กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการสิ่งแวดล้อมดี ชีวีมีสุข
รหัสโครงการ 67-L4127-02-07
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่ใส่ใจถิ่นบ้านเกิดบ้านจือลากี
วันที่อนุมัติ 8 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2567
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอนันต์ สะดียามู
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวสีตีอาอีเสาะ เจะปอ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.212,101.291place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ปริมาณขยะของครัวเรือนทั้งหมดในชุมชนต่อวัน
75.00
2 ร้อยละของครัวเรือนที่คัดแยกขยะเป็นประจำ
65.00
3 ร้อยละของครัวเรือนที่ใช้ประโยชน์ขยะเปียก เช่น การทำปุ๋ยหมัก การทำน้ำหมักชีวภาพ
75.00
4 ร้อยละครัวเรือนที่มีปัญหาขยะ
80.00
5 ร้อยละของครัวเรือนกินอาหารถูก สุขลักษณะ ปลอดภัย และได้ มาตรฐาน
85.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

บ้านหรือที่พักอาศัยถือเป็นปัจจัยขั้นพื้นฐานต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์เป็นสถานที่ที่ประชาชนใช้ในการ อยู่อาศัย และทำกิจกรรมต่างๆ ของบุคคลในครอบครัวเป็นส่วนใหญ่ แต่ปัจจุบันวิถีชีวิตและสภาพของสังคมที่ เปลี่ยนแปลงไป การทำงานที่รีบเร่งแข่งกับเวลา ทำให้ประชาชนละเลยต่อสภาพความเป็นอยู่ของครอบครัว และ ไม่มีการจัดการดูแลที่พักอาศัยที่เหมาะสม โดยเฉพาะในเรื่องของการสุขาภิบาลขั้นพื้นฐานในครัวเรือน เช่น ความ สะอาด ความเป็นระเบียบเรียบร้อย การปรุง-ประกอบอาหารที่ถูกสุขลักษณะ น้ำดื่มน้ำใช้ที่สะอาดและเพียงพอ การจัดการมูลฝอย น้ำเสีย รวมทั้งสัตว์และแมลงพาหะนำโรค หรือละเลยการสร้างพฤติกรรมอนามัยส่วนบุคคลที่ดี ของตนเองและสมาชิกในครอบครัว ก็อาจส่งผลให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ เช่น โรคระบบทางเดินหายใจ โรคระบบทางเดินอาหารที่มีอาหารและน้ำเป็นสื่อ ไวรัสตับอักเสบ โรคไข้เลือดออก เป็นต้น โรคต่างๆ เหล่านี้ ล้วนเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ โดยการจัดการด้านการสุขาภิบาลที่พักอาศัย การสุขาภิบาลสิ่งแวดแวดล้อม และการปรับปรุงพฤติกรรมอนามัยส่วนบุคคลให้ถูกต้องและเหมาะสม กลุ่มเยาวชนรุ่นใหม่ใส่ใจถิ่นบ้านเกิดบ้านจือลากี เพื่อให้เกิดการปฏิบัติในระดับครัวเรือนอย่างเป็น รูปธรรม จึงได้จัดทำโครงการสิ่งแวดล้อมดี ชีวีมีสุข ขึ้น เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญ ของการสุขาภิบาลที่พักอาศัย การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมขั้นพื้นฐานในครัวเรือน ส่งเสริมให้ประชาชนร่วมกัน ปรับปรุงสภาพแวดล้อมทั้งภายในบ้านและบริเวณบ้านโดยรอบ ให้ถูกต้องและเหมาะสม ตามหลักสุขาภิบาล รวมทั้ง สร้างพฤติกรรมอนามัยส่วนบุคคลที่ดีตลอดจนการมีส่วนร่วมพัฒนาอนามัยสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน/ชุมชน นับเป็น การเสริมสร้างศักยภาพของประชาชนในทุกครัวเรือน ให้มีความใส่ใจต่อสุขภาพ และอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ดี โดย เริ่มปลูกฝังตั้งแต่ระดับครัวเรือน และขยายผลสู่ชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ มีความตระหนัก และร่วมมือกันรักษาความสะอาดในบ้านเรือน-ชุมชนของตนเอง ร่วมกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ

ร้อยละของประชาชนมีความรู้ มีความตระหนัก และร่วมมือกันรักษาความสะอาดในบ้านเรือน-ชุมชนของตนเอง ร่วมกันปรับปรุงสภาพแวดล้อมให้สะอาดถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ

85.00
2 เพื่อให้ประชาชนและชุมชน ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงเกิดชุมชนสีเขียว และครัวเรือนมีการปลูกผักสวนครัวปลอดสารเคมี

ร้อยละของประชาชนและชุมชน ยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงเกิดชุมชนสีเขียว และครัวเรือนมีการปลูกผักสวนครัวปลอดสารเคมี

70.00
3 เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อชุมชน

ร้อยละของการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อชุมชน

70.00
4 เพื่อให้ประชาชน และชุมชน สามารถจัดการขยะได้ด้วยตนเอง

ร้อยละของประชาชน และชุมชน สามารถจัดการขยะได้ด้วยตนเอง

70.00
5 เพื่อประกาศเกียติคุณครัวเรือนต้นแบบในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีทั้งภายในบ้านและบริเวณรอบเป็นตัวอย่างที่ดีในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคและส่งเสริมสุขภาพ

ร้อยละของครัวเรือนต้นแบบในการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดีทั้งภายในบ้านและบริเวณรอบเป็นตัวอย่างที่ดีในการดำเนินงานป้องกันควบคุมโรคและส่งเสริมสุขภาพ

70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 พ.ค. 67 - 30 ธ.ค. 67 อบรมให้ความรู้ 150 28,000.00 -
1 พ.ค. 67 - 30 ธ.ค. 67 กิจกรรมที่ 2 รณรงค์ทำความสะอาด (Big Cleaning) หมู่บ้าน/ที่พักอาศัย(บ้านเรือน) ให้ถูกสุขลักษณะ และปรับปรุงภูมิทัศน์ในหมู่บ้านให้สวยงามอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์ 150 2,000.00 -
รวม 300 30,000.00 0 0.00

วิธีดำเนินการ การเตรียม/วางแผน(P) 1. ประชุมชี้แจงคณะทำงาน เพื่อจัดทำโครงการฯ
2. เขียนโครงการเพื่อเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบาเจาะ
3. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อบต. ชุมชน รพ.สต.และอื่นๆ ร่วมกันวางแผนดำเนินการ
4. แจ้งผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อาสาสมัคร(อสม.) และผู้เกี่ยวข้องฯ
5. ติดตามประเมินผลกลุ่มเป้าหมาย/สรุปผลการประเมินหลังการอบรม การดำเนินงานตามแผน (D) 1. ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้นำชุมชน, อสม.,ประชาชนในหมู่บ้าน, เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อทำความความเข้าใจและขอความร่วมมือในการดำเนินการ 2. อบรมให้ความรู้ เรื่อง การปลูกผักสวนครัวปลอดสารพิษ และสาธิตการปลูกผักสวนครัว 3. ติดตามผลลัพธ์การปลูกผักปลอดสารผิดแต่ละครัวเรือน 4. ชวนคิด - ชวนคุยกับผู้นำชุมชน อสม.ประชาชนในหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเพื่อทำความเข้าใจและขอความร่วมมือในการดำเนินงานจัดการคัดแยกขยะในหมู่บ้าน 5. อบรมให้ความรู้เรื่อง การคัดแยกขยะในชุมชน การจัดการด้านการสุขาภิบาลที่พักอาศัยการจัดการด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมและการปรับปรุงพฤติกรรมอนามัยส่วนบุคคล 6. ชวนคิด - ชวนคุยกับผู้นำชุมชน อสม.ประชาชนในหมู่บ้าน และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง โดยใช้การะบวนการมีส่วนร่วม เพื่อทำความเข้าใจและขอความร่วมมือในการดำเนินงาน เรื่องการจัดประกวดบ้านในระดับหมู่บ้าน 7. คืนข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ 8. รณรงค์ทำความสะอาด (Big Cleaning) หมู่บ้าน/ที่พักอาศัย(บ้านเรือน) ให้ถูกสุขลักษณะ และปรับปรุงภูมิทัศน์ในหมู่บ้านให้สวยงามอย่างต่อเนื่องทุกสัปดาห์
9. ประเมินผลและสรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ชุมชมตระหนักถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย สะอาด ปราศจากพาหะนำโรคทั้งในบ้านและนอกบ้าน 2. ชุมชนปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้มากขึ้นลดการใช้สารเคมี และลดอัตราการเจ็บป่วยจากโรคติดต่อที่ป้องกันได้ 3. ประชาชน และชุมชน สามารถจัดการขยะได้ด้วยตนเอง 4. เกิดบ้านครัวเรือนต้นแบบในการจัดการสิ่งแวดล้อมในหมู่บ้าน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ