรองเบาหวานทั้งหมด 2,126 คน มีกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน 114 ราย(ร้อยละ 5.84) กลุ่มสงสัยป่วย 15 ราย(ร้อยละ 0.77) ผู้ป่วยรายใหม่ 13 ราย(ร้อยละ 10.08 ของกลุ่มเสี่ยงและสงสัยป่วย)มีกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง 111 ราย(ร้อยละ 5.68) สงสัยป่วย 68 ราย(ร้อยละ 3.48) ผู้ป่วยรายใหม่ 17 ราย(ร้อยละ 9.50 ของกลุ่มเสี่ยงและสงสัยป่วย) ผู้ป่วยสะสม 661 ราย(ร้อยละ 12.54 ของประชากรทั้งหมด) การคัดกรองภาวะสุขภาพประชาชน เป็นการค้นหา เฝ้าระวังป้องกันโรค ลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไขมัน เป็นต้น รวมทั้งเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคเรื้อรังเบื้องต้น จากข้อมูลการคัดกรองและผู้ป่วยที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น พบว่ามีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทุกปี ถ้าไม่ได้รับการตรวจคัดกรองภาวะสุขภาพและได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมตั้งแต่เริ่มแรก เช่น หากคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูงแล้วพบว่า อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ก็จะสามารถป้องกันการป่วย เป็นโรคหรือลดระดับการรุนแรงของโรคดังกล่าวให้ลดลงได้ด้วยการปรับหรือเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็น โรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยส่วนใหญ่ โดยเฉพาะโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง มีสาเหตุหลักๆ มาจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องสะสมเป็นเวลานาน นั่นก็คือ พฤติกรรมด้านการบริโภคอาหาร ด้านการออกกกำลังกาย ด้านการพักผ่อนให้เพียงพอ การสูบบุหรี่ และการดื่มแอลกอฮอลล์ หรือตามหลัก 3 อ. 2 ส. นั่นเอง หากประชาชนทั้งกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง หรือคนที่เป็นโรคแล้ว ไม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของตนเองให้ดีขึ้นได้ ก็จะส่งผลต่อการเกิดโรค การเพิ่มความรุนแรงของโรคที่เป็นอยู่ และเพิ่มความเสี่ยงด้านอื่น ๆ ที่ตามมา เช่น ภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง เกิดโรคหัวใจเฉียบพลัน โรคไตเสื่อม โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานขึ้นตาภาวะปลายประสาทอักเสบ แผลเบาหวานที่เท้า การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อราที่ผิวหนัง อาการคัน และปัญหาอื่น ๆ ด้วยความมุ่งมั่น ตั้งใจ มีเจตนารมณ์ที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อสร้างสุขภาพที่ดีขึ้น โดยอาศัยการมีส่วนร่วมและความร่วมมือของคนในครอบครัวและชุมชน ด้วยการชักชวนกันมาออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีกิจกรรมสันทนาการผ่อนคลาย อารมณ์ ไม่เครียด รวมทั้งให้กำลังใจแก่ผู้ที่อดบุหรี่ หรือ ลด งดดื่มสุรา เป็นต้น และการส่งเสริมสนับสนุน ให้มี อสม. ต้นแบบ และองค์กร อสม. ต้นแบบในการสร้างสุขภาพเพื่อเป็นต้นแบบที่ดีให้แก่ประชาชน ในชุมชนต่อไปชมรม อสม.รพ.ควนโดน จึงได้จัดทำโครงการชุมชนควนสตอร่วมใจต้านภัยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน) ปีงบประมาณ 2567 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเบื้องต้นอย่างน้อย 1 ครั้งในรอบปี 2.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงได้รับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง 3.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายซึ่งตรวจพบความผิดปกติและสงสัยเป็นโรคได้รับการส่งต่อและรับการรักษาที่ถูกต้องต่อเนื่อง

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1.ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเบื้องต้นอย่างน้อย ร้อยละ 20 2.กลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยง ร้อยละ 60 ได้รับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง 3.กลุ่มเป้าหมายร้อยละ 80 ที่ตรวจพบความผิดปกติและสงสัยเป็นโรคได้รับการส่งต่อและรับการรักษาที่ถูกต้องต่อเนื่อง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเบื้องต้นอย่างน้อย 1 ครั้งในรอบปี 2.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายที่มีความเสี่ยงได้รับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อง 3.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายซึ่งตรวจพบความผิดปกติและสงสัยเป็นโรคได้รับการส่งต่อและรับการรักษาที่ถูกต้องต่อเนื่อง

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

2 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 โครงการชุมชนควนสตอร่วมใจต้านภัยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (ความดันโลหิตสูงและเบาหวาน) ปีงบประมาณ 2567 35,000.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานอย่างต่อเนื่องทุกปี 2.ประชาชนที่ทราบว่ามีความเสี่ยงได้รับคำแนะนำในการดูแลสุขภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้องไม่เป็นภาระในการดูแล รักษาภาระต่อครอบครัวและสังคม 3. ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงและเบาหวานรายใหม่ได้รับการรักษาและมีคุณภาพชีวิตที่ดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2567 10:19 น.