กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการวัยเรียน วัยใส ห่วงใยสุขภาพ
รหัสโครงการ 67-L4127-02-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มคอลอกาเอ รวมใจ ห่วงใยสุขภาพ
วันที่อนุมัติ 8 พฤศจิกายน 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2567
งบประมาณ 30,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอาลมามี ดอนิ
พี่เลี้ยงโครงการ นางสาวสาปีเย๊าะ วานุง
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.212,101.291place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสุขภาพจิต , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีพฤติกรรมเพศสัมพันธ์เสี่ยง
75.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สภาพสังคมไทยในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงการดำรงชีวิตในสังคมจากครอบครัวขยาย กลายเป็น ครอบครัว เดี่ยว อีกทั้งสภาพเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ทำให้พ่อแม่ต้องประกอบอาชีพนอกบ้าน ส่งผลให้ สภาพครอบครัวขาดความอบอุ่น เยาวชนในครอบครัวขาดการดูแลและชี้แนะในสิ่งที่เหมาะสม ประกอบกับ ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์ และวัฒนธรรมข้ามชาติ ทำให้เยาวชนถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าเช่น สื่อลามก ในโลกอินเตอร์เน็ต สิ่งเหล่านี้มีผลทำให้เยาวชนเกิดพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม ด้วยการขาดวุฒิภาวะและทักษะ ในการควบคุมอารมณ์ทางเพศของตนเอง เยาวชนจึงมีเพศสัมพันธ์ในเวลาที่ไม่เหมาะสม และขาดความเข้าใจเรื่อง เพศศึกษา จึงส่งผลให้เกิดการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ ปัญหาแม่วัยรุ่นตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ นับเป็นปัญหาที่สำคัญในสังคมปัจจุบัน ที่ต้องได้รับการแก้ไข จากข้อมูล ที่ผ่านมาของรายงานจากยูนิเซฟ (UNICEF) เมื่อปี พ.ศ.๒๕๖๓ พบว่า แม่วัยรุ่นอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี ของไทย มีจำนวนสูง ถึง ๑๕๐,๐๐๐ คน ซึ่งเป็นอันดับ ๑ ในเอเชีย และจากผลการสำรวจในครั้งนี้ก็พบว่า เยาวชนมีความรู้ เรื่องเพศศึกษา การคุมกำเนิด การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในระดับที่ต่ำมาก ซึ่ง ยังมีการรับรู้เรื่องเพศไม่ถูกต้อง เช่นการนับ ระยะปลอดภัยหน้า หลัง เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ เป็นต้น สำหรับอัตราการคลอดบุตรของแม่วัยรุ่นอายุต่ำกว่า ๒๐ ปี วันละ ๓๓๖ ราย เฉลี่ยปีละ ๑๒๒,๒๕๐ ราย และพบว่ามีแม่วัยรุ่นอายุน้อยลงเรื่อยๆ เนื่องจากวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมมีอายุน้อยลงมาก วัยรุ่นเหล่านี้จึงขาดวุฒิภาวะในการจัดการกับปัญหาชีวิต ที่เกิดขึ้น วัยรุ่นบางคนไม่ทราบว่าตนเองตั้งครรภ์ ทำให้ไม่ได้ดูแลสุขภาพร่างกาย และไม่ได้รับ อาหารเสริม บุตรของ แม่วัยรุ่นมักประสบปัญหาสุขภาพไม่สมบูรณ์ ไม่แข็งแรง น้ำหนักน้อย บางรายหาทางออก โดยวิธีการทำแท้ง ผลจากการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัย อาจทำให้เด็กตกเลือด ติดเชื้อรุนแรงจนอาจเสียชีวิตได้ บางรายก็ต้องออกจากโรงเรียน เนื่องจากอับอายส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของแม่วัยรุ่นในอนาคต กลุ่มงานอนามัยชุมชน กลุ่มคอลอกาเอ รวมใจ ห่วงใยสุขภาพ ได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็น ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการวัยเรียน วัยใส ห่วงใยสุขภาพ ในชุมชน เพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้ เรื่องเพศศึกษา และพัฒนาการทางเพศของตนเอง โดยให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการคิด มีการเรียนรู้ โดยใช้ กลุ่มเพื่อน เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ฝึกให้เยาวชนได้คิดถึง ปัญหาทางเพศ การแก้ไขปัญหา และการป้องกันปัญหา

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดปัญหา ประชาชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเพศสัมพันธ์

ร้อยละของประชาชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเพศสัมพันธ์ ลดลง

75.00 85.00
2 เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความเข้าใจบทบาท หน้าที่ของตัวเอง ต่อตนเอง ต่อสังคม และครอบครัว
  1. เด็กและเยาวชนมีความเข้าใจบทบาท หน้าที่ของตัวเอง ต่อตนเอง ต่อสังคม และครอบครัว
70.00
3 เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องของปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยเรียน
  1. เด็กและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องของปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยเรียน
80.00
4 เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องของการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ อย่างถูกต้อง
  1. เด็กและเยาวชนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องของการป้องกันการตั้งครรภ์ได้ อย่างถูกต้อง
65.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
ลำดับกิจกรรมหลักงบประมาณพ.ค. 67มิ.ย. 67ก.ค. 67ส.ค. 67ก.ย. 67ต.ค. 67พ.ย. 67ธ.ค. 67
1 การเตรียม/วางแผน(P)(1 พ.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 0.00                
2 การดำเนินงานตามแผน (D)(1 พ.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) 30,000.00                
3 การประเมิน / รายงานผล (A)(1 พ.ค. 2567-30 ธ.ค. 2567) 0.00                
รวม 30,000.00
1 การเตรียม/วางแผน(P) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
2 การดำเนินงานตามแผน (D) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 200 30,000.00 0 0.00
1 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เรื่อง วัยเรียน วัยใส ใสใจสุขภาพ 100 19,000.00 -
1 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 กิจกรรมละลายพฤติกรรม จำนวน 1 วัน 100 11,000.00 -
3 การประเมิน / รายงานผล (A) กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรมย่อย 0 0 0 0
  1. วิธีดำเนินการ การเตรียม/วางแผน(P)
  2. จัดทำโครงการขออนุมัติต่อผู้บริหาร
  3. จัดทำคำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการดำเนินการ
  4. จัดประชุมคณะกรรมการดำเนินการ
  5. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  6. กำหนดการจัดการอบรมให้ความรู้ เด็กและเยาวชน
  7. ประเมินผลโครงการ สรุปการประเมินผล การดำเนินงานตามแผน (D)
  8. สำรวจกลุ่มเป้าหมาย
  9. จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้กับกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้
    2.1 เรื่องบทบาทและหน้าที่ ความรับผิดชอบต่อตนเองและ สังคม
    2.2 เรื่องปัญหาและผลกระทบ ที่เกิดขึ้น จากการมีเพศสัมพันธ์ก่อน วัยอันควรที่ขาดการป้องกัน
    2.3 การป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัย อันควร
  10. กระบวนการการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยดำเนินกิจกรรม ดังนี้ 3.1 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสถานการณ์การตั้งครรภ์ และคลอดบุตรก่อนวัยอันควร
    3.2 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องบทบาททางเพศที่แตกต่างกันระหว่างชายหญิง 3.3 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ 3.4 กิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะการมุ่งอนาคตของครอบครัว 3.5 กิจกรรมพัฒนาทักษะการควบคุมตนเองของครอบครัว การประเมิน / รายงานผล (A) ๑. ทดสอบสมรรถภาพทางกายของเด็กและเยาวชนหลังเข้าร่วมโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องเพศศึกษามากขึ้น
๒. เยาวชนนำทักษะที่ได้รับจากการอบรมมาปรับใช้ในชีวิตจริง
๓. ลดภาวะการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของแม่วัยรุ่น
๔. ลดการทำแท้งที่ไม่ปลอดภัยซึ่งส่งผลให้วัยรุ่นติดเชื้อรุนแรง ภาวการณ์ตกเลือด ซึ่งอาจจะส่งผลถึงชีวิตได้
๕. คุณภาพชีวิตของแม่วัยรุ่นดีขึ้น ส่งผลถึงการศึกษาและอนาคตของวัยรุ่นเอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ