กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอาสาสมัครเสริมสร้างความรู้ผู้ปกครองเด็กทุพโภชนาการ
รหัสโครงการ L - ๓๐๕๙ - ๐๓ - ๐๑
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพสต.มะนังดาลำ
วันที่อนุมัติ 3 พฤษภาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 33,920.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ 1.นางสาวหัมดียะห์ อีแตฮะ 2.นางนุรลีดา แยนา 3.นางสาวยาวาเห วาเลาะ 4.นางสาวรอกีเยาะ มะแซ 5.นางสาวฟาติน สาแม
พี่เลี้ยงโครงการ อัสมิน ฮายีนิเงาะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลมะนังดาลำ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.649,101.599place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มิ.ย. 2567 30 ก.ย. 2567 33,920.00
รวมงบประมาณ 33,920.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาหารและโภชนาการเป็นพื้นฐานที่สำคัญยิ่งต่อสุขภาพ และคุณภาพชีวิตของประชากรในวัยต่าง ๆ โดยเฉพาะในเด็กวัยเรียนเป็นวัยที่อยู่ในระยะสำคัญของชีวิต เป็นวัยที่มีความสำคัญในการวางพื้นฐานเพื่อยกระดับ การพัฒนาคุณภาพชีวิต ในเด็กปฐมวัย เป็นระยะที่ร่างกายและสมอง มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจำเป็นต้อง ได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดเพื่อส่งเสริมพัฒนาการรอบด้านอาหารและภาวะโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็กปฐมวัย ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กอายุ 0 – 4 ปี ในพื้นที่ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย จากภาวะทุพโภชนาการ ภาวะโภชนาการเกิน การขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจาง จากการขาดธาตุเหล็กโดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง
        จากสถานการณ์ด้านภาวะการเจริญเติบโตของเด็ก โดยร้อยละของเด็กอายุ 0-5 ปี สูงดีสมส่วนในปี 2566 ต้องผ่านเกณฑ์ร้อยละ 66 ซึ่งจังหวัดปัตตานี จากฐานข้อมูล HDC ไตรมาสที่ 3 (ณ วันที่ 23 มิถุนายน 2566) สูงดีสมส่วนของภาพรวมจังหวัด คิดเป็นร้อยละ 62.16, อำเภอสายบุรี สูงดีสมส่วน คิดเป็นร้อยละ 56.34 อยู่ในลำดับที่ 7 ของจังหวัดปัตตานี ที่มีอัตราสูงดีสมส่วนไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด จากข้อมูลภาวะโภชนาการเด็ก 0-4 ปี ในเขตรับผิดชอบของ รพ.สต.มะนังดาลำ พบว่าร้อยละของเด็กอายุ 0-4 ปี สูงดีสมส่วน เกณฑ์เป้าหมายปี 2563-2565 ร้อยละ 60, 62 และ 64 ตามลำดับ ซึ่งผลการประเมินภาวะโภชนาการเด็ก 0-4 ปี ในเขตรับผิดชอบ รพ.สต. มะนังดาลำ ปี 2563-2565
ร้อยละ 55.20, 54.17 และ 51.33 ตามลำดับ ซึ่งพบว่ามีภาวะโภชนาการไม่ผ่านเกณฑ์       ในฐานะอาสาสมัครสาธารณสุข ถือว่าเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานในพื้นที่ เพราะเป็นหมอครอบครัวคนที่ 1 ด่านแรกที่อยู่ใกล้ชิดกับชุมชน ในการประเมินภาวะโภชนาการเด็ก จึงเล็งเห็นความสำคัญในการจัดทำโครงการขึ้นมา เพื่อให้ความรู้และการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ ในเด็กปฐมวัยอายุ 0 - 4 ปี ให้ผู้ปกครอง พัฒนาศักยภาพด้าน โภชนาการใน รูปแบบของการบรรยายและฝึกปฏิบัติ เช่น 1.ความรู้ด้านการประเมินแปลผลการชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูงของเด็ก 2. ความรู้การประยุกต์ใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่ายในพื้นที่ ในการปรับเมนูอาหารที่เหมาะสมตามวัย 3. ความรู้เรื่องศาสตร์แพทย์แผนไทย เช่น มณีเวชในเด็กเพื่อกระตุ้นความอยากอาหาร 4.ความรู้เรื่องการตรวจร่างกายเบื้องต้น สังเกตความผิดปกติของเด็ก และแนวทางการส่งต่อเมื่อพบเด็กที่มีความผิดปกติ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณมิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67
1 อบรมเชิงปฏิบัติการ(รูปแบบของการบรรยายและฝึกปฏิบัติ)(1 มิ.ย. 2567-30 ก.ย. 2567) 0.00        
รวม 0.00
1 อบรมเชิงปฏิบัติการ(รูปแบบของการบรรยายและฝึกปฏิบัติ) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผู้ปกครอง มีความรู้ความเชี่ยวชาญและมีทักษะเรื่องโภชนาการในเด็ก 0-4 ปี เช่น การแปลผลกราฟชั่งน้ำหนักวัดส่วนสูง การคำนวณสารอาหารที่เด็กควรจะได้รับในแต่ละวัน และปรับเมนูอาหารได้เหมาะสมตามวัยโดยใช้วัตถุดิบที่หาง่ายในพื้น ส่งผลทำให้ผู้ปกครองมีความพึงพอใจ และเด็กมีแนวโน้มของภาวะโภชนาการดีขึ้นหลังดำเนินการ นำสู่การสร้างผู้ปกครองต้นแบบ ที่สามารถเป็นแบบอย่างและส่งต่อความรู้ให้คนในชุมชนต่อไปได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2567 09:48 น.