กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการสุขภาพดี ชีวิตดี Zero Waste
รหัสโครงการ 67-L5218-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนคลองแดนวิทยา
วันที่อนุมัติ 21 มิถุนายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2567 - 25 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 25 กันยายน 2567
งบประมาณ 34,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวสาริณี หมัดอะดัม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.912,100.319place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประเทศไทยมีรายงานจากการสำรวจ "สถานการณ์ขยะมูลฝอยของภูมิภาค" ปี 2565 พบว่าปริมาณขยะมู,ฝอยสูงถึง 25.70 ล้านต้น ซึ่งเกือบครึ่งหนึ่ง ถูกกำจัดไปอย่างไม่ถูกต้อง และกลายเป็นขยะมูลฝอยตกค้าง โดยในภาคใต้เป็นภูมิภาคที่มีขยะมูลฝอยที่ถูกกำจัดไม่ถูกต้องสูงที่สุด สูงถึงร้อยละ 41.2 ซึ่งมากกว่าค่าเฉลี่ยทั่วประเทศ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภูมิภาคที่มีการนำขยะมูลฝอยไปใช้ประโยชน์มากที่สุด สูงถึงร้อยละ 45.1 ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วประเทศ ทางกรมควบคุมมลพิษจึงมีแนวคิด "Waste to Energy" เปลี่ยนขยะให้กลายเป็นพลังงานทดแทน นอกเหนือจากการจัดการขยะส่วนกลาง "ซาเล้ง" และ "ร้านรับซื้อของเก่า" เป็นกลไกสำคัญหนึ่งในประเทศไทยในการนำเศษพลาสติกและบรรจุภัณฑ์ประเภทต่างๆ กลับมาใช้ประโยชน์ การสนับสนุนให้มีความปลอดภัย และมีศักยภาพในการช่วยลดผลกระทบของขยะมูลฝอยต่อสิ่งแวดล้อม (รายงานสุขภาพคนไทย เล่มปี 2566)
จากเหตุผลดังกล่าวอาจทำให้โรงเรียนคลองแดนวิทยาเล็งเห็นความสำคัญและจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้ ร่วมคิดหาแนวทางและลงมือปฏิบัติจริง โรงเรียนคลองแดนวิทยาสามารถจัดการกับปัญหาขยะที่มีผลต่อสุขภาวะของนักเรียนและบุคลากรทางการศึกษา ส่งผลกระทบต่อการจัดการขยะและสภาพแวดล้อมของโรงเรียนในอนาคตได้ ดังนั้นเพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกให้กับนักเรียน ได้ตระหนักและเห็นถึงความสำคัญถึงการเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาขยะ ซึ่งในการจัดทำโครงการคัดแยกขยะรีไซเคิลและประดิษฐ์ของใช้จากขยะและเพื่อลดปริมาณขยะจากในโรงเรียนขึ้น จึงเป็นรูปแบบหนึ่งของการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้เกิดความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะให้ถูกวิธี เพื่อให้โรงเรียนมีระบบการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ และมีสภาพแวดล้อมที่ดีต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อปลูกฝังให้นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา เห็นความสำคัญของการลด การคัดแยก และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่

นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา เห็นความสำคัญของการลดการเกิดขยะ การคัดแยกขยะ และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่

2 เพื่อให้นักเรียนและบุคลากรรู้วิธีการลดและกำจัดขยะอย่างเป็นระบบ ครบวงจร

นักเรียนและบุคลากรรู้วิธีการลดขยะและกำจัดขยะอย่างเป็นระบบ ครบวงจร

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียน ครู บุคลากรทางการศึกษา และชุมชน เห็นความสำคัญของการลด การคัดแยก และการนำขยะกลับมาใช้ใหม่
  2. นักเรียน และบุคลากร มีองค์ความรู้ในการลดและกำจัดขยะอย่างเป็นระบบ ครบวงจร
  3. นักเรียน และบุคลากร มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และสุขภาะจิตดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. 2567 14:06 น.