กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการบาโงยซือญาตี ก้าวท้าใจ Season 3
รหัสโครงการ L4161-02-11
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมวิ่งบาโงยซือญาตี
วันที่อนุมัติ 22 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 24,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุไลมาน หะเด็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโงย อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.473,101.349place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ส.ค. 2567 17 ธ.ค. 2567 1 ส.ค. 2567 17 ธ.ค. 2567 24,400.00
รวมงบประมาณ 24,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์)
50.00
2 ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน
60.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

องค์การสหประชาชาติได้กำหนดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ใช้กำหนดทิศทางการพัฒนาของประชาคมโลก เพื่อให้การดำเนินงานของประเทศมีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับสถานการณ์ของโลก ประเทศไทยจึงได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือ การพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน ซึ่งมียุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญในการยกระดับการพัฒนาประเทศในทุกมิติ ซึ่งจำเป็นต้องมีการวางรากฐานการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาและยกระดับคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดี เก่ง และมีคุณภาพพร้อมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไปข้างหน้าได้อย่างเต็มศักยภาพ การส่งเสริมการออกกำลังกายเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการสร้างเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ หรือโรคโควิด ๑๙ (COVID - ๑๙) การออกกำลังกายอย่างถูกต้อง เหมาะสมและต่อเนื่อง จะเป็นปัจจัยปกป้องที่สำคัญในการป้องกันโรค แต่เนื่องจากสถานการณ์ระยะนี้การที่ประชาชนจะออกกำลังกายในรูปแบบการรวมกลุ่มกันออกกำลังกาย หรือการออกำลังกายตามที่สาธารณะที่มีผู้คนอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น จะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด ๑๙ (COVID-๑๙) และเพิ่มความเสี่ยงในการแพร่กระจายโรคได้มากขึ้น ชมรมวิ่งบาโงยซือญาตีจึงได้จัดทำโครงการบาโงยซือญาตี ก้าวท้าใจ Season ๓ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสื่อสารเชิญชวนให้ประชาชนร่วม ฟิตกายฟิตใจ ออกกำลังกาย อย่างถูกต้อง เหมาะสม และต่อเนื่องภายใต้ campaign “ ส่งเสริมการออกกำลังกายด้วยการเดิน – วิ่ง - ปั่นจักรยาน สะสมระยะทาง (virtual run) บาโงยซือญาตีก้าวท้าใจ ๑๐๔ วัน ” เพื่อช่วยกระตุ้นให้ประชาชนออกกำลังกาย ซึ่งประชาชนสามารถทำได้ง่าย ทุกสถานที่ ทุกเวลา เพียงบันทึกระยะทางสะสมการเดิน – วิ่ง - ปั่นจักรยาน ในแอพพลิเคชั่น Google Form เปิดระบบในการรับสมัคร ตั้งแต่วันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๗ เป็นต้นไป เริ่มสะสมระยะทางและส่งข้อมูลการบันทึกระยะทางของประเภทกิจกรรมที่สมัครที่อยู่ในแอปพลิเคชั่นใดก็ได้ เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่า คุณสามารถทำได้สำเร็จตามระยะทางเป้าหมายได้ ตั้งแต่ วันที่ ๑๙ สิงหาคม - ๕ ธันวาคม ๒๕๖๗ โดยระบบจะทำการบันทึกและประมวลผล พร้อมประเมินดัชนีมวลกาย (BMI) และให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพแต่ละบุคคล ซึ่งนับว่าโครงการบาโงยซือญาตีก้าวท้าใจนี้ นอกจากจะช่วยส่งเสริมให้ประชาชนออกกำลังกายเพื่อมีสุขภาพที่แข็งแรง ลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด ๑๙ (COVID-๑๙) แล้วโครงการนี้ยังการปลุกกระแสการสร้างสุขภาพโดยไม่จำเป็นต้องให้ประชาชนมารวมกลุ่มกันเพื่อทำกิจกรรม ซึ่งตอบโจทย์ของประเทศในการสร้างสุขภาพของคนไทยให้แข็งแรงมีภูมิต้านทานต่อโรค อีกทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของโรค ทำให้การควบคุมการระบาดของโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยผ่านพ้นภาวะวิกฤตินี้ไปในเร็ววันได้ด้วยความร่วมมือ และความสามัคคีของทุกคนในชุมชน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มการมีกิจกรรมทางกายที่เพียงพอในผู้ใหญ่

ร้อยละของผู้ใหญ่อายุ 18-64 ปี ที่มีกิจกรรมทางกายเพียงพอ (ระดับปานกลางถึงมาก อย่างน้อยที่สุด 150 นาทีต่อสัปดาห์)

50.00 60.00
2 เพื่อเพิ่มการออกกำลังกายในชุมชน

ร้อยละของคนที่ออกกำลังกายในชุมชน

60.00 65.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
1 - 31 ส.ค. 67 การประชุมชี้แจงและอบรมให้ความรู้ให้กับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ 100 3,000.00 3,000.00
16 ธ.ค. 67 เวทีสรุปผลการดำเนินงานและมอบรางวัลให้เข้าร่วมกิจกรรม ( เวทีปิดโครงการ ) 100 21,400.00 21,400.00
รวม 200 24,400.00 2 24,400.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดสื่อสารเชิญชวนให้ประชาชนร่วม ฟิตกายฟิตใจ ออกกำลังกาย อย่างถูกต้อง เหมาะสม
  2. เกิดกรกระตุ้นให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีและช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
  3. เกิดการกระตุ้นส่งเสริมให้ประชาชนทุกกลุ่มวัยเป็นต้นแบบด้านสุขภาพ (Health Model)
  4. เกิดความตระหนักและตื่นตัวเห็นความสำคัญและประโยชน์ของการออกกำลังกาย สร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรง มีสุขภาพจิตที่ดี ลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรค
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2567 11:20 น.