กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการชุมชนมัสยิดกลางปัตตานีร่วมใจ รณรงค์ตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง ประจำปี 2567 (ประเภที่ 2)

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนมัสยิดกลางปัตตานีร่วมใจ รณรงค์ตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง ประจำปี 2567 (ประเภที่ 2)
รหัสโครงการ 67-L7884-2-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ
วันที่อนุมัติ 3 มิถุนายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 31 กรกฎาคม 2567 - 31 มีนาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 36,959.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายภูดิศ สมัยอุดม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลสะบารัง อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในสภาวะปัจจุบัน สภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ก่อให้เกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นภัยเงียบที่ส่งผลต่อสุขภาพ ทำให้เกิดการเจบป่วย ความพิการ การสูญเสียสุขภาวะ คุณภาพชีวิต และตายก่อนวัยอันควรจำนวนมาก เป็นภาระการรักษาดูแลพยาบาลและค่าใช้จ่ายทั้งของครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ ข้อมูลจากฐานข้อมูลผู้ป่วยนอกรายบุคคล และฐานข้อมูลชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ สปสช. ที่ได้รับการวินิจฉัยโรคเรื้อรัง พบว่าภาวะการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังของประชาชนในตำบลจะบังติกอ มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 225 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 3,431 ต่อแสนประชากร โรคเบาหวาน จำนวน 145 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 2,211 ต่อแสนประชากร และโรคเบาหวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 79 รายคิดเป็นอัตราป่วย 1,205 ต่อแสนประชากร (ระบบสารสนเทศเพื่อการกำกับติดตามระดับเขต สปสช.12 สงขลา)
ชุมชนมัสยิดกลางปัตตานี เป็นชุมชน 1 ในตำบลจะบังติกอ ซึ่งได้รับการจัดตั้งเป็นชุมชนใหม่ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2566 มีจำนวนหลังคาเรือน 455 หลังคาเรือน จำนวนประชากร 1,040 คน มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้งหมด จำนวน 72 ราย ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 59 ราย โรคเบาหวาน จำนวน 12 ราย เป็นโรคเบาหวานร่วมกับโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 42 ราย   จากสถานการณ์การเจ็บป่วยดังกล่าว จะเห็นได้ว่าประชาชนในชุมชนมีการเจ็บป่วยด้วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงจำนวนมาก ทั้งนี้เพื่อค้นหาปัญหาหรือสาเหตุการเกิดโรค ตลอดจนการลดความเสี่ยงและโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนที่จะมีความรุนแรงและกระทบต่อภาวะสุขภาพ ด้วยเหตุนี้ทางชุมชนมัสยิดกลางปัตตานี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในชุมชน จึงได้เสนอโครงการชุมชนมัสยิดกลางปัตตานีร่วมใจ รณรงค์ตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยง ประจำปี 2567 ขึ้น เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรังชุมชน มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพป้องกันการเกิดโรคและภาวะแทรกซ้อนจากการเจ็บป่วยในอนาคต

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป 2. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม
  1. ร้อยละ 90 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง
  2. ร้อยละ 100 ของประชากรกลุ่มเสี่ยงสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับพฤติกรรมด้านสุขภาพ
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมชี้แจงคณะกรรมการชุมชนมัสยิดกลาง เพื่อหาแนวทางในการดำเนินโครงการ
  2. เสนอโครงการเพื่อขอความเห็นชอบและอนุมัติ
  3. แต่งตั้งคณะทำงานดำเนินงานตามโครงการ
  4. ประชาสัมพันธ์โครงการ ประสาน อสม.,คณะกรรมการชุมชน และประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ เช่น ไลน์กลุ่มชุมชนมัสยิดกลาง รถประชาสัมพันธ์เทศบาลเมืองปัตตานี
  5. จัดอบรมพัฒนาศักยภาพ อสม. ในมัสยิดกลางเกี่ยวกับการคัดกรองและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพประชาชน
  6. กำหนดแผนปฎิบัติงานการตรวจคัดกรองเชิงรุกในพื้นที่ พร้อมแจ้งประสาน อสม. เชิญชวนกลุ่มเป้าหมายให้มารับบริการ
  7. ลงพื้นที่ตรวจคัดกรองสุขภาพเชิงรุกและสำรวจพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ 2 ส ของประชาชนที่มีอายุ 35 ปี ขึ้นไป ในเขตชุมชนมัสยิดกลางปัตตานี เพื่อประเมินสุขภาพของประชาชน และส่งต่อกรณีเป็นกลุ่มเสี่ยงสูง พร้อมบันทึกข้อมูลตามแบบคัดกรองสุขภาพ
  8. จัดอบรมให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพแก่กลุ่มเสี่ยงโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข พร้อมแนะนำการบันทึกข้อมูลในสมุดบันทึกสุขภาพกลุ่มเสี่ยง
  9. คณะทำงานร่วมกับหน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่ และ อสม. สร้างแรงจูงใจ ติดตามเสริมพลังพร้อมให้คำแนะนำ เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างถูกต้องและเหมาะสมหลังอบรม จำนวน 3 ครั้ง
  10. ประเมินผล ถอดบทเรียนและสรุปรายงานโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม. มีความรู้ ความเข้าใจในการตรวจคัดกรองสุขภาพและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
  2. ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไปในเขตชุมชนมัสยิดกลางปัตตานี ได้รับการคัดกรองภาวะสุขภาพ
  3. ประชาชนในกลุ่มเสี่ยง มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  4. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสูงได้รับการส่งต่อและดูแลรักษาที่เหมาะสม
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 มิ.ย. 2567 09:10 น.