กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ นักเรียนยุคใหม่ ใส่ใจสุขภาพ
รหัสโครงการ 67-L5235-03-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านท่าคุระ
วันที่อนุมัติ 8 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางขวัญสุดา ซุ้นซิ่ม
พี่เลี้ยงโครงการ นายศุภฤกษ์ การะเกตุ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองรี อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.542,100.388place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเสริมสร้างสุขภาพกับการศึกษา เป็นสิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป การพัฒนาเด็กและเยาวชน จึงอยู่ที่กระบวนการจัดการศึกษาและการสร้างสุขภาพ ภายใต้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นับตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น ซึ่งจะต้องมีการประสานความร่วมมือ ประสานประโยชน์ที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็กให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและปลอดภัย ซึ่งโรงเรียนก็เป็นสถาบันหนึ่งของสังคม มีหน้าที่ให้ความรู้และพัฒนาคนให้มีสุขภาพและศักยภาพที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข นอกจากการให้การศึกษาแล้ว การส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียน  เป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนที่จะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า การส่งเสริมสุขภาพและอนามัยแก่นักเรียน การให้บริการด้านสุขภาพอนามัย การให้ความรู้ด้านสุขภาพ ช่วยให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

  โรงเรียนบ้านท่าคุระ ตระหนักและให้ความสำคัญของการดูแลสุขภาพของนักเรียน จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยนักเรียนขึ้น เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้การดูแลรักษาสุขภาพร่างกายได้ถูกต้องรู้จักการทำ CPR และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในการช่วยเหลือตนเองและผู้อื่นได้ นักเรียนได้เรียนรู้การป้องกันโรค และภัยอันตรายใกล้ตัวต่างๆที่อาจเกิดขึ้นกับนักเรียนได้ นอกจากนี้นักเรียนยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรใกล้ตัวที่สามารถนำมารักษาโรค และได้ความรู้ ความสนุกสนานกับการฝึกทำลูกประคบ และการทำพิมเสนน้ำ ตลอดจนนักเรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน ครู ผู้ปกครองและชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำ CPR และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ข้อที่ 2. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน ครู ผู้ปกครองและชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยว เรื่องสมุนไพรใกล้ตัวและการทำลูกประคบ ข้อที่ 3. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียน ครู ผู้ปกครองและชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยว การทำพิมเสนน้ำ

ตัวชี้วัดความสำเร็จ 1. นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน เข้าร่วมกิจกรรม การอบรม ให้ความรู้  เกี่ยวกับการทำ CPR และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ร้อยละ  95 2. นักเรียน ครู  ผู้ปกครองและชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยว เรื่องสมุนไพรใกล้ตัว ร้อยละ 95 3. นักเรียน ครู  ผู้ปกครองและชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยว การทำพิมเสนน้ำ ร้อยละ 95

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. เสนอโครงการเพื่อขอความอนุเคราะห์สนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลคลองรี
  2. ประชุมชี้แจงคณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนงานการดำเนินงานร่วมกัน
  3. ดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ ประชาสัมพันธ์โครงการ
  4. กำหนด วันเวลา สถานที่
  5. จัดเตรียมเอกสารและวัสดุการฝึกอบรม
  6. จัดอบรมให้ความรู้ เรื่องการทำ CPR และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น นักเรียน ครู บุคลากรในโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
  7. จัดอบรมให้ความรู้ เรื่องสมุนไพรใกล้ตัว และการทำลูกประคบ แก่นักเรียน ครู บุคลากรในโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
  8. จัดอบรมให้ความรู้ เรื่อง การทำพิมเสนน้ำ แก่นักเรียน ครู บุคลากรในโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
  9. ติดตามและประเมินผล
  10. การสรุปผลการดำเนินงานเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนได้ความรู้ในการทำ CPR และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
  2. นักเรียนได้รับความรู้เรื่องพืชสมุนไพรใกล้ตัว และการทำลูกประคบ และสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
  3. นักเรียนได้ความรู้ในเรื่อง การทำพิมเสนน้ำ
  4. นักเรียน ครู ผู้ปกครองและชุมชน ได้รับความรู้ ความเข้าใจ ในการดูแลรักษาสุขภาพ จากการจัดอบรมให้ความรู้ในกิจกรรม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 7 มิ.ย. 2567 10:32 น.