กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ พลังชุมชน รู้ตน ลดเสี่ยง ลดโรคปรับพฤติกรรม ต้านภัยเบาหวานความดันโลหิตสูง ปี2567
รหัสโครงการ 67-L2500-02-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะบายะ
วันที่อนุมัติ 23 เมษายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 29,070.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอามีเนาะ ดอลอ
พี่เลี้ยงโครงการ -
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลลุโบะบายะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.422,101.663place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 10 มิ.ย. 2567 10 มิ.ย. 2567 29,070.00
รวมงบประมาณ 29,070.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พบว่าโรคเรื้อรังหรือโรคไม่ติดต่อเป็นโรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่มีพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ การไม่ออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีรสหวาน มัน เค็มจัด รวมถึงความเครียด ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคร้าย ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หลอดเลือดสมองและหัวใจ มะเร็ง ถุงลมโป่งพองและ โรคอ้วนลงพุง และทำให้อายุไขของคนป่วยกลุ่มนี้จะมีอายุต่ำกว่า 60 ปี โดยจากสถิติพบว่า คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคกลุ่มดังกล่าวมากกว่าปีละ 3 แสนคน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยคิดเป็นร้อยละ 73 ของสาเหตุการเสียชีวิตของคนไทย โดยทั่วโลกสาเหตุการตายด้วยโรคกลุ่มดังกล่าวคิดเป็นร้อยละ 63 ของสาเหตุการตายของประชากรโลก       ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อโดยเฉพาะโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่พบมากที่สุดในตำบลลุโบะบายะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส เนื่องจากวิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพประชาชนเปลี่ยนแปลงมีความสะดวกสบายมากขึ้น มีการใช้เครื่องทุ่นแรงมากขึ้นและออกกำลังกายน้อยลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประชาชนในพื้นที่ตำบลลุโบะบายะนิยมรับประทานอาหารที่มีรสหวาน เค็มและมัน เป็นวิถีชีวิตที่ปฏิบัติติดต่อกันมา ซึ่งอาหาร ประเภทนี้มีผลทำให้ร่างกายเกิดภาวะอ้วน มีไขมันส่วนเกิน เป็นเหตุทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้ การรับประทานอาหารที่มีรสจืด และการออกกำลังกายวันละ 30 นาทีอาทิตย์ละ 3 วันช่วยลดความเสี่ยงของโรคได้  อนึ่งการตรวจคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานในกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปแต่เนิ่นๆ จะป้องกันและสามารถควบคุมปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานได้ จากผลการคัดกรองจากผลการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโถหิตสูง ในกลุ่มประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะบายะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาส ใน ปีงบประมาณ ๒๕66 จำนวน 2,932 คน พบประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง จำนวน 276 คน คิดเป็นร้อยละ 17.92 ดังนั้นเพื่อส่งเสริมให้ประชาชน โคยฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ รวมทั้งสามารถประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัวและชุมชน เพื่อป้องกันการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลุโบะบายะ ได้จัดทำโครงการ พลังชุมชน รู้ตน ลดเสี่ยง ลดโรคปรับพฤติกรรม ต้านภัยเบาหวานความดันโลหิตสูง ปี 2567 ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.ประชุมชี้แจงโครงการแก่เจ้าหน้าที่ใน รพ.สต. 2.ประชุมชี้แจงโครงการแก่ อสม. 3.ประชาสัมพันธ์ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ 4.จัดกิจกรรมตามโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม สุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง 4.1.ให้ความรู้เรื่อง 3อ. 2 ส.ซึ่ง มีกิจกรรมดังนี้ 1 อ.อาหารเพื่อสุขภาพ
2 อ.ออกกำลังกาย 3 อ.อารมณ์
2 ส.บุหรี่และ สุรา 4. สรุปกิจกรรม 5.สรุปผลการดำเนินโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ผู้ป่วยรู้ปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงและรู้วิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดปัจจัยเสี่ยง ป้องกันและชะลอการดำเนินโรคสู่ภาวะแทรกซ้อน มีทักษะการดูแลตนเองที่บ้าน (Self-care skills )
2. ไม่พบผู้เสียชีวิตจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง
3. ผู้ป่วยและสมาชิกครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดี

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2567 09:31 น.