โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2567
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2567 |
รหัสโครงการ | L2485 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | องค์การบริหารส่วนตำบลพร่อน |
วันที่อนุมัติ | 16 กุมภาพันธ์ 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 3 มีนาคม 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2567 |
งบประมาณ | 14,950.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายชาติชาย แก้วเมฆ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายชาติชาย แก้วเมฆ |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 6051 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : ระบุ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญ เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี ประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียน อายุ 7 – 12 ปี รองลงมาคือ เด็กก่อนวัยเรียนและผู้ใหญ่ ตามลำดับ นับว่าเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่าย ในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศเรื่อยมา โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนจะพบผู้ป่วยเป็นจำนวนมาก เนื่องจากฝนที่ตกลงมา ทำให้เกิดน้ำขังในภาชนะต่างๆ จึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรคได้เป็นอย่างดี การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกอย่างมีประสิทธิภาพนั้น จะต้องกำจัดยุงลายก่อนจะถึงฤดูกาลการระบาดของโรค เพื่อลดจำนวนยุงลายในพื้นที่ ประกอบกับการเพิ่มของจำนวนประชากร การคมนาคมที่สะดวก ทำให้มีการเดินทางมากขึ้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้การแพร่กระจายของโรคไข้เลือดออกเป็นไปอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกอีกประการหนึ่ง คือ การที่พื้นที่ที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกมากกว่าหนึ่งชนิดในเวลาเดียวกันหรือพื้นที่ที่มีการระบาดซ้ำ ดังนั้น การควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกจะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ตลอดจนหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของไข้เลือดออก พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข เพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกให้ทันท่วงทีและเสริมสร้างศักยภาพมาตรการควบคุมโรคให้เข้มแข็งขึ้น องค์การบริหารส่วนตำบลพร่อน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส มีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 67 (3) ตามพระราชบัญญัติสภาตําบลและองค์การบริหารส่วนตําบล พ.ศ. 2537 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ถึงฉบับที่ 6 พ.ศ. 2552 ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ประจำปี 2567 ขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีความตระหนักในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก โดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ซึ่งส่งผลทำให้อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 31 พ.ค. 2567 20:33 น.