กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์


โครงการ
“ โครงการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีของชาวสะพานไม้แก่น ”
ตำบลสะพานไม้แก่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา



หัวหน้าโครงการ
นางสาวอัสนะ สะอะ พยาบาลวิชาชีพ




ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีของชาวสะพานไม้แก่น

ที่อยู่ ตำบลสะพานไม้แก่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 67-L5187-01-02 เลขที่ข้อตกลง 4/2567

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2567 ถึง 30 ธันวาคม 2567

กิตติกรรมประกาศ

"โครงการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีของชาวสะพานไม้แก่น จังหวัดสงขลา" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลสะพานไม้แก่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะพานไม้แก่น ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีของชาวสะพานไม้แก่น



บทคัดย่อ

โครงการ " โครงการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีของชาวสะพานไม้แก่น " ดำเนินการในพื้นที่ ตำบลสะพานไม้แก่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา รหัสโครงการ 67-L5187-01-02 ระยะเวลาการดำเนินงาน 1 มิถุนายน 2567 - 30 ธันวาคม 2567 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจำนวน 24,390.00 บาท จาก กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สะพานไม้แก่น เพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมโครงการ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาโครงการ ผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานปรากฏดังนี้

โครงการนี้ยังไม่มีการเขียนหรือแก้ไขบทคัดย่อ

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

การสร้างเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพ เป็นพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ ที่ทุกคนควรมีการปฏิบัติและปลูกฝังจนเป็นนิสัย เพื่อให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ การมีความสุข ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีอย่างยั่งยืน รวมถึงเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติ จากสถิติการเจ็บป่วยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น ตำบลสะพานไม้แก่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา พบว่า อัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มักพบผู้ป่วยมากที่สุดในอันดับต้นของกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังจากผลการดำเนินงานคัดกรองโรคความดันโลหิตและโรคเบาหวานในประชาชน อายุ 35 ปีขึ้นไป มีกลุ่มเป้าหมายการคัดกรองโรคความดันโลหิต 2192 คน ผลการคัดกรองโรคความดันโลหิต 2156 คน พบกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิต 87 คน คิดเป็นร้อยละ 4.04 กลุ่มเป้าหมายการคัดกรองโรคเบาหวาน 2778 คน ผลการคัดกรองโรคเบาหวาน 2503 คน พบกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน จำนวน 675 คน คิดเป็นร้อยละ 26.97 ดังนั้น การเสริมสร้างสุขภาพที่ดีและสร้างโอกาสสำหรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม จะช่วยทำให้กลุ่มเสี่ยงโรคสามารถดูแลตนเองได้ กลุ่มปกติและกลุ่มเสี่ยงมีความตระหนักและใช้ประสบการณ์ของผู้ป่วยคนอื่นๆในชุมชน เป็นตัวอย่างและปรับใช้ในการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม ไม่ก่อให้เกิดโรคก่อนวัยอันควร ทั้งนี้การสร้างโอกาสดังกล่าวจึงจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การใช้แนวทางที่เหมาะสมกับบริบทพื้นที่ โดยเฉพาะการแก้ไขปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในชุมชนด้วยตนเอง ซึ่งอาจต้องรณรงค์ให้ประชาชนปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง โดยใช้หลัก 3อ2ส เช่น ลดอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็ม รับประทานผักผลไม้มากขึ้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หมั่นทำจิตใจให้สงบ ลด ละ เลิกบุหรี่และสุรา รวมถึงการเปิดโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ทั้งผู้ป่วย กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มปกติอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดกระบวนการดูแลสุขภาพเหมาะสม สอดคล้องกันไปอย่างต่อเนื่อง   โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น ได้ตระหนักถึงการเปิดโอกาสในการสร้างสุขภาวะของประชาชนในทุกกลุ่มเป้าหมายแต่มีประชากรกลุ่มเสี่ยงจำนวนมาก ดังนั้น ทาง รพ.สต.สะพานไม้แก่นจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพชาวสะาพนไม้แก่น เพื่อการมีสุขภาพดีโดยมีเป้าหมายที่สำคัญ คือ การสร้างสุขภาพที่ดีให้กับประชาชนทุกกลุ่ม เปิดโอกาสแลกเปลี่ยนวิถีด้านสุขภาวะและพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ และปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดปัญหาค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาวและพัฒนาหมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดโรค ส่งผลต่อการมีสุขภาพดีถ้วนหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

  1. เพื่อลดร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงของโรคความดันโลหิต
  2. เพื่อลดร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงของโรคเบาหวาน

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. กิจกรรม "ปะหน้ากัน"
  2. กิจกรรม Check ก่อน Start
  3. กิจกรรม แปลงผักข้างบ้าน สมุนไพรข้างเรือน
  4. กิจกรรม ปิ่นโตเมนูสุขภาพเปลี่ยนชีวิต
  5. กิจกรรม ก็แค่เบิร์น
  6. กิจกรรม Recheck ก่อน จบ
  7. กิจกรรม อสม.สตอกเกอร์

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  1. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ ความเข้าใจ และความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรคด้วย 3อ2ส อย่างถูกต้องและเหมาะสม 2.กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ มีสถานะสุขภาพดีขึ้นและไม่มีผู้ป่วยรายใหม่ 3.เกิดกลุ่มออกกำลังกายในชุมชนและมีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. กิจกรรม "ปะหน้ากัน"

วันที่ 11 ตุลาคม 2567 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการ โดยมีเจ้าหน้าที่ รพ.สต. อสม.และผู้นำชุมชน จำนวน 1 ครั้ง

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ในวันที่ 11 ตุลาคม 2567  เวลา 13.00 - 16.00 น. ดำเนินกิจกรรม "ปะหน้ากัน" โดยมีเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น ผู้นำชุมชน และ อสม.ในตำบลสะพานไม้แก่น  ณ อาคารผู้สูงอายุ รพ.สต.สะพานไม้แก่น

 

25 0

2. กิจกรรม Check ก่อน Start

วันที่ 15 ตุลาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรม Check ก่อน Start  โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น อสม. และกลุ่มเป้าหมาย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2567 เวลา 09.00 - 16.00 น. ณ ห้องประชุมอาคารผู้สุงอายุดำเนินการกิจกรรม Check ก่อน Start  โดยมีเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น อสม. และกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน เข้าร่วมกิจกรรม  ดังนี้ 1.การประชุมชี้แจงโครงการ เพื่อทำความเข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมาย แนวทางการดำเนินโครงการให้กลุ่มเป้าหมายทราบ และแจกสมุดติตามสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานความดัน ให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการ 2.เก็บข้อมูลวัดองค์ประกอบร่างกาย เช่น น้ำหนักตัว ไขมันในร่างกาย กล้ามเนื้อลาย ไขมันในท้อง ดัชนีมวลกาย อัตราการเผาผลาญขณะพัก กล้ามเนื้อโครงร่าง อายุร่างกายของกลุ่มเป้าหมายก่อนเข้าร่วมโครงการ
3.เรียนรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพลดโรค  โดยใช้หลัก 3อ 2ส ตามวิถีชุมชนโดยแพทย์โรงพยาบาลจะนะ 4.เรียนรู้เกี่ยวกับพืชผักสมุนไพร โดยแพทย์แผนไทย

 

50 0

3. กิจกรรม ก็แค่เบิร์น

วันที่ 15 ตุลาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรม "ก็แค่เบิร์น"

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับผิดชอบโครงการดำเนินกิจกรรม "ก็แค่เบิร์น" ออกกำลังกายร่วมกัน เพื่อสร้างเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่องเป็นประจำสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2567 - 27 ธันวาคม 2567 ณ อาคารอเนกประสงค์หมู่บ้าน  สนามกีฬาโรงเรียนไม้แก่นประชาอุทิศและลานหน้าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น

 

30 0

4. กิจกรรม ปิ่นโตเมนูสุขภาพเปลี่ยนชีวิต

วันที่ 17 ตุลาคม 2567 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรม ปิ่นโตเมนูสุขภาพเปลี่ยนชีวิต

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้รับผิดชอบโครงการดำเนินกิจกรรม "ปิ่นโตเมนูสุขภาพเปลี่ยนชีวิต" แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลสุขภาพด้านอาหารโดยนักโภชนาการโรงพยาบาลจะนะ  และส่งเสริมการปรุงอาหารปลอดภัยผ่านปิ่นโตสุขภาพ ร่วมกันรับประทานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุดิบและวิธีการปรุงอาหาร เดือนละ 1 ครั้ง เป็นเวลา 3 เดือน โดยได้มีการตรวจปริมาณโซเดียมด้วยเครื่องตรวจวัดความเค็มและตรวจปริมาณน้ำตาลในอาหารโดยเครื่องวัดความหวาน ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น อสม.และกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน ซึ่งดำเนินการจำนวน 3 ครั้ง  ครั้งที่ 1 วันที่ 17 ตุลาคม 2567  ครั้งที่ 2 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 และครั้งที่ 3 ในวันที่ 13 ธันวาคม 2567  ณ ห้องประชุมอาคารผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น

 

30 0

5. กิจกรรม แปลงผักข้างบ้าน สมุนไพรข้างเรือน

วันที่ 21 ตุลาคม 2567 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรม แปลงผักข้างบ้าน สมุนไพรข้างเรือน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2567 เวลา 13.00 - 16.00 น. ณ ศาลาอเนกประสงค์หมู่ที่ 2 ได้ดำเนินกิจกรรม แปลงผักข้างบ้าน สมุนไพรข้างเรือน โดยเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น อสม.และกลุ่มเป้าหมาย โดยได้ดำเนินกิจกรรม ดังนี้ 1. ประชุมเชิงปฏิบัติการ การเรียนรู้การปลูกผัก สมุนไพร การดูแลบำรุงรักษา และการปรุงดินให้ได้มาตรฐาน 2. มอบเมล็ดพันธ์ุผักพื้นบ้าน และสมุนไพร 3. ให้สมาชิกผู้เข้าร่วมโครงการไปจัดทำแปลงปลูกผักพื้นบ้าน และสมุนไพรให้รับประทาน

 

30 0

6. กิจกรรม Recheck ก่อน จบ

วันที่ 23 ธันวาคม 2567 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรม Recheck  ก่อน จบ  คัดกรองและเก็บข้อมูลหลังเข้าร่วมโครงการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2567  เวลา 13.00 - 16.00 น. ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น ได้ดำเนินการคัดกรองและเก็บข้อมูลระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด วัดองค์ประกอบร่างกาย เช่น น้ำหนักตัว ไขมันในร่างกาย กล้ามเนื้อลาย ไขมันในช่องท้อง ดัชนีมวลกาย อัตราการเผาผลาญขณะพัก กล้ามเนื้อโครงร่าง อายุร่างกายของกลุ่มเป้าหมายหลังเข้าร่วมโครงการ

 

50 0

7. กิจกรรม อสม.สตอกเกอร์

วันที่ 27 ธันวาคม 2567 เวลา 13:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

กิจกรรม อสม.สตอกเกอร์  คัดเลือกคณะทำงานเป็นบุคคลต้นแบบในการทำงานเป็น อสม.ดีเด่น

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2567 เวลา 13.00 - 17.00 น. ณ ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น ได้จัดกิจกรรม อสม.สตอกเกอร์ สำหรับคัดเลือกคณะทำงานที่เป็นบุคคลต้นแบบในการทำงานเป็น อสม.ดีเด่น  ซึ่งผู้ที่ได้รับการคัดเลือก คือ นางวรัญญา  นักว่อน  อสม.หมู่ที่ 4 บ้านสะพานไม้แก่นออก  ในสาขาการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อ

 

50 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

1.กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตที่ผ่านการอบรม มีค่าระดับความดันโลหิตลดลง ร้อยละ 40 กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตลดลง 19 คน คิดเป็นร้อยละ 63.33 2.กลุ่มเสี่ยงเบาหวานที่ผ่านการอบรม มีค่าระดับน้ำตาลต่ำลง ร้อยละ 40 กลุ่มเสี่ยงเบาหวานลดลง 21 คน คิดเป็นร้อยละ 70

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย
1 เพื่อลดร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงของโรคความดันโลหิต
ตัวชี้วัด : ร้อยละกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตที่ผ่านการอบรม มีค่าระดับความดันโลหิตลดลง
40.00 19.00

 

2 เพื่อลดร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงของโรคเบาหวาน
ตัวชี้วัด : ร้อยละกลุ่มเสี่ยงเบาหวานที่ผ่านการอบรม มีค่าระดับน้ำตาลต่ำลง
40.00 21.00

 

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0 30
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน -
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน -
กลุ่มวัยทำงาน -
กลุ่มผู้สูงอายุ -
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด -
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 0 30
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ -
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง -
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] -

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อลดร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงของโรคความดันโลหิต (2) เพื่อลดร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงของโรคเบาหวาน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) กิจกรรม "ปะหน้ากัน" (2) กิจกรรม Check  ก่อน Start (3) กิจกรรม แปลงผักข้างบ้าน  สมุนไพรข้างเรือน (4) กิจกรรม ปิ่นโตเมนูสุขภาพเปลี่ยนชีวิต (5) กิจกรรม ก็แค่เบิร์น (6) กิจกรรม Recheck  ก่อน จบ (7) กิจกรรม อสม.สตอกเกอร์

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


โครงการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดีของชาวสะพานไม้แก่น จังหวัด สงขลา

รหัสโครงการ 67-L5187-01-02

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( นางสาวอัสนะ สะอะ พยาบาลวิชาชีพ )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด