กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ช่วยเหลือผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Care Giver) เขตเทศบาลเมืองปัตตานี (ประเภท 3)
รหัสโครงการ 67-L7884-3-17
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการเทศบาลเมืองปัตตานี
วันที่อนุมัติ 6 มิถุนายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 มิถุนายน 2567 - 31 กรกฎาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 40,175.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางปดิวลัดดา พฤกษ์ไพโรจน์ พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม , แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปี พ.ศ. 2567 ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) อย่างเต็มรูปแบบ โดยปี พ.ศ. 2566 ข้อมูลจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พบว่าประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุ อายุ 60 ปี ขึ้นไป คิดเป็น 1 ใน 5 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ หรือประมาณ 13 ล้านคน ของประชากร 66,057,967 คน จังหวัดปัตตานีในเขตของอำเภอเมือง มีจำนวนผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 2,777 คน จากจำนวนประชากรทั้งหมด 21,405 คน คิดเป็นร้อยละ 12 จากประชากรทั้งหมด และจากการดำเนินงานดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง (LTC) ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการเทศบาลเมืองปัตตานี พบว่ามีผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงและผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง 102 คน ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลสุขภาพอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม จิตวิญญาน แต่ในเขตเทศบาลเมืองปัตตานี 3 ตำบล อาเนาะรู สะบารัง และจะบังติกอ มีผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) จำนวน 10 คน ส่งผลให้มีผู้ดูแลไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ที่มีภาวะพึ่่งพิง
  ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุและคนพิการเทศบาลเมืองปัตตานี จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ช่วยเหลือผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Gare Giver) เขตเทศบาลเมืองปัตตานี เพื่อสร้างผู้ดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) ให้ครอบคุลมทุกตำบล และเพียงพอต่อการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์การดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง คือ Care Giver 1 คน ต่อ ผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง 5 คน ซึ่งจะส่งผลให้ผุ้ที่มีภาวะพึ่งพิงมีคุณภาพชีวิตที่ดีและได้รับบริการทั้งด้านสาธารณสุข และบริการด้านสังคมที่เชื่อมโยงกันอย่างมีประสิทธิภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการดูแลผู้ป่วยระยะยาว ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่้องการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพจิต สังคม สิ้งแวดล้อม และสามารถปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลแก้ผู้สูงอายุได้ถูกต้อง อย่างมีคุณภาพ 2. เพื่อให้ผูัช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) มีความพึงพอใจต่อการบริการดูแลผู้ป่วยระยะยาว
  1. ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ มีความรู้หลังการอบรมร้อยละ 80 2. ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุพึงพอใจต่อากรบริการดูแลผู้ป่วยระยะยาว ร้อยละ 80
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ขั้นเตรียมการ 1.1 กิจกรรม จัดประชุมทีมคณะทำงานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว 1.2 กิจกรรม จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ Care Giver หลักสูตร 70 ซม. 1.3 กิจกรรม จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การทำ Care Plan
  2. ขั้นดำเนินงาน กิจกรรมที่ 1 จัดประชุมทีมคณะทำงานการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว จำนวน 8 คน 2 ครั้ง ดังนี้ วางแผนการทำงาน แผนปฏิบัติการการดูแลระยะยาวการจัดการสุขภาพอย่างมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย จัดระบบกาารให้บริการเยี่ยมบ้านในผู้สูงอายุที่ต้องได้รับการดูแล

- ประสานบุคลากรทีมสหวิชาชีพ เครือข่ายการเยี่ยมบ้าน
- จัดเตรียมข้อมูลผู้ที่ต้องได้รับการดูแล รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลจากการคัดกรอง และจัดทีมหมอครอบครัวร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการประเมินผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงตามแบบประเมินความสามารถในการดำเนินชีวิตประจำวันตามดัชนีบาร์เธลเอดีเอล (Barthel ALD Index) และแบ่งกลุ่มผู้มีภาวะพึ่งพิง ออกเป็น 4 กลุ่ม ตามความต้องการบริการด้านสาธารณสุข เพื่อจัดบริการด้านสาธารณสุขสำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงโดยมี 2 กิจกรรมย่อย ดังนี้ 2.1 การเตรียมความพร้อมก่อนการจัดอบรม - จัดเตรียมหลักสูตรระยะแรก 18 ชั่วโมง และจัดอบรมให้ครบหลักสูตร 70 ชั่วโมงของกรมอนามัย - จัดทำคู่มือ สำหรับ Care Giver - จัดทำแบบสอบถาม สำหรับ Care Giver - คัดเลือก Care Giver เข้าอบรม - เตรียมแบบสรุปผลการติดตาม/การดำเนินงาน/ปัญหาอุปสรรคการทำงานของ Care Giver
2.2 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ Care Giver หลักสูตร 70 ชัวโมง ระยะเวลาฝึกอบรม 12 วัน - จัดการอบรมภาคทฤษฎี ลงพื้นที่ฝึกปฏิบัติในสถานพยาบาลและชุมชน จำนวน 5 วัน (รวมเป็น 12 วัน) - กิจกรรมการอบรม การประเมินความรู้และทักษะของ Care Giver ก่อน-หลัง การอบรม ประเมินเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงจัดทำทะเบียน/ทำเนียบ Care Giver และสนับสนุนการดำเนินงานของ Care Giver กิจกรรมที่ 3 จัดประชุมเชิงปฏิบัตการ การทำ Care Plan - จัดแบ่งกลุ่มผู้ป่วย ออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 เคลื่อนไหวได้บ้าง และอาจมีปัญหาการกิน หรือการขับถ่าย แต่ไม่มีภาวะสับสนทางสมอง กลุ่มที่ 2 เหมือนกลุมที่ 1 แต่มีภาวะสับสนทางสมอง กลุ่มที่ 3 เคลื่อนไหวเองไม่ได้ และอาจมีปัญหาการกิน หรือการขับถ่าย หรือมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง กลุ่มที่ 4 เหมือนกบุ่มที่ี 3 และมีอาการเจ็บป่วยรุนแรง หรืออยู่ในระยะท้ายของชีวิต - แบ่งผู้ป่วยตามเขตความรับผิดชอบของผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ (Care Giver) และดูแลตามชุดสิทธิประโยชน์ - จัดทำแผนการดูแลสุขภาพรายบุคคล (Care Plan)
กิจกรรมที่ 4 จัดทีมหมอครอบครัวออกเยี่ยมบ้านและจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การทำ Caer Conference โดยทีมสหวิชาชีพและเครื่อข่าย - ประชงุมทีมสหวิชาชีพและเครื่อข่าย วางแผนการลงเยี่ยม สรุปแนวทางการลงประเมินในพื้นที่ให้บริการตามชุดสิทธิประโยชน์ สำหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง 4 กลุ่ม โดยการลงเยี่ยมบ้าน คัดกรอง ประเมินสภาพผู้สู อายุ - จักทำ Care Conference ในพื้นที่ ในรายที่มีปัญหาซับซ้อน ต้องได้รับการดูแลจากหลายหน่วยงาน - ติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง - ประเมินความพึงพอใจผู้สูงอายุ/ญาติที่ได้รับการเยี่ยม -สรุปผลการเยี่ยม กิจกรรมที่ 5 ถอดบทเรียนการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว เขตเทศบาลเมืองปัตตานี

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดระบบบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่ได้มาตรฐาน
  2. บุคลากรในการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้องลดภาวะแทรกซ้อนและมีประสิทธิภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2567 11:01 น.