กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการชุมชนร่วมใจ ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก
รหัสโครงการ 67-L8423-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.เจ๊ะเก
วันที่อนุมัติ 21 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 19,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรอซีตา กูโน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโงสะโต อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.277,101.691place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)       ในปัจจุบันโรคติดต่อที่สำคัญหลายโรคที่ไม่เกิดอันตรายต่อมนุษย์ ได้กลับมาเป็นโรคติดต่อที่อันตรายและมีความรุนแรงมาก มีผลกระทบต่อมวลมนุษย์ทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจและการเมือง เช่น โรคไข้หวัดนก โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ โรคติดต่อทางระบบหายใจรุนแรงเฉียบพลัน เป็นต้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นโรคติดต่ออุบัติใหม่ของศตวรรษที่ 21 ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงไปทั่วโลก โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียได้รับผลกระทบมากที่สุดอันเนื่องมาจากเป็นโรคที่ติดต่อง่าย ส่งผลให้เกิดการแพร่ระบาดไปยังประเทศต่างๆทั่วโลกอย่างรวดเร็ว ทำให้มีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก ดังจะเห็นได้จากรายงานขององค์การอนามัยโลก จึงเป็นมูลเหตุให้เกิดความวิตก กังวล และความกลัวในวงกว้าง ทั้งในกลุ่มประชาชนทั่วไปและกลุ่มบุคคลที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง
        กระทรวงสาธารณสุข จึงได้เห็นชอบนโยบายอำเภอ ตำบลควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน โดยใช้อำเภอเป็นจุดเชื่อมโยงการบริหารจัดการทรัพยากรในการดำเนินงานเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เกิดระบบเฝ้าระวังป้องกัน ควบคุมโรคและภัยสุขภาพระดับอำเภอที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลต่อสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ทันเหตุการณ์ โดยกำหนดคุณลักษณะตำบลควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน ๕ ด้าน ประกอบด้วย มีคณะกรรมการป้องกันโรคและภัยสุขภาพ มีระบบระบาดวิทยาระดับที่ดี มีการวางแผนป้องกัน ควบคมโรคและภัยสุขภาพ มีการระดมทรัพยากรหรือการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นรูปธรรม มีผลสำเร็จของการควบคุมป้องกันโรคที่สำคัญ โดยกรมควบคุมโรคได้จัดกระบวนการการระดมความคิดเห็น สื่อสาร ประชาสัมพันธ์ หลักคิด ประโยชน์และแนวทางการพัฒนา “ตำบลควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน” กับเครือข่ายหลักที่สำคัญ ได้แก่ สาธารณสุขอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล อาสาสมัครสาธารณสุข และเครือข่ายในชุมชนอื่นๆ ตลอดจนในปี 2566 ได้มีการระบาดอย่างหนักของโรคไข้เลือดในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ๊ะเก มีจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดที่สูงมาก โดยเฉพาะในสามเดือนสุดท้ายของปีการรายงานผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง สรุปปี 2566 มีจำนวนผู้ป่วยทั้งสิ้น 11 ราย คิดเป็น 314.57/ ประชากรแสนคน ด้วยปัญหาดังกล่าวจึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างเครือข่ายการดำเนินงานด้านควบคุมโรคที่เข้มแข็งในพื้นที่ผ่านกระบวนการหรือกลไกตำบลควบคุมโรคเข้มแข็งแบบยั่งยืน ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านเจ๊ะเก จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของ โครงการชุมชนร่วมใจ  ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ปี 2567 เพื่อสร้างทีมปฏิบัติงานระดับตำบลที่เข้มแข็ง มีระบบการเฝ้าระวังที่ดี มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล สามารถควบคุมและป้องกันโรคระบาดในชุมชนได้อย่างยั่งยืนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ชุมชนมีระบบ และมาตรการเฝ้าระวังโรคติดต่อที่มีประสิทธิภาพ มีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งในการดำเนินการเฝ้าระวังโรค และมุ่งเน้นการป้องกันโรคมากกว่าการรักษา

เพื่อให้ชุมชนมีระบบ และมาตรการเฝ้าระวังโรคติดต่อที่มีประสิทธิภาพ  มีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งในการดำเนินการเฝ้าระวังโรค และมุ่งเน้นการป้องกันโรคมากกว่าการรักษา

2 เพื่อให้อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐาน

อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ลดลง ไม่เกิน 50/ประชากรแสนคน

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ชุมชนมีระบบ และมาตรการเฝ้าระวังโรคติดต่อที่มีประสิทธิภาพ มีส่วนร่วมอย่างเข้มแข็งในการดำเนินการเฝ้าระวังโรค และมุ่งเน้นการป้องกันโรคมากกว่าการรักษา
  2. อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ลดลง ไม่เกิน 50/ประชากรแสนคน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2567 14:24 น.