กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสตูล หน่วยบริการท่าแพ
รหัสโครงการ 67-L5287-3-015
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสตูล หน่วยบริการท่าแพ
วันที่อนุมัติ 7 มิถุนายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 7 มิถุนายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 56,383.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนัจนันท์ ทิ้งน้ำรอบ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าแพ อำเภอท่าแพ จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด 6.791,99.964place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 7 มิ.ย. 2567 30 ก.ย. 2567 56,383.00
รวมงบประมาณ 56,383.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูล ดำเนินการเปิดให้บริการช่วยเหลือแรกเริ่ม (EI) และเตรียมความพร้อมเด็กพิการทุกประเภท รวมทั้งให้การช่วยเหลือทางด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องการการจัดการศึกษาให้กับคนพิการ ตั้งแต่แรกเกิดหรือแรกพบความพิการจนถึงตลอดชีวิต ตามบทบาทหน้าที่ ดังต่อไปนี้
บทบาทที่ 1 จัดและส่งเสริม สนับสนุนการศึกษาในลักษณะศูนย์บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม และเตรียมความพร้อมของคนพิการ เพื่อเข้าสู่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนอนุบาล โรงเรียนร่วม โรงเรียนเฉพาะความพิการ ศูนย์การเรียนเฉพาะความพิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
บทบาทที่ 2 พัฒนา และฝึกอบรมผู้ดูแลคนพิการ บุคลากรที่จัดการศึกษาสำหรับคนพิการ
บทบาทที่ 3 จัดระบบและส่งเสริม สนับสนุนการจัดทำแนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใด ทางการศึกษาสำหรับคนพิการ
บทบาทที่ 4 จัดระบบบริการช่วงเชื่อมต่อสำหรับคนพิการ
บทบาทที่ 5 ให้บริการฟื้นฟู้สมรรถภาพคนพิการโดยครอบครัวและชุมช ด้วยกระบวนการทางการศึกษา
บทบาทที่ 6 เป็นศูนย์ข้อมูล รวมทั้งจัดระบบข้อมูลสารสนเทศด้านการศึกษาสำหรับคนพิการ
บทบาทที่ 7 จัดระบบสนับสนุนการจัดการเรียน และประสานงานการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการในจังหวัด
บทบาทที่ 8 ภาระหน้าที่อื่นตามกฎหมายที่กำหนดหรือตามที่ได้รับมอบหมาย โดยให้บริการครอบคลุมทุกอำเภอในจังหวัดสตูล ในรูปแบบหน่วยบริการประจำอำเภอ ได้แก่ หน่วยบริการท่าแพ หน่วยบริการละงู หน่วยบริการทุ่งหว้า หน่วยบริการมะนัง หน่วยบริการควนกาหลง หน่วยบริการควนโดน และหน่วยบริการเมืองฉลุง โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาเโ้กพิการให้มีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่เหมาะสมกับวัย สอดคล้องกับความสามารถและความแตกต่างระหว่างบุคคล เป็นการเตียมความพร้อมที่จะเรียนรู้และสร้างรากฐาน ชีวิต เพื่อนำไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนดี มีวินัย ใช้ชีวิตอย่างปกติสุข และในปัจจุบันสังคมไทยมุ่งเน้นการจัดระบบสวัสดิการต่างๆ ได้แก่ ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมายโดยรัฐเท่าเทียมและทั่วถึง มีการขับเคลื่อนการดำเนินการด้านกฎหมาย นโยบาย แผนงนต่างๆ แก่กลุ่มเป้าหมายเด็กพิการมากขึ้น หากแต่ในคงามเป็นจริงเราคงไมาสามารถปฏิเสธได้ว่า ยังมีจำนวนเด็กพิการอีกไม่น้อยที่ไม่สามารถเข้าถึงบริารต่างๆ ของรัฐได้อย่างทั่วถึงในทุกระดับสังคม ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวส่งผลให้เด็กพิเศษส่วนใหญ่ยังขาดการฟื้นฟูในทุกด้าน ขาดโอกาสในการเรียนรู้ สู่สังคมภายนอก อันเนื่องจากครอบครัวเด็กพิการขาดแคลนต้นทุน ขาดความกล้าและขาดความมั่นใจในการพาเด็กพิการเหล่านั้น ออกสู่สังคมภายนอก อีกทั้งสังคมส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ยังขาดความเข้าใจและขาดการยอมรับในเด็กพิการท ซึ่งส่งผลให้เด็กพิการเหล่านั้นไม่ได้รับการพัฒนาและฟื้นฟูอย่างรอบด้านและเหมาะสมกับช่วงวัยของแต่ละบุคคล ขาดทักษะการดำรงชีวิต จากประสบการณ์จริงในการส่งเสริมประสบการณ์ชีวิตใหม่ๆ เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งขาดกระบวนการเรียนรู้ในการเข้าสู่สังคมภายนอก
ครอบครัวเด็กพิการ เป็นผู้ทีมีบทบาทสำคัฐอย่างยิ่งต่อการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก เด็กกลุ่มนี้จำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพิ่มเตืมจากวิธีการตามปกติ ทั้งในด้านการใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้และการเข้าสังคม เพื่อให้เด็กพิการได้รับการพัฒนาตามศัยภาพ หากครอบครัวเหล่านี้ได้รับโอกาสในการเรียนรู้กระบวนการพัฒนาส่งเสริมศักยภาพเด็กพิการจากผู้ที่มีความรู้มีความเชียวชาญเฉพาะด้านหรือจากแหล่งเรียนรู้ตางๆเพื่อเป็นการป้องกัน การแก้ไขปรับปรุง และการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการ ย่อมส่งผลให้ครอบครัวเกิดความรู้ความเข้าความเข้าใจที่ถูกต้องชัดเจน และมีทัศนติที่ดีต่อเด็กพิการมากขึ้น และเด็กพิการเองก็สามารถเกิดการเรียนรู้ทักษะต่างๆอย่างถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งส่งผลให้พวกเขาเหล่านั้นได้รับโอกาสในการพัฒนาอย่างรอบด้า เพิ่มมากขึ้นอีกด้วย
  ปัจจุบันศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสตูล หน่วยบริการท่าแพ ให้บริการฟื้นฟูสมรรถเด็กพิการครอบคลุมทั้งอำเภอ ตามบทบาทหน้าหน้าที่ที่กระทรางฯกำหนด ดังนี้ ให้บริการคนพิการที่อยู่ในวัยเรียนตั้งแต่แรกเกิดพรือพบความพิการจนถึงอายุ 18 ปี ของหน่วยบริการท่าแพ ทั้งสิ้น จำนวน 30 คน และให้บริการนักเรียนพิการในโรงเรียนรวม จำนวน 349 คน โดยรูปแบบการให้บริการที่หลากหลาย ได้แก่ 1. รูแปบบไป - กลับ 2. รูปแบบ Hybrid (Online , On-Demand) และ 3 รูปแบบการเยี่ยมบ้าน ซึ่งในระยะหลายปีที่ผ่านมานี้มีจำนวนเโ้กพิการ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นไปตามยุคสถานการณ์ปัจจุบัน และแตละปีมีกจะมีเด็กพิการที่เสียชีวิตลงอย่างต่อเนื่อง อันเนื่องมาจากปัญหาด้านสุขภาพและการมีโรคประจำตัวของแตะคน เด็กพิการเป็นเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้าทุกด้าน จึงมักมีปัญหาด้านสุขภาพต่างๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งปัญหาสุขสุขภาพช่องปาก ปัญหาสุขภาพทางกาย สุขภาพจิต ตลอดจนการมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไปและน้อยเกินไป ขาดความสมดุลของร่างกาย จนส่งผลเกิดการเจริญเติบโตที่ไม่สมวัย และก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆ เรื้องรังตามมา อีกทั้งคนพิการไม่ค่อยได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี จึงทำให้ไม่มีการติดตามสุขภาพอย่างต่อเนื่อง และการที่จะได้รับการส่งเสริมฟื้นฟูและพัฒนาศัยภาพคนพิการที่สอดคล้องกับประเภทความพิการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างรอบด้าน ดังนั้นศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดสตูลหน่วยบริการท่าแพ จึงเล๋็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูศักยภาพคนพิการให้กับครอบครัวผู้ดูแลคนพิการได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม จึงขอเสนอ โครงการส่งเสริมสุขภาพและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดสตูล หน่วยบริการท่าแพ เพื่อให้เด็กพิการผู้ดูแลคนพิการเกิดทักษะความรู้แบบองค์รวม และเสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวในการดูแลเด็กพิการต่อไป โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน และสังคม ในการพัฒนาเด็กพิการให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้คนพิการ ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กพิการได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม

ร้อยละ 100 ของคนพิการ ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กพิการมีความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมส่งผลให้คนพิการมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และจิตใจอย่างรอบด้าน

100.00
2 2. เพื่อส่งเสริมให้คนพิการได้เห็นคุณค่าของตนเองแสดงออกถึงจิตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ มีสมาธิในการสรรค์สร้างผลงาน และส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกายอารมณ์และจิตใจ

ร้อยละ 100 ของคนพิการได้เห็นคุณค่าของตนเองแสดงออกถึงจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์มีสมาธิในการสรรค์สร้างผลงาน และส่งเสริมพัฒนาพัฒนาการด้านร่างกายอารมณ์และจิตใจ

100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 156 56,383.00 0 0.00
24 มิ.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวม และการตรวจสุขภาพเด็กพิการ 80 29,278.00 -
24 มิ.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรม ศิลปะบำบัด พัฒนาคุณภาพชีวิต 76 27,105.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เพื่อให้คนพิการ ผู้ปกครองและผู้ดูแลเด็กพิการ ได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมส่งผลให้คนพิการมีพัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และจิตใจอย่างรอบด้าน
  2. เพื่อส่งเสริมให้คนพิการได้เห็นคุณค่าของตนเอง แสดงออกถึงจิจนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และมีสมาธิในการสรรค์สร้างผลงานผ่านศิลปะบนผืนผ้า
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2567 11:52 น.