โครงการอบรมสารวัตรปราบยุงลายในสถานศึกษา เขต รพ.สต.น้ำน้อย
ชื่อโครงการ | โครงการอบรมสารวัตรปราบยุงลายในสถานศึกษา เขต รพ.สต.น้ำน้อย |
รหัสโครงการ | 2567-L8404-1-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำน้อย |
วันที่อนุมัติ | 7 มิถุนายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 25,250.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวมินทร์ตรา จันทร์คล้าย |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลน้ำน้อย อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.103980973,100.5269584place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ม.ค. 2567 | 30 ก.ย. 2567 | 25,250.00 | |||
รวมงบประมาณ | 25,250.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากสถานการณ์ผู้ป่วยไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลน้ำน้อย พบว่ามีผู้ป่วยต่อเนื่องในทุก ๆ ปี จากข้อมูลทางระบาดวิทยาของ รพ.สต.น้ำน้อย ข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี (ปี 2562 – 2566) พบผู้ป่วยตามลำดับดังนี้ ปี 2562 จำนวน 11 ราย ปี 2563 จำนวน 8 ราย ปี 2564 จำนวน 0 ราย ปี 2565 จำนวน 1 ราย และปี 2566 จำนวน 29 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 521.68 ต่อแสนประชากรและยังพบผู้ป่วยที่มีอาการสงสัยโรคไข้เลือดออก จำนวน 15 ราย ในปี 2566 ซึ่งต้องมีการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคแบบเดียวกันกับการควบคุมโรคไข้เลือดออก จะเห็นได้ว่าผู้ป่วยไข้เลือดออกยังคงมีการระบาดทุกปี ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยไข้เลือดออกเป็นกลุ่มวัยเรียน ประกอบกับตำบลน้ำน้อยเป็นพื้นที่เกษตรกรรมและมีลำคลองหลายสาย ด้วยสภาพอากาศร้อนชื้นและมีฝนตกต่อเนื่องเกือบตลอดทั้งปี ทำให้เกิดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในหมู่บ้านจึงมีความจำเป็นต้องแก้ไขปัญหาโรคไข้เลือดออก โดยการวางแผนงานกิจกรรมควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกในทุก ๆ ปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำน้อย ดำเนินการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ร่วมกับ อสม. ผู้นําชุมชน โรงเรียนในพื้นที่ และกองสาธารณสุขฯ เทศบาลตำบลน้ำน้อย อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยกระตุ้นให้ชุมชนและโรงเรียนมีส่วนร่วมในการรณรงค์ป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออก จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลน้ำน้อย โดยยึดหลักมาตรการ 5 ป. 1 ข. โดยให้ นักเรียนและประชาชนเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกด้วยการกําจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายเพื่อลดอัตราการป่วย การเสียชีวิตและการเกิดโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลน้ำน้อยต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้เกิดการจัดตั้งแกนนำสารวัตรปราบยุงลายในสถานศึกษา
|
||
2 | เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในบทบาทของแกนนำสารวัตรปราบยุงลายและความรู้เกี่ยวกับการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
|
||
3 | เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก โดยเทียบกับข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี
|
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | ม.ค. 67 | ก.พ. 67 | มี.ค. 67 | เม.ย. 67 | พ.ค. 67 | มิ.ย. 67 | ก.ค. 67 | ส.ค. 67 | ก.ย. 67 |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | โครงการอบรมสารวัตรปราบยุงลายในสถานศึกษา เขต รพ.สต.น้ำน้อย(1 ม.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) | 0.00 | |||||||||
รวม | 0.00 |
1 โครงการอบรมสารวัตรปราบยุงลายในสถานศึกษา เขต รพ.สต.น้ำน้อย | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
1.เกิดแกนนำสารวัตรปราบยุงลายในโรงเรียน เพื่อร่วมกิจกรรมการควบคุมโรคไข้เลือดออกในโรงเรียนและชุมชน
2.ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ในบทบาทของแกนนำสารวัตรปราบยุงลายและความรู้เกี่ยวกับควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
3.เกิดการรณรงค์ร่วมกับปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนโดยสารวัตรนักเรียนเป็นแกนนำ 4.ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในโรงเรียน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 2567 13:08 น.