กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมร่วมใจต้านภัยยาเสพติด ป่าพะยอมล้อมรักษ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๗
รหัสโครงการ 67 - L8416-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลป่าพะยอม
วันที่อนุมัติ 20 มิถุนายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 32,976.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกุสุมา ยาชะรัด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลป่าพะยอม อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.86,99.947place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ด้วยปัจจุบันสถานการณ์การเผยแพร่ระบาดของยาเสพติด ยังคงระดับความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง รัฐบาลจึงกำหนดให้มีการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด เป็นแนวนโยบายที่สำคัญและเร่งด่วนในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยยึดหลัก " ผู้เสพ คือ ผู้ป่วยที่ต้องได้รับการบำบัดรักษา ผู้ค้า คือผู้ที่ต้องได้รับโทษตามกระบวนการยุติธรรม " ซึ่งกำหนดให้เร่งรัดปราบปรามการค้ายาเสพติด และป้องกันไม่ให้กลุ่มเสี่ยงเข้าไปเป็นเหยื่อของยาเสพติด โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชนและในสังคม ให้ร่วมดำเนินการในลักษณะบูรณาการ ควบคู่กับมาตรการทางกฎหมาย ซึ่งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดในประเทศไทย พบว่ามีเด็ก เยาวชน และประชาชน จำนวนไม่น้อยที่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ทั้งเกิดจากความตั้งใจ และเกิดจากการหลงผิดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ อีกทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะทำให้คนกลุ่มนี้ โดยเฉพาะ เด็ก และเยาวชนมีโอกาสเข้าไปติดยาเสพติดเพิ่มมากขึ้นอีก เช่น เด็กและเยาวชน เป็นวัยที่ต้องการเรียนรู้ อยากลอง ต้องการเรียกร้องความสนใจ การสร้างการยอมรับ กล้าทำในสิ่งที่ท้าทาย การชักจูง และการหลอกลวง เป็นต้น ดังนั้น เด็กและเยาวชนจำเป็นต้องได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างเพียงพอ ต้องได้รับการถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและการรู้โทษที่ร้ายแรงของสิ่งเสพติดอย่างเหมาะสม การรู้จักการหลีกเลี่ยงสิ่งเสพติด และสิ่งสำคัญคือการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กและเยาวชน โดยผนึกกำลังทุกภาคส่วน ให้ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมแรงร่วมใจเป็นพลังของแผ่นดิน ที่จะต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหายาเสพติด ผู้นำและแกนนำของชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคม สามารถช่วยปลูกฝังคุณธรรมให้แก่เด็ก เยาวชน และประชาชนในพื้นที่แล้ว ยังมีบทบาทหน้าที่และภารกิจอีกหลายด้าน รวมทั้งการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ซึ่งเป็นภารกิจที่ทุกภาคส่วนต้องดำเนินการร่วมกัน และในสภาพปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของยาเสพติดมาในรูปแบบ และวิธีต่างๆ มากมาย เข้าไปสู่เด็ก เยาวชน และประชาชนในชุมชนและสถานศึกษา ต่างๆ มากยิ่งขึ้น
      องค์การบริหารส่วนตำบลป่าพะยอม จึงมีความจำเป็นที่จะหาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดไม่ให้เกิดขึ้นในพื้นที่ตำบลป่าพะยอม และร่วมกันหาแนวทางการบำบัดรักษาสำหรับผู้ใช้ยาเสพติดและติดยาเสพติด โดยการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็ก เยาวชน และประชาชน ส่งเสริมกิจกรรมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ช่วยเหลือผู้ป่วยยาเสพติดในรูปแบบการบำบัดรักษาทางสังคมโดยการบูรณาการความมีส่วนร่วมในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการอบรมร่วมใจต้านภัยยาเสพติด ป่าพะยอมล้อมรักษ์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ขึ้น เพื่อให้เด็ก เยาวชน และประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของยาเสพติด เสริมสร้างภูมิคุ้มกันแก่เด็ก เยาวชน และประชาชน และสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานราชการกับชุมชน ในการร่วมกันต่อต้านยาเสพติด สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่มาจากการวิเคราะห์สภาพปัญหาด้านสาธารณสุขในพื้นที่ตำบลป่าพะยอม ในเรื่องปัญหายาเสพติด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าในเรื่องปัญหายาเสพติด แนวคิดหลักการสำคัญในการบำบัดฟื้นฟู ตลอดถึงการดูแลผู้ป่วยในชุมชน

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหายาเสพติด แนวคิดหลักการสำคัญในการบำบัดฟื้นฟู ตลอดถึงการดูแลผู้ป่วยในชุมชน

2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ยาเสพติดภายในชุมชนของตนเองและสังคมภายนอกและสามารถปฏิบัติตนให้ห่างไกลยาเสพติดได้

ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมโครงการได้รับรู้เกี่ยวกับสถานการณ์ยาเสพติดภายในชุมชนของตนเองและสังคมภายนอกและสามารถปฏิบัติตนให้ห่างไกลยาเสพติดได้

3 เพื่อสร้างเครือข่ายของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

ร้อยละ ๘๐ ของผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปบอกต่อและสร้างเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดได้

4 เพื่อสร้างแนวทางการบำบัดดูแลผู้ป่วยยาเสพติดอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน

ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถร่วมกันสร้างแนวทางการบำบัดดูแลผู้ป่วยยาเสพติดภายในชุมชนได้

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าในเรื่องปัญหายาเสพติด แนวคิดหลักการสำคัญในการบำบัดฟื้นฟู ตลอดถึงการดูแลผู้ป่วยในชุมชน   ๒. ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับรู้สถาณการณ์ยาเสพติดภายในชุมชนและสังคมภายนอกและสามารถปฏิบัติตนให้ห่างไกลยาเสพติดได้   ๓. สามารถสร้างเครือข่ายของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดได้   ๔. สามารถพัฒนาระบบการป้องกันและการเฝ้าระวังยาเสพติดในพื้นที่ได้   ๔. สามารถสร้างแนวทางการบำบัดดูแลผู้ป่วยยาเสพติดอย่างมีส่วนร่วมของชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2567 16:59 น.