กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อสม.ตำบลสะพานไม้แก่น ร่วมใจ สร้างชุมชนก้าวไกลไปกับงานคุ้มครอง
รหัสโครงการ 67-L5187-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น
วันที่อนุมัติ 22 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 เมษายน 2567 - 1 ธันวาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 16,732.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวชญาภา ศิริวรรณ์ นักวิชาการสาธารณสุข
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะพานไม้แก่น อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.826,100.783place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 55 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากวิถีการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไปจากเดิมเป็นวิถีชีวิตแบบรีบเร่ง และเอาตัวรอดมากขึ้น มีสื่อประเภทต่างๆเข้ามามีบทบาทในสังคมปัจจุบัน เพิ่มมากขึ้นให้ผู้บริโภคอาจหลงเชื่อจนกระทั่งตัดสินใจ เลือกซื้อใช้ผลิตภัณฑ์นั้นๆ ซึ่งต่างจากในอดีตประชากรมักดำรงชีวิตแบบเอื้ออาทรอีกทั้งการผลิต ยังคงใช้วัสดุจากธรรมชาติเป็นส่วนประกอบมากกว่ารวมถึงมีการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภคด้วยกลวิธีต่างๆ ของผู้ผลิตยังไม่มากเช่นปัจจุบัน เด็กที่อยู่ในวัยเรียน ส่วนใหญ่มักมีพฤติกรรมในการเลือกซื้อหรือใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสีสันต้องตา หรือกำลังอยู่ในช่วงของการโฆษณาตามสื่อประเภทต่างๆ โดยมิได้คำนึงถึงประโยชน์ อันตรายหรือความปลอดภัยสักเท่าไหร่พฤติกรรมดังกล่าวนี้อาจเกิดจากหลายสาเหตุ โดยเฉพาะหากกลุ่มเยาวชนดังกล่าวไม่ได้รับความรู้เกี่ยวกับการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ ซึ่งผู้ผลิตได้ผลิตออกมา เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างหลากหลายมีทั้งผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนดแต่ก็ยังคงมีผลิตภัณฑ์ที่ผู้ผลิตได้แอบอ้างสรรพคุณมีการโฆษณาชวนเชื่อเกินความเป็นจริง หรืออาจมีผลิตภัณฑ์ที่มีสารปนเปื้อนเป็นอันตราย ปะปนอยู่เป็นจำนวนมาก พร้อมกันนี้ควรให้ความรู้เกี่ยวกับการตรวจสอบสารปนเปื้อนในอาหาร และการอ่านดูข้อมูลโภชนาการจากฉลากผลิตภัณฑ์ควบคู่ไปด้วยหากเยาวชนกลุ่มดังกล่าวมีความรู้ และมีทักษะในการเลือกซื้อ ใช้ผลิตภัณฑ์ประเภทต่างๆ จะทำให้สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันจนสามารถทำให้ปัญหาด้านสุขภาพหรือปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆลดน้อยลงได้ พร้อมทั้งให้ความรู้ ให้คำปรึกษาแก่บุคคลในครอบครัวหรือบุคคลทั่วไปได้อย่างมั่นใจ   ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น มีสถานประกอบการต่างๆจำนวนมาก เช่น ร้านอาหาร ร้านแผงลอย รถเร่ขายยา ตลาดนัด ร้านขายของชำในหมู่บ้านประกอบกับในยุคปัจจุบันบ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้า มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย การโฆษณาชวนเชื่อต่างๆเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว จึงมีความสะดวกในการซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพต่างๆโดยเฉพาะการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สุขภาพจากร้านชำในพื้นที่ซึ่งเป็นแหล่งกระจายสินค้าประเภทต่างๆ ให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่เพื่อนำมาใช้ตอบสนองต่อความต้องการของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องสำอาง ยาหรือของใช้ต่างๆ เครื่องอุปโภคบริโภค ซึ่งหากผู้บริโภคในพื้นที่ยังมีความเชื่อความเข้าใจผิด ขาดทักษะความรู้ที่ถูกต้อง และมีพฤติกรรมการเลือกซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน ก็อาจจะตกเป็นเหยื่อและได้รับอันตรายจากอุปโภคและบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานได้ง่าย   ในปีงบประมาณ 2567 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสะพานไม้แก่น ได้ตระหนักถึงความสำคัญของงานคุ้มครองผู้บริโภค จึงได้จัดทำโครงการ อสม.ตำบลสะพานไม้แก่น ร่วมใจ สร้างชุมชนก้าวไกลไปกับงานคุ้มครอง ดังนั้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพสะพานไม้แก่น จึงมีแผนที่จะให้มีโครงการ อสม.ร่วมใจสร้างชุมชนก้าวไกลไปกับงานคุ้มครอง โดยการสร้างแกนนำ อสม.ให้มีการเข้าถึงชุมชนอย่างแท้จริง เพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวังการจำหน่ายผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานในชุมชน การโฆษณาชวนเชื่อ การเฝ้าระวังร้านชำขายยาหรือผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐานในชุมชน ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยของชาวบ้านในชุมชน เพื่อให้ชุมชนปลอดภัยจากบริโภคอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ อสม.มีพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ดี

ร้อยละ 70 อสม.มีพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ดี

2 เพื่อให้ อสม.สามารถใช้ชุดทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร ชุดทดสอบสารสเตียรอยด์ในยาชุด ยาสมุนไพร รวมทั้งเครื่องสำอางได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 100 อสม.สามารถใช้ชุดทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร ชุดทดสอบสารเตียรอยด์ในยาชุด ยาสมุนไพร รวมทั้งเครื่องสำอางได้อย่างถูกต้อง

100.00
3 เพื่อให้ อสม.ได้มีการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง และได้ช่วยเหลือเพื่อนๆ ครอบครัว และชุมชน ด้วยการให้ความรู้การบริโภคอย่างเหมาะสม ปลอดภัย

ร้อยละ 100 อสม.มีความรู้จากการปฏิบัติจริง

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 55 16,732.00 0 0.00
6 ส.ค. 67 อบรมเชิงปฏฺิบัติการให้ความรู้เรื่องการเลือกอาหารปลอดภัย 55 7,232.00 -
27 ส.ค. 67 กิจกรรมตรวจสารปนเปื้อน 9 ชนิด 0 9,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เพื่อให้ชุมชนเป็นชุมชนสีขาวปลอดภัยจากผลิตภัณฑ์ผิดกฎหมาย และประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์และอาหารที่ปลอดภัย 2.อสม.สามารถตรวจสารปนเปื้อนในอาหาร และในผลิตภัณฑ์ต่างๆได้ด้วยตนเองอย่างถูกต้อง ปลอดภัย ร้อยละ 100 3.อสม.ได้รับความรู้ในการเลือกซื้ออาหาร เลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างถูกต้องปลอดภัย ร้อยละ 100

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2567 10:45 น.