โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ รพ.สต.บ้านทุ่งนารีปี2567
ชื่อโครงการ | โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ รพ.สต.บ้านทุ่งนารีปี2567 |
รหัสโครงการ | 2567-L3341-02 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งนารี |
วันที่อนุมัติ | 20 มิถุนายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2567 - 20 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2567 |
งบประมาณ | 27,150.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | 1.นายเผิน แก้วนาง 2.นายพิณ ศิริมุสิกะ 3.นายเฉลิม ช่วยกลับ 4 นายสหัส สุวรรณฆัง 5.นายอำนวย คงมี |
พี่เลี้ยงโครงการ | นายนพพล กองเอียด |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 70 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | จำนวนผู้สูงอายุที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น หกล้มง่าย เป็นต้น | 17.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากรายงานการประเมินสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนในเขตรับผิดชอบของ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งนารี โดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในปี 2567 ซึ่งประกอบด้วยผลการประเมินสุขภาพ 9 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านความคิด ความจำ 2.ด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย3.การขาดสารอาหาร 4.ด้านการมองเห็น 5.ด้านการได้ยิน 6.ด้านอาการซึมเศร้าและเสี่ยงฆ่าตัวตาย 7.การกลั้นปัสสาวะ 8.ด้านการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันและ 9 ด้านสุขภาพช่องปากจำนวนผู้ที่ได้รับการคัดกรอง เป็นผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปในหมู่บ้าน 3 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1 บ้านพรุโอนหมู่ที่ 3 บ้านทุ่งนารี และหมู่ที่ 5 บ้านบ่อสนจำนวน ผู้สูงอายุได้รับการคัดกรอง จำนวน 412 คน จากจำนวนทั้งหมด 414 คนพบว่า ผู้สูงอายุมีความเสี่ยงเป็นอันดับ 1คือความเสี่ยงด้านการมองเห็น จำนวน 122 คน คิดเป็นร้อยละ 29.61 อันดับ 2. ความเสี่ยงด้านสุขภาพช่องปาก จำนวน 120 คน ร้อยละ 29.13 อันดับ 3.ด้านการเคลื่อนไหวจำนวน 73 คน คิดเป็นร้อยละ17.72อันดับ 4.ด้านการได้ยินจำนวน 58 คนคิดเป็นร้อยละ 14.08และอันดับ 5 ด้านความคิด ความจำจำนวน 46 คนคิดเป็นร้อยละ11.17นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงด้านอื่น ๆ ที่มีผลต่อสุขภาพของผู้สูงอายุทั้งสิ้นเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาด้านสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นในโอกาสข้างหน้า เนื่องจากความเสื่อมถอยด้านสุขภาพของผู้สูงอายุชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งนารี จึงจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ รพ.สต.บ้านทุ่งนารี เพื่อจัดกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมที่ส่งผลถึงการป้องกันความเสี่ยงด้านต่างๆโดยการสร้างการเรียนรู้และกำหนดจัดกิจกรรมทางกายให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อช่วยกระตุ้นให้มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทางกาย เพื่อป้องกันการหกล้ม และพัฒนาทักษะด้านอื่น ๆ เช่นด้านความคิด ความจำ การมองเห็น การได้ยิน ผู้สูงอายุมีการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมกิจกรรมทางกาย เพิ่มขึ้น ร้อยละ 20 |
10.00 | 0.00 |
2 | 2.เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีแรงจูงใจในการปฏิบัติที่ส่งเสริมการเคลื่อนไหวร่างกาย มีสุขภาพจิตที่ดี ความพึงพอใจในการร่วมกิจกรรม ร้อยละ 70 |
4.00 | 10.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 27,150.00 | 4 | 27,150.00 | |
1 - 10 ก.ค. 67 | ประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน เพื่อชี้แจงโครงการ คืนข้อมูลจากการวิเคราะห์ของชมรม ฯแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ | 0 | 750.00 | ✔ | 750.00 | |
11 - 20 ก.ค. 67 | ประชุมกลุ่มเสี่ยงด้านการเคลื่อนไหวร่างกาย เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในการส่งเสริมกิจกรรมการเคลื่อนไหว การป้องกันการหกล้ม | 0 | 2,500.00 | ✔ | 3,700.00 | |
21 - 31 ก.ค. 67 | สาธิตการออกกำลังกายท่าไม้พลอง/ท่ารำวงกลองยาว | 0 | 12,500.00 | ✔ | 11,300.00 | |
2 ก.ย. 67 - 31 ส.ค. 67 | กิจกรรมรวมพลคนรักสุขภาพ | 0 | 11,400.00 | ✔ | 11,400.00 |
กลุ่มเป้าหมาย มีทักษะในการออกกำลังกายการเคลื่อนไหวร่างกายที่ถูกต้อง ทำให้เกิดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ หากเกิดอุบัติเหตุหกล้ม จะมีทักษะวิธีการที่ป้องกันมิให้เกิดอันตรายที่รุนแรงได้และมีความเพลิดเพลินสนุกสนานในการร่วมกิจกรรม จากเพลงบรรเลง จะส่งผลดีต่อทั้งทางร่างกายและจิตใจ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 มิ.ย. 2567 08:59 น.