กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกินดีวิถีชุมชนบ้านโต๊ะสะ ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L5284-02-13
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 1 บ้านโต๊ะสะ
วันที่อนุมัติ 27 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 10,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุพรรณี ยุโสะ นางนันทา กูเล็ม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) สถานการณ์อัตราตายต่อแสนประชากร ของโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในจังหวัดสตูล พบอุบัติการณ์การป่วยด้วยโรคโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทั้งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกันโดยมี อัตราป่วยรายใหม่ของโรคเบาหวานต่อแสนประชากร ย้อนหลัง 3 ปี (2563-2565) อยู่ที่ 308.74 , 416.85 และ 413.75อัตราป่วยรายใหม่ของโรคความดันโลหิตสูงต่อแสนประชากร ย้อนหลัง 3 ปี (2563-2565) อยู่ที่ 972.24 , 1,070.66 และ 1,006.36 ตามลำดับ และจากข้อมูลการคัดกรองประชาชนในจังหวัดสตูล พบว่ากลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่ได้รับการคัดกรอง แล้วพบความเสี่ยงได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยในปีถัดมา ตั้งแต่ปี 2563 – 2566 มีข้อมูลเป็น ร้อยละ 1.39 , 1.74 , 1.92 และ 1.57ข้อมูลกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง ที่ได้รับการคัดกรองแล้ว พบความเสี่ยงได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยในปีถัดมา ในปี 2565 มีร้อยละ 5.39 และปี 2566 มีร้อยละ 5.18 ซึ่งจากข้อมูลการคัดกรองสุขภาพประชาชนพบว่ากลุ่มเสี่ยงมีแนวโน้มที่จะถูกได้รับการวินิจฉัยให้ป่วยด้วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น(รายงาน Health Data Center,2566)ในอำเภอควนโดน จังหวัดสตูล จำนวนผู้ป่วยเบาหวาน ปี 2564-2566 มีจำนวน 1,048 1,059 1,121ตามลำดับ จำนวนผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ปี 2564-2566 มีจำนวน 2,9272,9443,062 ตามลำดับ จะเห็นได้ว่า จำนวนผู้ป่วยจากทั้งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง มีจำนวนที่เพิ่มขึ้นมาโดยตลอด ข้อมูลสถานการณ์โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุบังปะโหลด ตำบลควนสตอ ปี 2564 – 2566 พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งหมด จำนวน 104 ราย ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ย้อนหลัง 3ปี (2564-2566) จำนวน 6,4 และ 6 ตามลำดับผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงทั้งหมด จำนวน216 รายผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ย้อนหลัง 3ปี (2564-2566) ดังนี้ จำนวน16,12 และ 9 รายตามลำดับนอกจากนี้ยังมีกลุ่มเสี่ยงที่ได้จากการคัดกรองสุขภาพของประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป แบ่งเป็นเสี่ยงกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ย้อนหลัง 3 ปี (2564-2566)จำนวน 283,111และ164ราย ตามลำดับ โรคความดันโลหิตสูง ย้อนหลัง 3 ปี 2564(2564-2566) จำนวน585,398และ 612 ราย ตามลำดับ กลุ่มเสี่ยง ทั้งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ย้อนหลัง 3ปี (2564-2566) จำนวน194,70 และ 146 รายตามลำดับ(รายงาน Health Data Center,2566) ผลการคืนข้อมูลจากการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขในพื้นที่ พบว่าจำนวนประชากรที่รับบริการตรวจคัดกรองจากข้อมูลของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุบังปะโหลด ปีงบประมาณ 2566 พบว่า หมู่ที่1-4 ตำบลควนสตอ ได้รับการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง เป้าหมาย 783 คน คัดกรองได้ 635 คน คิดเป็นร้อยละ 81.10 พบกลุ่มปกติ 377 คน คิดเป็นร้อยละ 59.37 กลุ่มเสี่ยงความดัน 134 คน เป็นร้อยละ 21.10 กลุ่มสงสัยป่วย 113 คน คิดเป็นร้อยละ 17.80 กลุ่มป่วยส่งพบแพทย์ ได้รับการวินิจฉัย จำนวน 22 คนตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน เป้าหมาย 974 คน คัดกรองได้ 812 คน คิดเป็นร้อยละ 83.37 พบกลุ่มปกติ 611 คน คิดเป็นร้อยละ 75.25 กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน 178 คน เป็นร้อยละ 21.92 กลุ่มสงสัยป่วย 15 คน ส่งพบแพทย์ได้รับการวินิจฉัย จำนวน 13 คน กลุ่มเสี่ยงทั้งโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 134 คน หมู่ที่ 1 บ้านโต๊ะส๊ะ ได้คัดกรองประชาชน กลุ่มเป้าหมาย อายุ 35 ปีขึ้นไป เป้าหมาย 223 คน คัดกรองได้ 171 คน คิดเป็นร้อยละ 76.68 เปอร์เซ็นต์ สรุปผลการคัดกรองพบกลุ่มปกติ 98 คน กลุ่มเสี่ยง 125 คน ในกลุ่มเสี่ยงกลายเป็นคนป่วย จำนวน 7คน ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 4 คน ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 3 คน อาสาสมัครหมู่ที่ 1 บ้านโต๊ะส๊ะ เห็นความสำคัญ ปัญหาโรค Metabolic โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ของประชาชนในพื้นที่ หมู่ที่ 1 บ้านโต๊ะส๊ะ ตำบลควนสตอ ประชาชนกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป ที่พบเป็นกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ ได้รับการคัดกรองพบความเสี่ยงหลังได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านกุบังปะโหลด แต่ไม่ครอบคลุม เนื่องจากข้อจำกัด ในด้านงบประมาณ อาสาสมัครหมู่ที่ 1บ้านโต๊ะส๊ะ ตระหนักและเห็นความสำคัญในการดำเนินงานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทาน ในกลุ่มเสี่ยงให้ครอบคลุมกลุ่มเสี่ยง จึงได้จัดทำโครงการกินดีวิถีชุมชนบ้านโต๊ะส๊ะปี 2567 โดยให้วิทยากร ให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3อ.2ส.ในชุมชน มีการสาธิตการปรุงอาหารสุขภาพ ในชุมชนให้ประชาชน ได้ดู ได้ชิมหลากหลายเมนูสุขภาพโดยอสม. สาธิตโดยลดการใช้เครื่องปรุงรสต่างๆ ใช้วัสดุพืชผักในชุมชนให้สอดคล้องกับบริบทชุมชน โดยมีกลุ่มเป้าหมายที่จะอบรมจำนวน 60 คน จัดเป็นรุ่นที่ 1 นำร่อง ในปีบงประมาณ 2567 พร้อมจดบันทึกรายชื่อและติดตามระดับความดันโลหิตและค่าน้ำตาล เป็นการดูแลสุขภาพประชาชนเพื่อลดกลุ่มป่วย กลุ่มป่วยในชุมชน ลดภาวะแทรกซ้อนเกิดความพิการก่อนวัยอันควร อย่างไรก็ตามโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานเป็นโรคที่สามารถป้องกันและลดความรุนแรงของโรคลงได้ ถ้าหากตรวจพบในระยะเริ่มแรก มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลดน้ำหนัก การควบคุมอาหาร รับประทานอาหารปรุงแต่งให้น้อยที่สุด รับประทานอาหารแบบวิถีชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด 1.เพื่อลดอัตราป่วยโรคความดันโลหิตสูง/ โรคเบาหวาน 2.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัด 1.เพื่อลดอัตราป่วยโรคความดันโลหิตสูง/ โรคเบาหวาน 2.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 10,950.00 0 0.00
2 ต.ค. 66 - 30 ก.ย. 67 โครงการกินดีวิถีชุมชนบ้านโต๊ะส๊ะ ปี 2567 0 10,950.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1.ผู้ที่เข้ารับการอบรมที่มีภาวะเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเหมาะสม 2.กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม กลายเป็นกลุ่มปกติ
3.เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อาหารสุขภาพในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 30 พ.ค. 2567 11:02 น.