กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการนวัตกรรมสลามานามัย แพทย์แผนไทยห่วงใยสุขภาพกายใจผู้สูงอายุ ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L8423-1-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านเจ๊ะเก
วันที่อนุมัติ 21 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 19,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนูรฮานันท์ ตาปู
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโงสะโต อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.277,101.691place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทย กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตถึงร้อยละ 71 ของการ เสียชีวิตทั้งหมดสูงเป็นอันดับสองในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ องค์การอนามัยโลกคาดการณ์ สถานการณ์ผู้เสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังของไทยในปี 2553 (WHO, 2013) มีประมาณ 400,000 คน คิดเป็นร้อยละ 73 สูงกว่าค่าเฉลี่ยโลก และประมาณร้อยละ 29 ของการเสียชีวิตจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอุบัติขึ้นในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี สอดคล้องกับสถิติสาธารณสุขปี 2558 (สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์, 2559) จากฐานข้อมูลสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในปี 2565 จำนวน 6.8 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 จำนวน 2 แสนคน และผู้ป่วยโรคเบาหวานในปี 2565 จำนวน 3.3 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2564 จำนวน 1.5 แสนคน   จากข้อมูลการเจ็บป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวาน ปี 2564-2566 พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงเขตรับผิดชอบที่เป็นผู้ป่วยรายเก่าทั้งหมด 487,529 และ 577 รายตามลำดับ คิดเป็น 9,511.71,10,332.03 และ11,269 /ต่อประชากรแสนคนตามลำดับ และป่วยด้วยโรคเบาหวานทั้งหมดจำนวน 149,163 และ 186 รายตามลำดับ คิดเป็น 2,910.15,3,111.87 และ3,502.82 /ต่อประชากรแสนคนตามลำดับ และป่วยทั้งโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน จำนวน 56,63 และ 71 ราย ตามลำดับ คิดเป็น 1,093.75,1,202.74 และ 1,337.09 /แสนประชากรแสนคน ตามลำดับ อีกทั้งโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ๊ะเก ได้มีการดำเนินงานคัดกรองกลุ่มเป้าหมายเพื่อค้นหากลุ่มเสี่ยงเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพทุกปี ซึ่งในปี 2566 ได้มีการคัดกรอง กลุ่มเป้าหมายประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ซึ่งมีทั้งหมด 2,432 ราย และได้รับการคัดกรอง จำนวนทั้งสิ้น 2,353 ราย คิดเป็นร้อยละ 96.75 และพบว่าในกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการคัดกรอง เป็นกลุ่มเสี่ยงทุกประเภท (เสี่ยงสูง/ปานกลาง/ต่ำ) จำนวน 653 ราย คิดเป็นร้อยละ 27.75 นี่คือสถิติที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งจากการคัดกรองในรอบปี 2566 ที่ผ่านมา จำนวนผู้ป่วยเดิมก็อยู่ในอัตราที่สูงอยู่แล้วและยังพบกลุ่มเสี่ยงเป็นสถิติตัวเลขเช่นนี้จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนต่อการป้องกันและควบคุม ทั้งในกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องควบคุมป้องกันจากภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย และกลุ่มเสี่ยงที่จะต้องป้องกันไม่ให้เป็นโรค จึงจำเป็นที่จะต้องส่งเสริม สนับสนุนให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของกลุ่มเหล่านี้ จากพฤติกรรมที่ไม่เอื้อต่อสุขภาพสู่พฤติกรรมที่เอื้อต่อการดูแลสุขภาพและห่างไกลจากโรคภัยไข้เจ็บโดยเฉพาะมหันตภัยเงียบอย่างโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน             ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ๊ะเก จึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของโครงการนวัตกรรมสลามานามัย แพทย์แผนไทยห่วงใยสุขภาพกายใจผู้สูงอายุ ปี 2567 เพื่อเป็นนวัตกรรมรูปแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังในพื้นที่ และลดการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 กลุ่มเสี่ยงมีความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงมีความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ผลการวัดความรู้อยู่ในระดับสูง ร้อยละ 80

2 กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีพฤติกรรมที่ดีขึ้น

เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีพฤติกรรมที่ดีขึ้น ร้อยละ 60

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มเสี่ยงมีความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ผลการวัดความรู้อยู่ในระดับสูง
    ร้อยละ 80
  2. กลุ่มเสี่ยงที่เข้าร่วมโครงการสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรม มีพฤติกรรมที่ดีขึ้น ร้อยละ 60
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2567 11:51 น.