กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร
รหัสโครงการ 2567-L7161-1-7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ เทศบาลเมืองเบตง
วันที่อนุมัติ 10 มิถุนายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 10 มิถุนายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 128,200.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสกุล เล็งลัคน์กุล
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเบตง อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยปัจจุบันประเทศไทย ได้มีการกำหนดกรอบยุทธศาสตร์การจัดการด้านอาหารฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2561 – 2579) มุ่งสู่วิสัยทัศน์ที่ว่า “ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านอาหารและโภชนาการ เป็นแหล่งอาหารที่มีคุณภาพสูง ปลอดภัย และมีคุณค่าทางโภชนาการเพื่อชาวไทยและชาวโลกอย่างยั่งยืน” โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเทศบาลเมืองเบตง ถือได้ว่าเป็นแหล่งวัฒนธรรมด้านอาหารที่สำคัญแห่งหนึ่งที่สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับเมืองเบตง ให้เป็นที่รู้จักและถือเป็นดินแดนแห่งความอร่อยแห่งหนึ่งของประเทศ ปัจจุบันจำนวนร้านอาหารที่เปิดให้บริการในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองเบตงมากกว่า 200 แห่ง ที่พร้อมต้อนรับและให้บริการแก่นักท่องเที่ยว ซึ่งมีสิ่งจำเป็นที่จะต้องคำนึงถึง 2 ประการ ประการแรกได้แก่ คุณค่าทางโภชนาการและปริมาณอาหารซึ่งจะต้องบริโภคให้พอที่ร่างกายต้องการ เพื่อไม่ให้เกิดโรคขาดสารอาหารหรือได้รับอาหารเกิน ประการที่สองคือ คุณภาพอาหารจะต้องมีความสะอาดและปลอดภัย ถ้ามีเชื้อโรคหรือสารเคมีปะปนอยู่ในอาหารเกินมาตรฐานที่กำหนด จะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค อาจเป็นสาเหตุทำให้มีอาการผิดปกติหรือเจ็บป่วยเกิดขึ้น และอาจถึงแก่ชีวิตได้

จากสถานการณ์การเจ็บป่วยของประชาชนการเฝ้าระบาดทางระบาดวิทยา กลุ่มพัฒนาระบบเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาโรคติดต่อ กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค พบว่าเกิดโรคอาหารเป็นพิษ (Food Poisoning) ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำที่มีสิ่งปนเปื้อน ได้แก่สารพิษที่แบคทีเรีย สร้างไว้ในอาหาร รวมทั้งสารเคมีต่าง ๆ ในปี 2565 พบอัตราป่วย 83.79 ต่อประชากรแสนคนเสียชีวิต 1 ราย อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิง 1 : 1.67 พบมากในกลุ่มอายุ 15-24 ปี (14.35 %) ซึ่งถือว่ายังอยู่ในอัตราป่วยที่สูง ซึ่งผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร ถือเป็นบุคคลสำคัญ ในการจัดหาวัตถุดิบ ปรุงประกอบ ให้บริการที่สะอาดปลอดภัย รวมถึงมีคุณค่าทางโภชนาการ จึงทำให้มีความจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจ เรื่องหลักการสุขาภิบาลอาหาร รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้นำความรู้ไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและสามารถประกอบอาหารที่สะอาดปลอดภัยสู่ผู้บริโภค รวมถึงการบริการที่ดี พร้อมทั้งพัฒนาสถานที่จำหน่ายอาหารให้เป็นไปตามมาตรฐาน ของอาหารสะอาด รสชาติอร่อย (Clean Food Good Taste) ส่งเสริมให้มีความรู้ ความเข้าใจ หลักเกณฑ์และแนวทางในการพัฒนาสถานที่จำหน่ายอาหารให้มีการจัดการของสถานที่ อาหาร ภาชนะ อุปกรณ์ และผู้สัมผัสอาหารให้มี สุขลักษณะที่ดี เพื่อให้อาหารที่จำหน่ายสะอาด ปลอดภัยต่อผู้บริโภค จากข้อมูลดังกล่าว เทศบาลเมืองเบตงในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อาศัยอำนาจหน้าที่ ตาม มาตรา 50 (2) (3) พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่ 14) พ.ศ.2562 และมาตรา 16 (18) (24) พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2549 ได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารขึ้นใน ทุก ๆ ปี เนื่องจากได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการสร้างองค์ความรู้ ความตระหนักรู้และความสำคัญในหลักการสุขาภิบาลอาหารการสร้างความเชื่อมั่นและความปลอดภัยต่อผู้บริโภคการสนับสนุนสร้างแรงจูงใจยกย่องและเชิดชูเกียรติแก่สถานประกอบกิจการที่มุ่งมั่นพัฒนา และยกระดับจนผ่านเกณฑ์มาตรฐาน โดยผลการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่า มีผู้ประกอบกิจการด้านอาหาร และผู้สัมผัสอาหารเข้าร่วมโครงการจำนวนมาก แต่เนื่องจากมีสถานประกอบการบางแห่งได้ปิดตัวลง บางแห่งได้เปลี่ยนผู้ประกอบกิจการรายใหม่ผู้สัมผัสอาหารมีการเปลี่ยนแปลง รวมถึงโรคอุบัติใหม่ ไม่ว่าจะเป็นโรคติดเชื้อทางเดินอาหารและน้ำหรือโรคติดเชื้ออื่น ๆ มีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จึงทำให้การดำเนินงานยังไม่บรรลุวัตถุประสงค์เท่าที่ควรและยังไม่ครอบคลุมสถานประกอบกิจการด้านอาหารในเขตเทศบาลทั้งหมด เทศบาลเมืองเบตง จึงมีความจำเป็นต้องมีการจัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร ในปี งบประมาณ 2567 ขึ้นต่อเนื่องจากปีที่ผ่านมา อนึ่งการดำเนินงานโครงการดังกล่าว จะส่งผลให้เกิดการยกระดับและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารสร้างความมั่นใจ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในฐานะเมืองท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย และคงไว้ซึ่งอัตลักษณ์และวัฒนธรรมด้านอาหารอย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 128,200.00 0 0.00
8 พ.ค. 67 - 31 ธ.ค. 67 โครงการอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหาร 0 128,200.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1 ผู้ประกอบกิจการด้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ความเข้าใจ เรื่องหลักการสุขาภิบาลอาหาร รวมถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้นำความรู้ไปปฏิบัติอย่างถูกต้องและสามารถประกอบอาหารที่สะอาดปลอดภัยสู่ผู้บริโภค รวมถึงการบริการที่ดี 2 เกิดภาพลักษณ์ที่ดีของสถานที่จำหน่ายอาหาร สร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคและนักท่องเที่ยว 3 ทำให้ผู้บริโภคได้รับประทานอาหารที่สะอาด ปลอดภัย ลดการเกิดโรคติดต่อจากอาหารและน้ำ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 พ.ค. 2567 00:00 น.