กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโภชนศาสตร์ในภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการดูแลสุขภาพของคนวัยทำงาน ปี 2567
รหัสโครงการ 67-L68423-2-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.รพ.สต.บ้านเจ๊ะเก
วันที่อนุมัติ 21 มีนาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 28,750.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายสุลัยมาน เจ๊ะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาโงสะโต อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด 6.277,101.691place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)   ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรวัยแรงงาน 38.66 ล้านคน หรือร้อยละ 58.41 ของประชากรทั้งหมด (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2565) ถือได้ว่ายังอยู่ในช่วงของการได้เปรียบทางประชากร คือ มีวัยแรงงานซึ่งเป็นวัยที่มี ความสำคัญต่อการพัฒนาสังคมและการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศชาติในสัดส่วนที่สูงกว่าช่วงวัยอื่น ๆ วัยทำงานจะเป็นวัยที่มีทุนความพร้อมทางด้านร่างกายอันเป็นปัจจัยส่วนบุคคลมากกว่ากลุ่มเด็กและผู้สูงอายุ แต่ก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพมากกว่าช่วงวัยอื่น เช่น ความเสี่ยงจากการทำงาน การมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ตลอดจนความบีบคั้นทางเศรษฐกิจในการเป็นเสาหลักของครอบครัว และแม้ว่าปัจจุบันสัดส่วนของคนวัยทำงานสูงกว่าวัยอื่น ๆ แต่ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้าคนวัยทำงานจะค่อยๆลดลงจากอัตราการเกิดที่ลดลง ขณะที่ประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี พ.ศ. 2565 ประเทศไทยกลายเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ และจากการคาดการณ์ในปี พ.ศ. 2576 ประเทศไทยจะก้าวสู่สังคมสูงอายุในระดับสุดยอด คือ การที่มีผู้สูงอายุ มากกว่าร้อยละ 28 ของประชากรทั้งหมด หรือประชากรผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 (ปราโมทย์ ประสาทกุล, 2565) การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในกลุ่มประชากรวัยแรงงานจึงไม่ใช่เป็นเพียง การสร้างความเข้มแข็งทางสุขภาพซึ่งส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน แต่ยังหมายรวมถึงการสร้าง ฐานความเข้มแข็งทางสุขภาพให้วัยทำงาน เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่การเป็นผู้สูงวัยที่พึ่งตัวเองให้ได้มากที่สุด เป็นภาระต่อสังคมน้อยที่สุด มีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งการส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศในอนาคต โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (non – communicable diseases หรือกลุ่มโรค NCDs) ถูกยกระดับเป็น วาระที่สำคัญระดับโลกและของประเทศไทยที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากขึ้นเนื่องจากเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรรวมทั้งส่งผลกระทบต่อสังคมและเศรษฐกิจ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่สำคัญ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และยังมีโรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง เป็นภัยเงียบ ที่ส่งผลต่อสุขภาพทำให้เกิดการเจ็บป่วย ความพิการ การสูญเสียสุขภาวะ คุณภาพชีวิต และตายก่อนวัยอันควรจำนวนมาก กลุ่มโรคเหล่านี้กำลังเป็นปัญหาทางสาธารณสุขและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังเป็นสาเหตุการป่วยและการตายที่สำคัญ การเกิดโรคมีสาเหตุจากปัจจัยเสี่ยงร่วมหนึ่งปัจจัยหรือ มากกว่า เป็นผลจากการดำเนินชีวิตที่ไม่ถูกต้อง องค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญในการป้องกันควบคุม โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงทางพฤติกรรมร่วมที่สำคัญ 4 ปัจจัยด้วยกัน ได้แก่ 1) การบริโภคยาสูบ 2) การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 3) การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม 4) การมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ ซึ่งอัตราการพบผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังรายใหม่มี แนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยนับเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ อยู่ในภูมิประเทศที่อำนวยความสะดวกให้พืชพรรณธัญญาหารเติบโตได้อย่างดี มีคุณค่าทางโภชนาการ และอาหารเหล่านี้ยังเป็นยาที่ช่วยป้องกันโรคภัยต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อาหารทองถิ่นหรืออาหารพื้นบานเปนภูมิปญญาที่บงบอกลักษณะเฉพาะที่เปนเอกลักษณของทองถิ่น ภูมิปญญาดานอาหารแตละทองถิ่นเกิดจากการเรียนรูสั่งสมประสบการณ ปรับปรุงแกไข ใหเขาสถานการณ และถายทอดสืบตอกันมาจนถึงปจจุบันของคนในแตละทองถิ่น ตลอดจนสามารถ สรางสรรคปรุงแตงใหเปนอาหารที่ไดคุณค่าทางโภชนาการผสมผสานลงตัวระหวางชนิดและปริมาณ ของอาหารทั้งจากอาหารจําพวกพืชและสัตวที่มีอยูในทองถิ่นนั้นๆ จากปัญหาดังกล่าวทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเจ๊ะเก ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของโครงการโภชนศาสตร์ในภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการดูแลสุขภาพของคนวัยทำงาน ประจำปี 2567 เพื่อดำเนินการป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในกลุ่มวัยทำงาน อีกทั้งเพื่อส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มวัยทำงานมีความรู้ในการป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCD)

กลุ่มวัยทำงานมีความรู้ในการป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCD) ร้อยละ 80

2 เพื่อให้กลุ่มวัยทำงานมีความรู้ในการป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCD)

กลุ่มวัยทำงานมีความรู้ในการป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCD) ร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. กลุ่มวัยทำงานมีความรู้ในการดูแลสุขภาพของตนเอง ป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCD) โดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น
  2. ประชาชนเกิดการตระหนักในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2567 12:10 น.