กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเด็กและเยาวชนใส่ใจสุขภาพ “พลังกาย เช้า เย็น”
รหัสโครงการ 67-L4127-02-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มสร้างเสริมสุขภาวะบ้านลาแลไม่ทอดทิ้งกัน
วันที่อนุมัติ 8 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2567
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอับดุลลามาน มะเด็ง
พี่เลี้ยงโครงการ นายอับดุลเลาะ สาระนะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.212,101.291place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 150 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 60 นาทีต่อวัน)
85.00
2 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
65.00
3 ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
80.00
4 ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน
75.00
5 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน
85.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการที่เด็กและเยาวชนในปัจจุบันไม่ค่อยสนใจในเรื่องของการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันตนเองจากการเจ็บป่วยจนส่งผลกระทบให้อัตราการเกิดโรคติดต่อต่างๆและโรคไม่ติดต่อได้มีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเจ็บป่วยด้วยโรคที่เป็นโรคไม่ติดต่อ เช่น โรคเกี่ยวกับหลอดเลือดและหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งแต่ก่อนจะพบผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงจะเป็นผู้สูงอายุและบุคคลที่เสี่ยงตามกรรมพันธุ์แต่ในปัจจุบันพบว่าอัตราการเกิดโรคจะสามารถพบได้ในประชาชนทุกเพศและทุกวัยทั้งนี้จากการที่ทุกคนก็สามารถจะป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อได้สืบเนื่องจากการที่พบว่าในปัจจุบันประชาชนจะมีการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสมกับการใช้พลังงานของร่างกายจนส่งผลให้มีการสะสมของสารอาหารในร่างกายมากโดยเฉพาะไขมันที่มีการสะสมเป็นส่วนเกิน ในร่างกายจนเห็นได้ชัดเจนโดยดูจากขนาดของรอบเอวที่มีแนวโน้มจะพบว่าประชาชนไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่จะมีขนาดของเส้นรอบเอวจะเกินเกณฑ์ที่กำหนดของกระทรวงสาธารณสุข ดังนั้นเพื่อให้เด็กและเยาวชนได้มีกิจกรรมด้านการส่งเสริมสุขภาพและหันมาสนใจการดูแลสุขภาพของตนเองมีกิจกรรมที่กระตุ้นและส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีการออกกำลังกาย กลุ่มสร้างเสริมสุขภาวะบ้านลาแลไม่ทอดทิ้งกัน จึงได้จัดทำโครงการเด็กและเยาวชนใส่ใจสุขภาพ “พลังกาย เช้า เย็น”ประจำปี 2567 ขึ้นเพื่อจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกาย และให้ทราบถึงและความเสี่ยงต่อการเกิดโรคและสนับสนุนในการจัดกิจกรรมเสริมสร้างสุขภาพโดยการเล่นกีฬา เพื่อรณรงค์และส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนสนใจสุขภาพมากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในเด็กและวัยรุ่น

ร้อยละของเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-17 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 60 นาทีต่อวัน)

85.00 90.00
2 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

65.00 80.00
3 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้สูงอายุ

ร้อยละของผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลาง อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)

80.00 85.00
4 เพื่อเพิ่มการใช้ประโยชน์พื้นที่สาธารณะที่เอื้อต่อการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

ร้อยละของการใช้ประโยชน์ของพื้นที่สาธารณะในการมีกิจกรรมทางกายของคนในชุมชน

75.00 90.00
5 เพื่อเพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

85.00 95.00
6 เพื่อเสริมสร้างความรู้ในด้านการดูแลสุขภาพในกลุ่มเด็กและเยาวชน

ร้อยละของการให้ความรู้ในด้านการดูแลสุขภาพในกลุ่มเด็กและเยาวชน

60.00
7 เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เด็กและเยาวชนใส่ใจสุขภาพโดยการนำกีฬาพื้นบ้าน การละเล่น การเต้น แอโรบิค มานำ

ร้อยละของการสร้างแรงจูงใจให้เด็กและเยาวชนใส่ใจสุขภาพโดยการนำกีฬาพื้นบ้าน การละเล่น การเต้น แอโรบิค

60.00
8 เพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อออกกำลังกายของเด็กและเยาวชนในชุมชนมากขึ้นและเกิดแกนนำในการออกกำลังกายในระดับชุมชน

ร้อยละของการรวมกลุ่มเพื่อออกกำลังกายของเด็กและเยาวชนในชุมชนมากขึ้นและเกิดแกนนำในการออกกำลังกายในระดับชุมชน

70.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพ เทคนิควิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้อง 100 18,000.00 -
1 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายโดยใช้กีฬาพื้นบ้านการละเล่นและการเต้นแอร์โรบิคให้แด็กและเยาวชนเพื่อส่งเสริมสุขภาพและสร้างแกนนำออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ 100 12,000.00 -
รวม 200 30,000.00 0 0.00

วิธีดำเนินการ การเตรียม/วางแผน(P) 1. เสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
2. ประชุมคณะทำงานกลุ่มสร้างเสริมสุขภาวะบ้านลาแลไม่ทอดทิ้งกันมอบหมายศึกษาข้อมูลพื้นฐานการละเล่นกีฬาพื้นบ้านที่ส่งเสริมสุขภาพของเด็กเบื้องต้น
3. ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอรับการสนับสนุนองค์ความรู้/วิชาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4. ดำเนินโครงการ
4.1 ฝึกอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพ เทคนิควิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้อง
4.2 จัดกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายโดยใช้กีฬาพื้นบ้าน การละเล่น และการเต้นแอร์โรบิคให้แด็กและเยาวชนเพื่อส่งเสริมสุขภาพและสร้างแกนนำออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ 5.ประเมินผลโครงการ
การดำเนินงานตามแผน (D) 1. ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ขอรับการสนับสนุนองค์ความรู้/วิชาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2. ดำเนินโครงการ
-ฝึกอบรมให้ความรู้ด้านสุขภาพ เทคนิควิธีการออกกำลังกายที่ถูกต้อง
-จัดกิจกรรมส่งเสริมการออกกำลังกายโดยใช้กีฬาพื้นบ้านการละเล่นและการเต้นแอร์โรบิคให้แด็กและเยาวชนเพื่อส่งเสริมสุขภาพและสร้างแกนนำออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ การประเมิน / รายงานผล (A) ประเมินผลโครงการกิจกรรมหลักและกิจกรรมย่อย
1. กิจกรรมให้ความรู้และออกแบบประสบการณ์ “กีฬา กีฬา เป็นยาวิเศษ”
1.1 กิจกรรมย่อย   - กิจกรรมอุ่นเครื่อง
- แนะนำปัญหา
- ไตร่ตรงทางแก้เฉพาะตน
- ระดมสมองทางออกโดยกลุ่ม
- สื่อทางออก
- ถอดรหัสปรับใช้ 2 กิจกรรม
2. กิจกรรมให้ความรู้และออกแบบประสบการณ์ “ พลังกาย เช้า เย็น”
1.2 กิจกรรมย่อย
- กิจกรรม “ร่างกายกำยำอดทน ไม่ย่นระย่อภัยหรือพาล”
- ทดสอบสมรรถภาพร่างกาย

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เด็กและเยาวชนมีความรู้และเลือกบริโภคอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ
  2. เด็กและเยาวชนมีความรู้และทักษะในการออกกำลังกายด้วยวิธีที่ถูกต้อง
  3. เด็กและเยาวชนมีสุขภาพแข็งแรง ลดภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ หันมาให้ความสำคัญใน การดูแลสุขภาพมากขึ้น
  4. มีแกนนำเด็กและเยาวชนในการส่งเสริมการเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ