โครงการชุมชนร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก
ชื่อโครงการ | โครงการชุมชนร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก |
รหัสโครงการ | 67-L4127-02-11 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กลุ่มพลังพลชุมชนคอลอบาแล ตื่นรู้ สร้างเสริมสุขภาพ |
วันที่อนุมัติ | 8 พฤศจิกายน 2566 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ธันวาคม 2567 |
งบประมาณ | 30,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวญัสยูดา อาเก๊ะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวรีซาวาตี แมะเราะ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.212,101.291place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 150 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด | 85.00 | ||
2 | ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้มาลาเรีย | 85.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความ สูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุก ฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและ เอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดใน การแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึง สภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการ แก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้น การดำเนินงาน ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กร ชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัด ดำเนินการ ถือเป็นนโยบายสำคัญอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดที่จะลดปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ต่อไป โดยมุ่งเน้นความพร้อมในการป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดของโรค และดำเนินการระงับเหตุรำคาญและความชุกของชุมของยุงลายในพื้นที่อย่างต่อเนื่องในรูปแบบการฉีดพ่นสารเคมีกำจัดยุงตัวแก่ และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ไข้เลือดออกในพื้นที่ตำบลบาเจาะ การระบาดของโรคไข้เลือดออก ส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมีนาคม – ตุลาคมของทุกปี ซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนพอดีและชีวนิสัยของยุง ชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้งชุมชน ศูนย์เด็ก เล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันในตำบลบาเจาะ พบว่าสถานการณ์ของโรคไข้เลือดออก มีแนวโน้มที่จะพบผู้ป่วยมากขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องทำการควบคุมป้องกันและรณรงค์เพื่อให้สถานการณ์ของโรคไข้เลือดออกกลับอยู่ในสภาวะที่ไม่ รุนแรงและเพื่อเป็นการป้องกันอย่างต่อเนื่อง กลุ่มพลังพลชุมชนคอลอบาแล ตื่นรู้ สร้างเสริมสุขภาพ จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นเพื่อ ควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกล่วงหน้าและทันท่วงทีที่เกิดโรค
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ) |
85.00 | 90.00 |
2 | เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้มาลาเรียระบาด การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้มาลาเรีย (ร้อยละ) |
85.00 | 95.00 |
3 | เพื่อลดอัตราป่วยและไม่มีผู้ป่วยตาย ด้วยโรคไข้เลือดออก ร้อยละของการลดอัตราป่วยและไม่มีผู้ป่วยตาย ด้วยโรคไข้เลือดออก |
85.00 | |
4 | เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน ร้อยละของการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน |
85.00 | |
5 | เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม ร้อยละประชาชนมีความรู้ ความเข้าใจ ในการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ถูกวิธี และเหมาะสม |
85.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 | กิจกรรมที่ 1 อบรมให้สุขศึกษา ประชาสัมพันธ์ และสำรวจพร้อมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย | 150 | 28,000.00 | - | ||
1 พ.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 | กิจกรรมที่ 2 รณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน | 150 | 2,000.00 | - | ||
5 ก.ค. 67 | ๑. ทดสอบของเด็กและเยาวชนหลังเข้าร่วมโครงการ | 0 | 0.00 | - | ||
รวม | 300 | 30,000.00 | 0 | 0.00 |
วิธีดำเนินการ
การเตรียม/วางแผน(P)
1. ประชุมชี้แจงคณะทำงาน เพื่อจัดทำโครงการฯ
2. เขียนโครงการเพื่อเสนอกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลบาเจาะ
3. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อบต. โรงเรียน ชุมชน รพ.สต.และอื่นๆ ร่วมกันวางแผนดำเนินการ 4. แจ้งผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อาสาสมัคร(อสม.) และผู้เกี่ยวข้องฯ
5. ติดตามประเมินผลกลุ่มเป้าหมาย/สรุปผลการประเมินหลังการอบรม
การดำเนินงานตามแผน (D)
1. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อบต. ชุมชน รพ.สต.และอื่นๆ ร่วมกันวางแผนดำเนินการ
2. แจ้งผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนา อาสาสมัคร(อสม.) และผู้เกี่ยวข้องฯ
3. ดำเนินการประชาสัมพันธ์โรคไข้เลือดออกให้แกนนำประจำครอบครัวทุกหลังคาเรือน
4. ประชาสัมพันธ์ เกี่ยวกับการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก และขอความร่วมมือให้ ประชาชนทำลายแหล่งเพาะพันธุ์และกำจัดลูกน้ำยุงลาย
5. รณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านร่วมกับ แกนนำประจำครอบครัว และอาสาสมัครสาธารณสุข(อสม.) โดยวิธี ทางกายภาพ รณรงค์เคาะประตูบ้านในชุมชน พร้อมร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่ง เพาะพันธุ์ยุงลาย ในชุมชน ใช้สารเคมี ใส่สารเคมีทรายอะเบทในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน และ ส่งเสริมความรู้ให้แกนนำประจำครอบครัวในชุมชนเกี่ยวการปลูกพืชไล่ยุง เช่นตะไคร้ หอมไล่ยุง การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง
7. แกนนำประจำครอบครัวสำรวจลูกน้ำยุงลายด้วยตัวเองทุกสัปดาห์ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุข ในเขตรับผิดชอบ
การประเมิน / รายงานผล (A)
๑. ทดสอบของเด็กและเยาวชนหลังเข้าร่วมโครงการ
๑. สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้เหลือไม่เกิน ๕๐ ต่อหมื่นประชากร
๒.ทำให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและมี พฤติกรรมที่ถูกต้อง เหมาะสม การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก
๓. ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
๔. ทำให้ประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้สามารถลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้าน ชุมชน มัสยิด ให้น้อยลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2567 10:26 น.