กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชาวปิตูมุดีรวมใจ ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ L3030-67-02-0012
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุข
วันที่อนุมัติ 2 ตุลาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 16 กันยายน 2567
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรูฮานี กาซอ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบิตูมุดี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการเฝ้าระวังของกรมควบคุมโรค ข้อมูลจากการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา(506) กองระบาดวิทยา ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2566 พบ ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสม 79,475 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 120.25 ต่อแสนประชากร ผู้เสียชีวิต 73 ราย คิดเป็น อัตราตาย 0.09 ต่อแสนประชากร ปัจจัยเสี่ยงต่อการป่วยรุนแรงและเสียชีวิตได้แก่ ภาวะอ้วนมีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต เป็นต้น รวมทั้งการไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลช้า และได้รับยากลุ่มต้านอักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) จากคลินิกหรือร้านขายยา จากข้อมูลการกระจายของผู้ป่วย พบว่า ผู้ป่วยมีการกระจายทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยในพื้นที่ จังหวัดปัตตานีมีการแพร่ระบาดของโณคไข้เลือดออกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีการกระจายตามพื้นที่ต่าง ๆ และประสบปัญหามาตลอด จำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก โดยในปี 2566 มีผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสม 27,377ราย อัตราป่วยคิดเป็น 41.37 ต่อแสนประชากร เสียชีวิต 23 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 0.08 อำเภอยะรัง พบผู้ป่วยจำนวน 319 ราย อัตราป่วย 405.16 ต่อแสนประชากรมีผู้ป่วยเสียชีวิต 2 ราย โดยมีผู้ป่วยมากที่สุดอันดับต้น ๆ ของจังหวัดปัตตานี สำหรับสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในตำบลปิตูมุดี พบผู้ป่วยจำนวน 41 ราย อัตราป่วย 615.71 ต่อแสนประชากร มีผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย ปัจจุบันโรคไข้เลือดออกมีวัคซีนสำหรับป้องกันแต่การนำมายังมีข้อจำกัด ดังนั้นซึ่งหากฝนตกอาจทำให้เกิดน้ำขังตามภาชนะและวัสดุต่าง ๆ เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายได้ ขอให้ชุมชนตระหนักมีการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายบริเวณบ้านและในชุมชน ตามมาตรการ "3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค" ดังนี้ 1.เก็บบ้านให้สะอาด เช่น พับเก็บเสื้อผ้าใส่ในตู้หรือแขวนให้เรียบร้อย เพื่อไม่ให้มีมุมอับทึบเป็นที่เกาะพักของยุง 2. เก็บขยะที่อยู่บริเวณรอบบ้าน เก็บภาชนะใส่อาหารหรือน้ำดื่มที่ทิ้งไว้ใส่ถุงดำ และนำไปทิ้งลงถังขยะ เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และ 3.เก็บน้ำภาชนะที่ใส่น้ำเพื่ออุปดภค บริโภค ต้องปิดฝาให้มิดชิด ล้างคว่ำภาชนะใส่น้ำ และเปลี่ยนน้ำในกระถางหรือแจกันทุกสัปดาห์ ป้องกันไม่ให้ยุงลายวางไข่ ซึ่งจะสามารถป้องกันได้ 3 โรค คือ 1. โรคไข้เลือดออก 2. โรคติดเชื้อไวรัสซิกา และ 3 โรคไข้ปวดข้อยุงลายหรือโรคชิคุนกุนยา นอกจากนี้ประชาชนสามารถป้องกันไม่ให้ยุงกัดได้ โดยสวมใส่เสื้อแขนยาวและกางเกงขายาว ใช้สารไล่ยุงชนิดต่าง ๆ ดังนั้นเพื่อเป็นการเข้าถึงประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน และชุมชน จึงได้จัดทำโครงการชาวปิตูมุดีรวมใจทำลายแหล่งทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ป้องกันภัยโณคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2567

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,000.00 0 0.00
??/??/???? กิจกรรมที่ 1 อบรมฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพของแกนนำชุมชน และให้ความรู้เรื่องการควบคุม ป้องกันและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก 0 12,350.00 -
??/??/???? กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ประชาสัมพันธ์และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายที่เป็นพาหะของโรคไข้เลือดออก 0 17,650.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. จำนวนอัตราผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลง 2.ทำให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออก และมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก 3.ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก 4.ทำให้ประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้สามารถลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้าน ชุมชน มัสยิด โรงเรียนให้น้อยลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2567 00:00 น.