โครงการป้องกันแก้ไขปัญหาโรคติดต่อในสารคัดหลั่งจากการจัดการศพ
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันแก้ไขปัญหาโรคติดต่อในสารคัดหลั่งจากการจัดการศพ |
รหัสโครงการ | 67-L3013-01-41 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม อบต.บานา |
วันที่อนุมัติ | 1 สิงหาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 2 กันยายน 2567 - 3 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2567 |
งบประมาณ | 30,885.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายมะรอสดี เงาะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายอับดุลกอเดร์ การีนา |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบานา อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ตามหลักการของศาสนาอิสลามเมื่อมีการตายเกิดขึ้นจะดำเนินการจัดการศพเพื่อนำไปฝังโดยเร็วที่สุด โดยจะดำเนินการ ดังนี้ 1.อาบน้ำศพเพื่อเป็นการชำระล้างร่างกายให้ศพทั้งภายนอก และล้วงทำความสะอาดภายในร่างกาย(ภายในช่องทวารหนักและช่องคลอด) 2.การห่อศพซึ่งจะมีขั้นตอนการใช้สำลีอุด เหน็บ และวาง ตามอวัยวะบางส่วนของศพเช่น อุดช่องทวารหนัก ช่องคลอด และช่องหู เหน็บซอกหู ง่ามนิ้วมือนิ้วเท้า รักแร้ เป็นต้น และดำเนินการห่อศพด้วยผ้าขาวจำนวน 3 ผืนโดยคลุมให้มิดชิดตั้งแต่ศีรษะจรดปลายเท้า 3.ดำเนินการละหมาดการละหมาดญะนาซะห์(การละหมาดขอพรให้แก่ผู้เสียชีวิต) 4.ดำเนินการฝังศพ จากขั้นตอนการดำเนินการทั้งหมดเกี่ยวกับศพที่กล่วมานั้น พบว่ายังขาดผู้มีจิตอาสาในการจัดการศพและการอาบน้ำศพ ซึ่งส่วนมากพึ่งพาผู้นำศาสนาและผู้สูงอายุ แต่คนหนุ่มสาวเรียนรู้เรื่องการสืบสานขนบธรรมเนียม ประเพณี เหล่านี้น้อยมาก ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวนอกจากจะต้องเป็นผู้มีความรู้เรื่องการจัดการที่ถูกต้องตามหลักการศาสนาแล้วยังจำเป็นต้องมีความรู้ในการป้องกันโรคติดต่อจากศพ โดยเฉพาะโรคเอดส์และโรคติดต่ออื่น ๆ จากสารคัดหลั่งต่าง ๆ เช่น เลือด น้ำเหลือง น้ำลาย เป็นต้น เพื่อการป้องกันควบคุมการแพร่ระบาดของโรคจากศพสู่ผู้ปฏิบัติ ดังนั้น องค์การบริหารส่วนตำบลบานา เห็นความสำคัญของการจัดการศพตามหลักการของศาสนาอิสลามและหลักการป้องกันและควบคุมโรค จึงได้จัดทำ โครงการป้องกันแก้ไขปัญหาโรคติดต่อในสารคัดหลั่งจากการจัดการศพ ขึ้น ให้ผู้ปฏิบัติและผู้ที่มีจิตอาสาสามารถนำวิธีการที่ถูกต้องตามหลักการของศาสนาอิสลามและหลักการป้องโรคไปปฏิบัติกับการจัดการศพของชุมชนได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้ปฏิบัติและผู้มีจิตอาสาจัดการศพ มีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคติดต่อจากการสัมผัสสารคัดหลั่งในศพ ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมสามารถจัดการศพได้อย่างถูกต้องตามหลักการของอิสลามและหลักการป้องกันควบคุมโรคติดต่อจากการสัมผัสสารคัดหลั่ง |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 100 | 30,885.00 | 1 | 30,885.00 | |
1 - 2 ก.ค. 67 | อบรมให้ความรู้การป้องกันแก้ไขปัญหาโรคติดต่อจากสารคัดหลั่ง | 100 | 30,885.00 | ✔ | 30,885.00 |
1.ผู้เข้าร่วมสามารถจัดการศพได้ตามหลักการศาสนาอิสลามและถูกสุขลักษณะป้องกันโรคติดเชื้อจากสารคัดหลั่งได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2567 00:00 น.