กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาหารเช้าลดภาวะทุพโภชนาการ
รหัสโครงการ 67-L5235-03-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนชุมชนวัดคลองรี มิตรภาพที่ 220
วันที่อนุมัติ 8 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุพิศ แก้วดีเลิศ
พี่เลี้ยงโครงการ นายศุภฤกษ์ การะเกตุ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.542,100.388place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เด็กเป็นทรัพยากรที่ทรงคุณค่าและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศชาติในอนาคตการพัฒนาเด็กให้ได้รับความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และสติปัญญา จึงนับเป็นภารกิจสำคัญของหน่วยงานซึ่งรับผิดชอบจะต้องตระหนัก และให้ความสนใจเพื่อให้การพัฒนาเด็กเป็นไปอย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐานเหมาะสมกับวัย ปัจจุบันเด็กนักเรียนในโรงเรียนชุมชนวัดคลองรี มิตรภาพที่ 220 ส่วนมากมีผู้ปกครองรายประกอบอาชีพเกษตรกรรม บางส่วนมีอาชีพรับจ้างภาคโรงงาน ซึ่งต้องทำงานภายใต้เวลาที่จำกัด โดยเฉพาะในช่วงเช้าที่ต้องเร่งรีบส่งลูกไปโรงเรียนทำให้การเอาใจใส่ลูกเรื่องการรับประทานอาหารเช้าไม่ค่อยสมบูรณ์ เด็กส่วนมากไม่ได้รับอาหารเช้าก่อนมาเรียน ทำให้ขาดการเตรียมพร้อมสำหรับเด็กที่ควรได้รับสารอาหาร  โดยเฉพาะอาหารเช้าซึ่งเป็นมื้อสำคัญสำหรับเด็กที่กำลังเจริญเติบโต เป็นภาวะเสี่ยงต่อภาวะทุพโภชนาการในเด็ก และการพัฒนาทางด้านร่างกายของเด็กเป็นไปอย่างล่าช้าได้    ในภาคเรียนที่ 1/2567 โรงเรียนชุมชนวัดคลองรี มิตรภาพที่ 220ได้ดำเนินการเยี่ยมบ้านนักเรียนเพื่อประเมินพฤติกรรมการดูและรักษาสุขภาพ และโอกาสการรับประทานอาหารมื้อเช้าของนักเรียน ร่วมกับการชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กทุกคนแล้ว โดยเปรียบเทียบตามเกณฑ์ของกรมอนามัยตามช่วงอายุของเด็ก ปรากฏว่า มีเด็กที่มีความเสี่ยงทุพภาวะโภชนาการ จำนวน 30 คน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่ต้องดำเนินการส่งเสริมด้านโภชนาการให้แก่เด็ก อันเป็นการส่งเสริมการพัฒนาทางด้านร่างกายให้แก่เด็ก ให้ได้รับการพัฒนาตามมาตรฐานการศึกษาของชาติที่เน้นการพัฒนาผู้เรียน(เด็กและเยาวชน) ให้ เก่ง ดี มีความสุขทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจและสติปัญญาต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ 1.เพื่อให้นักเรียนที่มีความเสี่ยงทุพโภชนาการได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางอาหาร มีสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ มีคุณค่าและมีความปลอดภัย 2 . นักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดคลองรี มิตรภาพที่ 220มีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน 3. นักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดคลองรี มิตรภาพที่ 220 มีพัฒนาการด้านร่างกายสมวัย 4. นักเรียนโรงเรียนชุมชนวัดคลองรี มิตรภาพที่ 220 ทีเสี่ยงทุพโภชนาการได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีสุขนิสัยที่ดีในการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง

ตัวชี้วัดความสำเร็จ   1.นักเรียนที่มีความเสี่ยงทุพโภชนาการได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางอาหาร มีคุณค่าและมีความปลอดภัย ร้อยละ 100   2.  นักเรียนมีน้ำหนักและส่วนสูง  ตามเกณฑ์มาตรฐาน  ร้อยละ90   3. นักเรียนมีพัฒนาการด้านร่างกายสมวัย ร้อยละ 90 4.  นักเรียนกลุ่มเสี่ยงทุพโภชนาการได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีสุขนิสัยที่ดีในการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง ร้อยละ 90

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เสนอโครงการเพื่อขอความอนุเคราะห์สนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลคลองรี
  2. ประชุมชี้แจงคณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนงาน การดำเนินงานร่วมกัน
  3. ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กนักเรียนทุกคนในโรงเรียนชุมชนวัดคลองรี มิตรภาพที่ 220
  4. เปรียบเทียบเกณฑ์น้ำหนัก/ส่วนสูง ของเด็กทุกคน ตามเกณฑ์ของกรมอนามัย โดยเปรียบเทียบกับเกณฑ์ อายุของเด็ก เพื่อคัดกรองนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย
  5. ดำเนินการจัดทำอาหารมื้อเช้าให้กับเด็กนักเรียน(กลุ่มเป้าหมาย)
  6. ติดตามและประเมินผลการดำเนินการ
  7. รายงานผลการดำเนินการเสนอต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วน ตำบลคลองรี ทราบ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.นักเรียนที่มีความเสี่ยงทุพโภชนาการได้รับประทานอาหารเช้าที่มีคุณค่าทางอาหาร ร้อยละ 100 2. นักเรียนมีน้ำหนักและส่วนสูงตามเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 90 3. นักเรียนมีพัฒนาการด้านร่างกายสมวัย ร้อยละ90 4. นักเรียนกลุ่มเสี่ยงทุพโภชนาการได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และมีสุขนิสัยที่ดีในการรับประทานอาหารอย่าง    ถูกต้อง ร้อยละ 90

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2567 10:28 น.