โครงการผู้สูงวัยห่างไกลสมองเสื่อมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำน้อย
ชื่อโครงการ | โครงการผู้สูงวัยห่างไกลสมองเสื่อมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำน้อย |
รหัสโครงการ | 2567-L8404-1-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำน้อย |
วันที่อนุมัติ | 7 มิถุนายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2567 - 31 ธันวาคม 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 12,050.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางโซฟียะห์ ดูดิง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.103980973,100.5269584place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ม.ค. 2567 | 31 ธ.ค. 2567 | 12,050.00 | |||
รวมงบประมาณ | 12,050.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันโครงสร้างประชากรของประเทศไทยมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นสูง ซึ่งกําลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่สังคม ผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ และสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ในภาวะเช่นนี้ คือ การเตรียมพร้อมเพื่อการป้องกันการเกิดโรคภัยต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นตามมาพร้อม ๆ กับอายุที่ยืนยาวขึ้นและหนึ่งในโรคที่จะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ คือ โรคสมองเสื่อม ซึ่งเป็นโรคที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับอายุที่มากขึ้น โรคสมองเสื่อมเป็นความผิดปกติที่สมองทำงานด้อยลงจากเดิมจนมีผลกระทบต่อการทำงานหรือการใช้ชีวิตประจำวันของบุคคลนั้น ๆ ทำให้ความรอบรู้ ความเฉลียวฉลาดและความคิด การตัดสินใจเปลี่ยนแปลงไปในทางลดลง นอกจากนี้ปัญหาสำคัญที่พบในผู้ป่วยสมองเสื่อม มี 2 ประการ คือปัญหาความจําและพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ซึ่งพบว่าผู้ป่วยจะมีการสูญเสียความจําระยะสั้นก่อนแล้วจึงสูญเสียความจําระยะยาว ตลอดจนความสามารถในการตัดสินใจทำให้เป็นภาระต่อผู้ดูแลและครอบครัวที่ต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุต่าง ๆ จากปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อทั้งผู้สูงอายุและผู้ดูแลอย่างมากในหลายด้าน โดยเฉพาะทางด้านจิตใจเพราะทำให้เกิดความเครียดที่ต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต จนบางครั้งอาจเกิดภาวะซึมเศร้าได้ในบางราย โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำน้อย ได้ตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาจากโรคสมองเสื่อม จึงได้จัดทำโครงการผู้สูงวัยห่างไกลสมองเสื่อมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำน้อย ปีงบประมาณ 2567 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อมและมีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม ซึ่งจะส่งผลให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม
|
||
2 | เพื่อให้ผู้สูงอายุทราบถึงแนวทางในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม
|
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | ม.ค. 67 | ก.พ. 67 | มี.ค. 67 | เม.ย. 67 | พ.ค. 67 | มิ.ย. 67 | ก.ค. 67 | ส.ค. 67 | ก.ย. 67 | ต.ค. 67 | พ.ย. 67 | ธ.ค. 67 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | โครงการผู้สูงวัยห่างไกลสมองเสื่อมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำน้อย(1 ม.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) | 0.00 | ||||||||||||
รวม | 0.00 |
1 โครงการผู้สูงวัยห่างไกลสมองเสื่อมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำน้อย | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- ผู้สูงอายุมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม
- ผู้สูงอายุทราบถึงแนวทางในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2567 10:29 น.