กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กน้อยสุขภาพดี ศรีบางลาง
รหัสโครงการ 67-L4127-01-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางลาง
วันที่อนุมัติ 8 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2567
งบประมาณ 49,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายฟากรี ดาหะซี
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวอาฟาฟ อาลี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.212,101.291place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 160 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด
65.00
2 ร้อยละของเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์
75.00
3 ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ
80.00
4 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะผอม
65.00
5 ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะเตี้ย
80.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค เป็นแผนงานพื้นฐานของกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดไว้แต่มีคุณลักษณะและรูปแบบต่างๆ ออกไปตามกลุ่มเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการควบคุมป้องกันโรคติดต่อนั้นๆ แต่ที่ได้กำหนดเป็นมาตรฐานเดียวกันในการปฏิบัติ คือ การกำหนดอายุเกณฑ์การบริการที่เหมาะสม เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับผลประโยชน์จากวัคซีนอย่างเต็มที่และทันเวลา ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขเล็งเห็นถึงความสำคัญว่าวัคซีน เป็นเครื่องมือป้องกันโรคที่มีประสิทธิภาพสูงจึงได้นำวัคซีนที่มีคุณภาพและเหมาะสม โดยมีนโยบายด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคที่สำคัญ คือ การให้บริการวัคซีนป้องกันโรคที่มีความจำเป็นครอบคลุมจำนวนโรคได้อย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกันจัดให้มีการให้บริการวัคซีนในทุกระดับของสถานบริการวัคซีนที่ใช้ต้องมีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคสูง และต้องมีความปลอดภัยและให้บริการ โดยไม่คิดมูลค่าโดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กวัยขวบปีแรกที่มีอัตราเสี่ยงสูงในการต่อต้านเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย
จากการดำเนินงานงานการส่งเสริมสุขภาพของเด็กกลุ่มอายุ 0 – 5 ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางลาง ในรอบปี 2566 ที่ผ่านมาในกลุ่มเด็ก 0 – 5 ปี พบว่า ความครอบคลุมของการรับวัคซีนในเด็กอายุ 0 – 5 ปี โดยแบ่งเป็นกลุ่มอายุ 1 ปี 2 ปี 3 ปี และ 5 ปี คิดเป็นร้อยละ 10.42, 10.00, 8.39 และ 8.39 ตามลำดับ มีอัตราความ  คลอบคลุมต่ำกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดไว้ คืออัตราความคลอบคลุมเด็ก 0 – 5 ปี ต้องมากกว่าร้อยละ 90 นอกจากนี้ในพื้นที่ยังพบการแพร่ระบาดของโรคไอกรนโดยพบผู้ป่วยไอกรน จำนวน 11 ราย ซึ่งส่วนใหญ่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ทำให้มีแนวโน้มของการระบาดเพิ่มทุกปี ซึ่งสาเหตุเกิดจากผู้ปกครองไม่ตระหนักถึงความสำคัญของวัคซีน หรือกลัวลูกเจ็บไข้ได้ป่วยหลังการรับวัคซีน จึงไม่นำเด็กมารับบริการฉีดวัคซีน
ดังนั้น เพื่อให้การการดำเนินงานการส่งเสริมสุขภาพของเด็ก 0 – 5 ปี มีกิจกรรมที่สามารถส่งเสริมการดูแลสุขภาพของเด็กกลุ่มนี้ได้ครบถ้วน และสามารถบูรณาการดูแลด้านต่างๆ ร่วมกัน เช่น การตรวจสุขภาพช่องปาก
การตรวจพัฒนาการ การตรวจโภชนาการ ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบางลาง ตำบลบาเจาะ อำเภอ  บันนังสตา จังหวัดยะลา จึงได้จัดทำโครงการเด็กน้อยสุขภาพดี ศรีบางลาง เพื่อเป็นการส่งเสริมและเร่งรัดการติดตามวัคซีนของเด็กอายุ 0 – 5 ปี ในพื้นที่ให้มีความครอบคลุมมากที่สุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมหญิงตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ ลดการผิดปกติจากการตั้งครรภ์

ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอดเพิ่มขึ้น

65.00 85.00
2 เพื่อเพิ่มการได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์เด็กเล็ก(0-3 ปี) ขึ้น

ร้อยละของเด็กเล็ก(0-3 ปี) ได้รับฉีดวัคซีนครบตามหลักเกณฑ์

75.00 90.00
3 เพื่อลดภาวะทุพโภชนกาารของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ลง

ร้อยละของเด็กวัยเรียน (6 ปีขึ้นไป) ที่มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

80.00 85.00
4 เพื่อลดภาวะผอม ในเด็กอายุ 0-5 ปี

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะผอม

65.00 75.00
5 เพื่อลดภาวะเตี้ยในเด็กอายุ 0-5 ปี

ร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มีภาวะเตี้ย

80.00 95.00
6 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ปกครองพาบุตรหลานรับวัคซีนในกลุ่มเด็ก 0 - 1 ปี ตามเกณฑ์

เด็ก 0 –1 ปี ได้รับวัคซีนตามเกณฑ์ ร้อยละ 95

80.00
7 เพื่อลดอัตราป่วยและตายด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

กลุ่มเป้าหมายในพื้นที่รับผิดชอบไม่มีผู้ป่วย/ตายด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

70.00
8 เพื่อให้กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขมีการติดตามและมีการเฝ้าระวังปัญหาเด็กขาดวัคซีนในชุมชนของตนเอง

อาสาสมัครมีการติดตามและเฝ้าระวังเด็กในชุมชน ร้อยละ 80

80.00
9 เพื่อค้นหาหนูน้อยสุขภาพดี ศรีบางลาง 3 ตำแหน่ง

ผู้ปกครอง/ผู้เข้าร่วมกิจกรรม มีความพึงพอใจ ในการเข้าร่วมโครงการ ผ่านเกณฑ์ตามแบบประเมินความพึงพอใจร้อยละ ๘๐

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67ต.ค. 67พ.ย. 67ธ.ค. 67
1 ขั้นก่อนดำเนินการ(1 พ.ค. 2567-30 พ.ค. 2567) 0.00                
2 ขั้นการดำเนินการ(1 พ.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 49,000.00                
3 ขั้นหลังดำเนินการ(1 ก.ย. 2567-30 ธ.ค. 2567) 0.00                
รวม 49,000.00
1 ขั้นก่อนดำเนินการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0.00 0 0.00
1 - 30 พ.ค. 67 ประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง องค์กรชุมชน เพื่อสำรวจข้อมูล/วิเคราะห์และวางแผนการดำเนินงาน 0 0.00 -
2 ขั้นการดำเนินการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 360 49,000.00 0 0.00
1 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้และสาธิตการปฏิบัติตัวหลังฉีดวัดซีนแก่ผู้ปกครองเด็กที่ได้รับวัดซีนไม่ครบตามเกณฑ์แก่ผู้ปกครองเด็ก อายุ 0-5 ปี 160 29,350.00 -
1 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมตรวจประเมินสุขภาพเด็กอายุ 0-5 ปี 100 8,900.00 -
1 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมติดตาม และรณรงค์ฉีดวัดซีนเชิงรุกตามบ้าน โดยแกนนำ อสม.ในชุมชน 100 10,750.00 -
3 ขั้นหลังดำเนินการ กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 160 0.00 0 0.00
1 ก.ย. 67 - 30 ธ.ค. 67 ติดตามประเมินผลการดำเนินงานมอบรางวัลและมอบเกียรติบัตรแก่แม่ที่ดูแลลูกให้มีสุขภาพดีสมบูรณ์ พัฒนาการสมวัย 160 0.00 -

วิธีดำเนินการ 1. ขั้นก่อนดำเนินการ
  1.1 ประชุมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง องค์กรชุมชน เพื่อสำรวจข้อมูล/วิเคราะห์และวางแผนการดำเนินงาน
  1.2 สำรวจจำนวนเป้าหมาย ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนในเด็ก 0 –5 ปี มีการสรุปข้อมูลและวิเคราะห์ปัญหาและจัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย อายุ 0 - 5 ปี   1.3 เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติ   1.4 ชี้แจง/ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อแจ้งวัตถุประสงค์โครงการและประชาสัมพันธ์โครงการ 2. ขั้นการดำเนินการ
  2.1 นัดหมายการให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ กิจกรรมการประกวดเด็กน้อยสุขภาพดี ศรีบางลาง แก่ผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี   2.2 คืนข้อมูลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมาแก่ชุมชน แจกเอกสาร แผ่นพับแก่ผู้ปกครองเด็ก 0 – 5 ปี
  2.3 ให้บริการฉีดวัคซีนในสถานบริการ/ชุมชน/โรงเรียน/ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก   2.4 จัดทำแผนงานการติดตามวัคซีน เด็ก 0 – 5 ปี
  2.5 จัดกิจกรรมประกวดหนูน้อยสุขภาพดี ศรีบางลาง 3 ตำแหน่ง ตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยกิจกรรมการตรวจประเมินพัฒนาการเด็ก ภาวะโภชนาการ ฉีดวัคซีนตามเกณฑ์ และการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก 0-5 ปี เพื่อมอบรางวัลและเกียรติบัตรแก่แม่ที่ดูแลลูกให้มีสุขภาพดีสมบูรณ์
  2.6 ดำเนินการติดตามการรับวัคซีนในกลุ่มเด็กที่ไม่มารับวัคซีนตามเกณฑ์ทุกสัปดาห์ของทุกเดือน
  2.7 ลงบันทึกในทะเบียนความครอบคลุมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค และนัดหมายการรับบริการครั้งต่อไป   2.8 ติดตามอาการข้างเคียงหลังได้รับวัคซีนโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข/อาสาสมัครสาธารณสุข 3. ขั้นหลังดำเนินการ
  3.1 วิเคราะห์ รวบรวมข้อมูลการรับบริการ และรายงานผลการดำเนินงาน   3.2 ประเมินผลโครงการ
  3.3 ติดตามประเมินผลการดำเนินงานมอบรางวัลและมอบเกียรติบัตรแก่แม่ที่ดูแลลูกให้มีสุขภาพดีสมบูรณ์ พัฒนาการสมวัย   3.4 สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการ และรายงานผลการดำเนินงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็ก 0 – 5 ปี ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุเพิ่มขึ้นร้อยละ 10
  2. ในพื้นที่รับผิดชอบไม่มีผู้ป่วย/ตายด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
  3. หนูน้อยสุขภาพดี 3 ประเภทตามเกณฑ์การประกวด เป็นตัวอย่างที่ดีแก่คนในชุมชน และยังสามารถจัดกิจกรรมต่อเนื่องได้ในปีต่อ ๆ ไป
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ