กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมมาตรฐานโรงอาหารในสถานศึกษา โรงอาหารสะอาด นักเรียนปลอดภัย (ประเภทที่ 1)
รหัสโครงการ 67-L7884-1-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลเมืองปัตตานี
วันที่อนุมัติ 1 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2567 - 31 ธันวาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 91,560.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวโซเฟีย หะยีมะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เทศบาลเมืองปัตตานี มีสถานศึกษาในสังกัดจำนวน 8 แห่ง แบ่งเป็นโรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 5 แห่ง และศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 3 แห่ง จากข้อมูลการการจัดบริการอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนในสถานศึกษา พบว่า สถานศึกษามีโรงอาหารสำหรับนักเรียนรับประทานอาหาร แห่งละ 1 โรง มีรูปแบบขแงการประกอบอาหาร 2 รูปแบบ คือ ประกอบอาหารในโรงครัวสถานศึกษา และประกอบอาหารปรุงสำเร็จจากสถานที่อื่นแล้วนำมาบริการให้นักเรียน มีจำนวนผู้ประกอบอาหารหรือผู้สำผัสอาหารรวมถึงสถานศึกษา 8 แห่ง จำนวน 30 คน มีการจัดบริการน้ำดื่มที่ผ่านการกรองจากเครื่องกรองน้ำ ซึ่งจำเป็นต้องมีการกำกับดูแลในเรื่องความสะอาดและความปลอดภัยต่อการบริโภคของนักเรียนในสถานศึกษา เพื่อป้องกันการเกิดโรคและอันตรายต่อสุขภาพที่สามารถเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะการเกิดโรคอุจจาระร่วงหรืออาหารเป็นพิษในสถานศึกษาซึ่งสาเหตุหรือปัจจัยเสี่ยง มักเกิดจากการปนเปื้อนของอาหารและน้ำดื่ม อันเนื่องมาจากการประกอบอาหารอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ สิ่งแวดล้อมในการเตรียมอาหารไม่เหมาะสม ขาดความรู้และการตระหนักในการจัดการด้านอาหาร การกำกับดูแลและกาารเฝ้าระวังความปลอดภัยด้านอาหารของโรงอาหารในสถานศึกษาจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งนี้ โดยการตรวจแนะนำสถานประกอบการ (โรงอาหารในสถานศึกษา) อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง การพัฒนาผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหารที่เกี่ยวข้อง รวมไปถึงความปลอดภัย ปราศจากสารปนเปื้อนที่อาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคทางเดินอาหารแก่ผู้ประกอบการ นักเรียนและผู้บริโภคในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาและยกระดับโรงอาหารของสถานศึกษาในเขตเทศบาลเมืองปัตตานีให้ได่มาตราฐานตามเกณฑ์ที่กรมอนามัยกำหนด และนักเรียนได้รับประทานอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ พร้อมให้คำแนะนำและความรู้แก่ผู้สัมผัสอาหารในการปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร และเพื่อให้บุคลากรได้ตระหนักถึงความสำคัญของโรงอาหาร เกิดความมั่นใจในการใช้บริการ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองปัตตานี ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแลเพื่อคุ้มครองประชาชนด้านสุขภาพและอนามัย ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 และสนับสนุนการดำเนินงานตามแนวทางของกระทรวงสาธารณสุข จึงจัดทำโครงการส่งเสริมมาตรฐานโรงอาหารในสถานศึกษา โรงอาหารสะอาด นักเรียนปลอดภัย

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมและยกระดับโรงอาหารในสถานศึกษาให้มีมาตรฐานตามหลักสุขาภิบาลอาหาร 2. เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้สัมผัสอาหารและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
  1. ร้อยละ 100 ของโรงอาหารในสถานศึกษาที่ร่วมโครงการผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามหลักสุขาภิบาลอาหาร 2. ร้อยละ 100 ของผู้สัมผัสอาหารและบุคลากรที่ร่วมโครงการมีความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในการปฏิบัติตามหล้กสุขาภิบาลอาหาร
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

2.1 แต่งตั้งคณะทำงานผู้ดำเนินงานโครงการ 2.2 ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนการดำเนินงาน 2.3 ติดตามประสานงานหน่วยงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง 2.4 จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงาน 2.5 ให้ความรู้คำแนะนำด้านสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้สัมผัสอาหารและบุคลากรผู้รับผิดชอบด้านอาหาร 2.6 ตรวจประเมินสุขลักษณะด้านสุขาภิบาลอาหารโรงอาหารในสถานศึกษาตามเกณฑ์กรมอนามัย 2.6.1 ตรวจประเมินทางกายภาพจำนวน 4 หมวด ได้แก่ - สถานที่บริโภคอาหารและสถานที่เตรียม ปรุง ประกอบอาหาร - อาหาร กรรมวิธีการปรุง ประกอบ และการเก็บรักษา - สุขลักษณะของภาชนะ อุปกรณ์ และเครื่องใช้อื่นๆ - สุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้สัมผัสอาหาร 2.6.2 ตรวจประเมินทางชีวภาพ โดยตรวจการปนเปื้อนของเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในตัวอย่างอาหารภาชนะและมือผู้สัมผัสอาหารด้วยชุดทดสอบโคลิฟอร์มเบื้อต้น 2.7 ตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มในสถานศึกษา โดยการเก็บตัวอย่างน้ำดื่มส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจสอบสารปนเปื้อนทางด้านเคมีและด้านจุลินทรีย์ 2.8 มอบเกียรติบัตรให้แก่สถานศึกษาที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน 2.7 สรุปและจัดทำรายงานผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

7.1 โรงอาหารในสถานศึกษาผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามหลักสุขาภิบาลอาหาร 7.2 นักเรียนและบุคลากรได้รับความปลอดภัยในการบริโภคอาหารและน้ำในสถานศึกษา 7.3 ผู้สัมผัสอาหารและบุคลากรผู้รับผิดชอบด้านอาหารมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตามหลักสุขาภิบาลอาหาร

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2567 08:39 น.