โครงการ อสม.แพทย์แผนไทย
ชื่อโครงการ | โครงการ อสม.แพทย์แผนไทย |
รหัสโครงการ | 67-L5187-01-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น |
วันที่อนุมัติ | 22 เมษายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2567 - 28 กุมภาพันธ์ 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 21,250.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวมาริสา ลิมะพันธ์ แพทย์แผนไทย |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลสะพานไม้แก่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.826,100.783place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดให้มีอาสาสมัครสาธารณสุขในงานสาธารณสุขมูลฐานเพียงประเภทเดียว คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โดยมีบทบาทหน้าที่สำคัญในฐานะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านพฤตกรรมสุขภาพอนามัย (Change agents) การสื่อข่าวสารสาธารณสุข การแนะนำเผยแพร่ความรู้ การวางแผนและประสานกิจกรรมพัฒนาสาธารณสุข ตลอดจนให้บริการสาธารณสุขด้านต่างๆ เช่น การส่งเสริมสุขภาพ การเฝ้าระวังและป้องกันโรค การช่วยเหลือและรักษาพยาบาลขั้นต้น โดยใช้ยาและเวชภัณฑ์ตามขอบเขตที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด การส่งต่อผู้ป่วยไปรับบริการ การฟื้นฟูสภาพ และจัดกิจกรรมพัฒนาสุขภาพภาคประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน
การดำเนินงานของ อสม.เป็นรูปแบบการดำเนินงานเชิงรุก เข้าถึงคนในชุมชนทุกกลุ่มวัย โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางในสังคม เช่น เด็กแรกเกิด หญิงตั้งครรภ์ บุคคลทุพพลภาพ ผู้พิการ ผู้สูงอายุ เป็นต้น การแพทย์แผนไทยซึ่งเป็นศาสตร์การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมที่มีการสืบต่อกันมาโดยรุ่นสู่รุ่น เป็นแพทย์ทางเลือกที่ให้บริการแก่ประชาชนจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สนับสนุนให้มีการส่งเสริมการดูแลสุขภาพเบื้องต้นตามแนวทางการแพทย์แผนไทย เช่น การนวด ยาสมุนไพร และหัตถกรรมต่างๆ ช่วยส่งเสริมให้คนในชุมชนมีความเข้าใจในการการแพทย์แผนไทย สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยการพึ่งภูมิปัญญาในท้องถิ่นตามสภาพของแต่ละชุมชนและตามวัฒนธรรมของแต่ละพื้นที่ ดังนั้น ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น จึงเล็งเห็นความสำคัญของการรักษาด้านการแพทย์แผนไทยเป็นแพทย์ทางเลือกให้ประชาชนในชุมชน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันให้แกนนำ อสม.มีความรู้ความสามารถด้านการนวดแผนไทยและเกิดทักษะด้านการนวดแผนไทย สามารถนำไปใช้ส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูสุขภาพเบื้องต้นได้ และสามารถออกให้บริการนวดดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเรื้อรัง กลุ่มผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียงหรือกลุ่มเปราะบางในเขตรับผิดชอบของตนเองได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อสร้างแกนนำชุมชนมีความรู้ความสามารถด้านการนวดแผนไทย และเกิดทักษะด้านการนวดแผนไทย สามารถนำไปใช้ส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูสุขภาพเบื้่องต้นได้ ร้อยละของแกนนำชุมชนมีความรู้ ความสามารถด้านการนวดแผนไทยและเกิดทักษะการนวดแผนไทย |
50.00 | |
2 | เพื่อให้ผู้ที่ผ่านการอบรมสามารถออกให้บริการนวดดูแลสุขภาพของกลุ่มบ้านที่รับผิดชอบ ผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงได้ ร้อยละของผู้ที่ผานการอบรมสามารถออกให้บริการนวดดูแลสุขภาพของกลุ่มบ้านที่รับผิดชอบได้ |
50.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 150 | 21,250.00 | 3 | 21,250.00 | 0.00 | |
17 - 30 มิ.ย. 67 | รับสมัคร อสม.ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ | 50 | 0.00 | ✔ | 0.00 | 0.00 | |
2 ก.ค. 67 | กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่องการนวดไทย | 50 | 16,250.00 | ✔ | 16,250.00 | 0.00 | |
6 ส.ค. 67 | กิจกรรมการทำลูกประคบสมุนไพร | 50 | 5,000.00 | ✔ | 5,000.00 | 0.00 | |
รวมทั้งสิ้น | 150 | 21,250.00 | 3 | 21,250.00 | 0.00 |
1.แกนนำ อสม.มีความรู้ ความสามารถด้านการนวดแผนไทยและเกิดทักษะด้านการนวดแผนไทย และสามารถนำไปใช้ส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูสุขภาพเบื้องต้นได้ 2.ผู้ที่ผ่านการอบรมสามารถออกให้บริการนวดดูแลสุขภาพของกลุ่มบ้านที่รับผิดชอบ ผู้ป่วยเรื้อรัง กลุ่มผู้สูงอายุติดบ้านติดเตียงได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2567 10:36 น.