กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการใส่ใจสุขภาพ ห่างไกลโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำบ่อ ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ L2997-67-02-06
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่ม อสม.รพ.สต.บ้านน้ำบ่อ
วันที่อนุมัติ 30 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 27,475.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางกำหย๊ะ ฮามะ
พี่เลี้ยงโครงการ นายสุริยา รอซี
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านน้ำบ่อ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.817,101.563place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 130 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาสุขภาพของประชาชนในปัจจุบัน พบว่ามีความซับซ้อนมากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และแบบแผนการดำเนินชีวิต ส่งผลทำให้เกิดการเจ็บป่วย ทั้งด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ และป้องกันไม่ได้ รวมทั้งโรคพื้นฐานที่ประชาชนสามารถดูแลตนเองได้ โรคบางอย่างเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึ่งประสงค์ เช่น การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ขาดการจัดการความเครียด จากการสำรวจชุมชนพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ มีปัญหาการออกกำลังกาย และขาดความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเอง ซึ่งส่งผลต่อภาวะสุขภาพของประชาชน จากผลการวิเคราะห์ปัญหาสาธารณสุขของอำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานีปัจจุบัน พบว่าโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญลำดับต้นที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน จากการสำรวจข้อมูลด้านการรักษาพยาบาลปี 2566 ของอำเภอปะนาเระ พบว่าผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 4,001 คน ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 1,744 และในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำบ่อ พบว่าผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 271 คน จากจำนวนประชากร 3,690 คิดเป็นร้อยละ 7.34 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 176 คน จากจำนวนประชากร 2,183 คิดเป็นร้อยละ 4.76 อัตราป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ ปี 2566 จำนวน 8 คน และอัตราป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน 22 คน จากผลการคัดกรองความเสี่ยงประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป มีปัจจัยเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 230 คน จากจำนวนประชากร 1,359 คน คิดเป็นร้อยละ 16.92 มีปัจจัยเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 262 คน จากจำนวนประชากร 1,359 คน คิดเป็นร้อยละ 19.27 ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี ปี 2566 เท่ากับ ร้อยละ 15.34 (เกณฑ์ ≥ร้อยละ 40) และผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตได้ดี ปี 2566 เท่ากับ 46.13 (เกณฑ์ ≥ ร้อยละ 50) สาเหตุสำคัญคือ พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องและการออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ จากการดำเนินงานที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและ อสม. ยังขาดความต่อเนื่องในการให้การบริการในเชิงรุกลงไปถึงระดับ ครอบครัว ชุมชน ทำให้การแก้ปัญหาได้แค่ระดับหนึ่ง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องคิด และใช้วิธีการที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ จากสภาพปัญหาดังกล่าว ทางกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุข หมู่ 2,3 และหมู่ 5 ตำบลบ้านน้ำบ่อ โดยมีเจ้าหน้าที่รพ.สต.บ้านน้ำบ่อเป็นพี่เลี้ยง ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านน้ำบ่อ โดยเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ทั้งในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานของตนเอง โดยการดำเนินงานกิจกรรมต้องสอดคล้องกับสภาพปัญหาของปัจเจกบุคคล ครอบครัว ศาสนา และวัฒนธรรม เพื่อให้มีการเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิต มีความรู้ ความเข้าใจ และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้อง สามารถลดพฤติกรรมเสี่ยง ต่อการเกิดโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง มีความห่วงใยต่อสุขภาพ ครอบครัว และชุมชน อย่างถาวร ส่งผลให้ทั้งกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยและประชาชนมีสุขภาพที่ดี มุ่งให้เกิดการพึ่งตนเองทางสุขภาพเป็นสำคัญ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90
    1. เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมสุขภาพการดูแลตัวเองที่ถูกต้อง
    2. อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2567 14:45 น.