โครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและเด็ก
แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์
รายงานฉบับสมบูรณ์
โครงการ
“ โครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและเด็ก ”
ตำบลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
หัวหน้าโครงการ
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลทุ่งยาว
ได้รับการสนับสนุนโดย กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งยาว
สิงหาคม 2567
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและเด็ก
ที่อยู่ ตำบลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง
รหัสโครงการ 67-L8018-01-03 เลขที่ข้อตกลง 10/2567
ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
กิตติกรรมประกาศ
"โครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและเด็ก จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งยาว ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป
คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและเด็ก
บทคัดย่อ
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
(1) เพื่อให้มารดาได้รับความรู้เรื่องการดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี
(2) เพื่อให้มารดาได้รับความรู้ด้านโภชนาการสำหรับมารดาและเด็ก
(3) เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการตามช่วงวัยของการเจริญเติบโต
ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่
(1) สำรวจข้อมูลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดในเขตเทศบาลตำบลทุ่งยาว
(2) จัดทำโครงการเพื่อขอรับการพิจารณาอนุมัติโครงการ
(3) ดำเนินการตามกิจกรรม กิจกรรม อบรมให้ความรู้แก่มารดา ผลการจัดกิจกรรม รายละเอียด ดังนี้
1. วิทยากรบรรยาย หัวข้อ “ความรู้เรื่องการดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี” โดย นางจริยา สุโสะ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ วิทยากรจากโรงพยาบาลปะเหลียน
การตั้งครรภ์แบ่งออกเป็น 3 ไตรมาส รวมระยะเวลาตั้งครรภ์ทั้งสิ้น 9 เดือน หรือ 40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน
คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 1 (อายุครรภ์ 1 - 3 เดือน) ในช่วงไตรมาสแรก คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ประจำเดือนไม่มาตามกำหนด เหนื่อย เพลีย จนอยากนอนพักมาก ๆ เต้านม ขยายใหญ่ขึ้น คัดเจ็บเต้านม น้ำหนักตัวคงที่ หรือเพิ่ม 1 - 3 กก. (ในรายที่ไม่แพ้ท้อง) และจะมีอาการแพ้ท้อง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เพราะระดับฮอร์โมนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 2 (อายุครรภ์ 4-6 เดือน) ในร่างกายของลูกน้อยจะอยู่ในตำแหน่งเหมาะสมและพร้อมที่จะพัฒนาเติบโตอย่างเต็มที่ต่อไป เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 ขนาดของเด็กในครรภ์จะเติบโตเพิ่มเป็น 3 - 4 เท่า ลักษณะของเด็กทารกจะดูคล้ายคนตัวเล็กมากขึ้น
ผู้หญิงส่วนใหญ่จะรู้สึกสบายกว่าเดิม เพราะอาการอ่อนเพลียคลื่นไส้ในช่วงเริ่มตั้งครรภ์จะลดลงจนเกือบกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ร่างกายปรับตัวได้ดีแต่ยังมีการเปลี่ยนแปลงอีกหลายอย่างที่จะเกิดขึ้นต่อไป
คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 3 (อายุครรภ์ 7-9 เดือน) คุณแม่ใกล้คลอดท้องจะใหญ่มากหายใจลำบาก มีอาการบวม ลุกนั่งลำบากและเหนื่อยง่าย ผู้หญิงท้องแก่แต่ละคนมีลักษณะหน้าท้องไม่เหมือนกัน แตกต่างทั้งขนาดและรูปร่างจึงนำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้ ระยะนี้คุณแม่ควรใส่ใจเรื่องของความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น อาการเป็นตะคริว เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีเลือดออก หรือปัญหาภาวะน้ำคร่ำ ซึ่งจำเป็นต้องให้แพทย์ตรวจครรภ์ก่อนคลอดบ่อยขึ้น
การดูแลตนเองหลังคลอด หลังคลอดบุตรแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างอาจจะดูท่วมท้นไปเสียหมด เป็นเวลาที่คุณแม่จะต้องปรับตัวเข้ากับชีวิตบทใหม่และพักรักษาฟื้นฟูสุขภาพหลังคลอด การดูแลทารกและการที่คุณแม่ดูแลตนเองจึงมีความจําเป็นไม่แพ้กัน เพราะหากแม่มีปัญหาทางด้านสุขภาพกายและใจ ก็จะส่งผลต่อลูกน้อยเป็นอย่างมาก ดังนี้
1. เมื่อกลับไปที่บ้าน จึงควรพยายามนอนพร้อมลูก ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัว
2. ทําเรื่องดูแลลูกให้ง่ายเข้าไว้ในฐานะแม่ แม่จำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจตารางเวลา
3. ล้างมือบ่อย ๆ หลังเข้าห้องน้ำ เปลี่ยนผ้าอ้อม และก่อนให้นมลูก
4. หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรืออะไรที่หนักกว่าลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังผ่าตัดคลอดหลีกเลี่ยงการทำให้แผลตึง (แผลผ่าตัดคลอด) เช่น การขึ้นลงบันไดบ่อย ๆ
5. ปฏิเสธไม่ให้คนมาเยี่ยม แม่อาจปฏิเสธไม่ให้คนมาเยี่ยมได้หากรู้สึกไม่พร้อม
6. พบแพทย์ตามนัดหลังคลอดทุกครั้ง ควรไปพบแพทย์ตามนัดหลังคลอดทุกครั้ง แพทย์จะดูแลฝีเย็บและให้คําปรึกษาเรื่องอาการหลังคลอดได้
7. รับประทานวิตามินบำรุงครรภ์รับประทานวิตามินบำรุงครรภ์ที่แพทย์เคยสั่งให้ต่อไปได้
8. ไม่ใช้ผ้าอนามัยแบบสอดหรือสวนล้างช่องคลอดในช่วง 4-6 สัปดาห์แรก ใช้แผ่นอนามัย แบบแผ่นปกติ
9. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว รับประทานอาหารที่มีประโยชน์หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน
10. ออกกําลังกายเบา ๆ เช่น การเดิน ซึ่งสามารถช่วยให้ฟื้นตัวสร้างความแข็งแรงและได้มีเวลาพักสมองจากเรื่องการดูแลลูก โดยก่อนเริ่มออกกําลังกายใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
11. งดการมีเพศสัมพันธ์ แม่ควรงดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าร่างกายจะฟื้นตัวเต็มที่ ควรรอให้แผลผ่าตัดที่ท้องหรือฝีเย็บหายเป็นปกติเสียก่อน และใช้อุปกรณ์คุมกําเนิดเพื่อป้องกันไม่ให้ตั้งครรภ์ใหม่เร็วจนเกินไป โดยสามารถปรึกษาแพทย์ได้ว่าวิธีการคุมกําเนิดแบบใดที่เหมาะสมที่สุด
การดูแลทารกแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิดมีสองเรื่องด้วยกัน คือการดูแลทางด้านร่างกาย และการดูแลทางด้านจิตใจ การดูแลทางด้านร่างกาย คือ เรื่องโภชนาการอาหาร, การให้ทารกนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ในสถานที่ที่สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก และปลอดภัย, การดูแลระบบขับถ่าย, การดูแลความสะอาด, การดูแลสุขภาพร่างกายให้อบอุ่นแข็งแรง และการดูแลเรื่องระบบทางเดินหายใจสำหรับการดูแลทางด้านจิตใจ คือ การเลี้ยงดูทารกแรกเกิดด้วยความรักและความอบอุ่น ซึ่งจะเป็นการสร้างพื้นฐานทางด้านจิตใจที่ดีให้กับลูกตั้งแต่ยังเล็ก และจะมีผลต่อเนื่องไปจนกระทั่งเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่การดูแลทารกแรกเกิดในเรื่องต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้
1. อาหารสำหรับทารกแรกเกิด องค์การอนามัยโลกแนะนำ “ให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และนมแม่ร่วมกับอาหารเสริมนานจนถึง 2 ปี หรือมากกว่า” เพราะ น้ำนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก และสารอาหารในนมแม่ไม่สามารถทดแทนได้ด้วยนมผสม คุณแม่ควรให้ลูกดูด นมแม่ ทันทีหลังคลอดและให้ดูด 8 - 12 ครั้งต่อวัน ก่อนให้นมคุณแม่ต้องล้างมือทุกครั้ง ส่วนหัวนมทำความสะอาดเวลาเช้าและเย็นขณะอาบน้ำก็เพียงพอแล้ว
2. การอุ้มทารกแรกเกิด มี 3 แบบ ดังนี้
- การอุ้มในท่าปกติ ทำได้โดยคุณแม่อุ้มทารกตะแคงเข้าหาทางหน้าอก ให้ท้ายทอยของทารกอยู่บนข้อพับแขนของคุณแม่ วางทอดแขนไปตามลำตัวของทารก อีกมืออุ้มช้อนส่วนก้นและช่วงขา ลำตัวทารกแนบชิดกับลำตัวของแม่ ให้ศีรษะ คอ และลำตัว อยู่ในแนวเดียวกัน
- การอุ้มเรอ มีสองท่าคือท่าอุ้มพาดบ่า ให้หน้าท้องของทารกกดบริเวณไหล่ของแม่เพื่อไล่ลม และท่าอุ้มนั่งบนตัก โดยให้ทารกหันหน้าออก มือข้างหนึ่งของแม่จับที่หน้าอกของทารก ส่วนมืออีกข้างลูบหลัง ขณะลูบให้โน้มตัวทารกไปข้างหน้าเล็กน้อย เพื่อให้หน้าท้องถูกกดและไล่ลมออก
- การอุ้มปลอบ คล้ายกับการอุ้มเรอ แต่คุณแม่พูดคุยกับทารกไปด้วยเพื่อให้ทารกรู้สึกสงบและปลอดภัย
3. การอาบน้ำทารกแรกเกิด ต้องระวังในเรื่องของสถานที่และเวลาในการอาบ ควรอาบในบริเวณที่ไม่มีลมโกรก อาบวันละสองครั้งและสระผมวันละครั้ง (หรือตามสภาพอากาศ) ในช่วงสาย ๆ หรือบ่าย ๆ ขณะที่มีอากาศอบอุ่น ควรอาบประมาณ 5 - 7 นาทีก็เพียงพอแล้ว
4. การดูแลสุขภาพช่องปากของทารกแรกเกิด ทำได้โดย ใช้นิ้วพันผ้านุ่ม ๆ ชุบน้ำต้มสุกที่สะอาดเช็ดให้ทั่วภายในช่องปาก บริเวณลิ้น เหงือก เพดานปาก และกระพุ้งแก้ม เพื่อไม่ให้มีคราบน้ำนมติดอยู่ทำความสะอาดวันละสองครั้ง เช้าและเย็นหลังให้นมแม่
5. การให้ภูมิคุ้มกันโรค (วัคซีน) สำหรับทารกแรกเกิด ทารกแรกเกิดทุกรายจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค (บีซีจี) และตับอักเสบ บี จากโรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยใกล้บ้าน โดยจะบันทึกไว้ในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กและจะนัดให้มารับวัคซีนครั้งต่อไป
คุณพ่อคุณแม่ต้องพาลูกมารับวัคซีนตามนัด หลังจากฉีดวัคซีนควรดูแลแผลทุกครั้ง
2. วิทยากรบรรยาย หัวข้อ “พัฒนาการของเด็กตามช่วงวัยของการเจริญเติบโต” โดย นางสาวมัสชุพรรณวจี ทวยเดช ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ วิทยากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งยาว
พัฒนาการ คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะในร่างกาย และตัวบุคคล ทำให้สามารถทำสิ่งที่ยากและซับซ้อนขึ้นได้ โดยมีการเพิ่มทักษะใหม่ ๆ และความสามารถในการปรับตัว เพื่อให้บุคคลนั้น สามารถใช้ชีวิตประจำวันอยู่ได้
ซึ่งพัฒนาการของเด็ก จะประกอบไปด้วย
1. พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว
2. พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา
3. พัฒนาการด้านการเข้าใจและการใช้ภาษา
4. พัฒนาการด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม
เด็กแรกเกิด ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 1 เดือนแรก เป็นช่วงเวลาของการเรียนรู้พ่อแม่และลูกน้อย เด็กในวัยนี้จะมีแค่การกิน นอน ร้อง ถ่าย การเคลื่อนไหวของเด็กวัยนี้จะเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ โดยอัตโนมัติ เช่น สะดุ้งเมื่อได้ยินเสียงดัง ขยับศีรษะเมื่อมีคนลูบแก้ม เป็นต้น
เด็กทารก เด็กที่มีอายุระหว่าง 1 - 12 เดือน จะเริ่มแสดงออกถึงพัฒนาการใหม่ ๆ
- เมื่อเด็กมีอายุ 3 - 6 เดือน เด็กจะสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของศีรษะ ตั้งศีรษะนิ่งคอไม่อ่อนพับไปมา (sit with head steady) พลิกคว่ำ หงายได้ จดจำใบหน้าของพ่อ แม่และคนใกล้ชิดได้
- เด็กจะเริ่มพูดอ้อแอ้เมื่อมีอายุ 6 - 9 เดือนและรับรู้ชื่อของตัวเองและคำง่าย ๆ ที่พ่อแม่ใช้บ่อย ๆ
- เมื่ออายุ 7 - 12 เดือน เด็กจะเริ่มพัฒนาทักษะทางด้านร่างกายโดยสามารถคลาน เกาะยืน เดินได้เอง หยิบสิ่งของด้วยนิ้วโป้งและนิ้วชี้ได้
เด็กวัยเตาะแตะ ช่วงอายุ 1 - 3 ขวบ เป็นช่วงอายุที่เด็กเริ่มเป็นตัวของตัวเอง ไม่ชอบให้ใครมาบังคับ เป็นวัยที่มีพัฒนาการทางด้านร่างกายสมองและอารมณ์อย่างรวดเร็ว เด็กจะมีพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดใหญ่โดยสามารถปีนป่าย โยนรับลูกบอลได้ กระโดดอยู่กับที่
และนอกจากนี้ในช่วง 2 - 3 ขวบ เด็กจะมีพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก สามารถใช้นิ้วและแขนได้ดีขึ้น เช่น ใช้ช้อนส้อมกินอาหารด้วยตัวเอง สามารถขีดเขียนแบบง่าย ๆ สมองเด็กเติบโตมากขึ้น สามารถเรียนรู้เรื่องซับซ้อนได้มากขึ้น ปฏิบัติตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ ช่วงนี้จึงเป็นช่วงระยะเวลาที่สำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นวัยที่สมองของเด็กพัฒนาได้มากที่สุดและรวดเร็วที่สุดกว่าช่วงอื่น ๆ ในชีวิต คุณพ่อ คุณแม่จึงควรกระตุ้นให้ลูกสำรวจสิ่งใหม่ ๆ และให้ลูกมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเพื่อสร้างความมั่นใจในตัวเองให้แก่ลูก
3. วิทยากรบรรยาย หัวข้อ “ความรู้ด้านโภชนาการสำหรับมารดาและเด็ก”
โดย นางสาวมัสชุพรรณวจี ทวยเดช ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการวิทยากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งยาว
โภชนาการสำหรับมารดา
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 1
1. อาหาร ทานอาหารตามปกติเหมือนก่อนตั้งครรภ์เท่าที่ทานได้ ในรายที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ควรเป็นอาหารอ่อน ย่อยง่าย หรือเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำหวาน และควรทานครั้งละน้อย ๆ วันละ 4 - 6 มื้อ แต่พออิ่ม ไม่ควรบังคับกำหนดปริมาณในการทาน ซึ่งเป็นการเพิ่มความเครียดให้กับตัวเอง หลักการสำคัญคือ ให้ร่างกายได้รับสารอาหารเพียงพอ
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2
1. อาหาร ในระยะนี้อาการแพ้ท้องมักหายไป เริ่มทานอาหารได้ตามปกติ ควรทานให้ครบ 5 หมู่ อาจมีอาหารทุกประเภทใน 1 มื้อ หรือประเภทใดประเภทหนึ่งสลับกับมื้ออื่น แต่เมื่อรวม 5 - 6 มื้อในแต่ละวัน ต้องรับประทานให้ได้ครบทุกประเภท ไม่ควรรับอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมันมากเกินไป เพราะในช่วงตั้งครรภ์ร่างกายไม่ต้องการอาหารประเภทแป้ง และน้ำตาลเพิ่ม แต่ต้องการเฉพาะโปรตีนเพิ่มขึ้น
2. เน้นผัก ผลไม้ อาหารที่มีกากใยสูง ดื่นน้ำวันละ 6 - 8 แก้ว เพื่อป้องกันอาการท้องผูก
3. ธาตุเหล็ก มีในไข่แดง ตับ ผักใบเขียว ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดงให้มีมากพอที่จะลำเลียงออกซิเจนจากเลือดแม่ไปสู่ลูก
4. ทานแคลเซียม ซึ่งช่วยในการสร้างกระดูกและฟันของลูก และช่วยป้องกันไม่ให้แม่กระดูกพรุน โดยแคลเซียมสามารถทานได้จาก นม ปลาเล็ก ปลาน้อย หรือผักใบเขียวที่แข็ง
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 3
1. อาหาร ควรเพิ่มอาหารประเภทโปรตีน เช่นเดียวกับไตรมาสที่ 2 เช่น เนื้อสัตว์ เนื้อปลา ผักใบเขียวชนิดต่างๆ และอาหารที่มีแคลเซียม เช่น ปลาตัวเล็กทานทั้งก้างได้ หรือนม
2. การฝากครรภ์ การนัดตรวจครรภ์จะบ่อยขึ้น ในไตรมาสนี้จะมีการตรวจปัสสาวะ เพื่อดูน้ำตาลและโปรตีนเช็คความดันโลหิต ติดตามอาการบวม เพื่อตรวจหาว่ามีภาวะครรภ์เป็นพิษหรือไม่
3. การดูแลเต้านม ในระยะ 2 - 3 เดือนก่อนคลอด ร่างกายจะขับสารจำพวกไขมันมาคลุมบริเวณหัวนม และลานนม ดังนั้นการอาบน้ำชำระร่างกาย ไม่ควรฟอกสบู่บริเวณหัวนมมากนัก เพราะจะชะล้างไขมันบริเวณนั้นออกไปหมด ทำให้หัวนมแห้ง และแตกง่าย
โภชนาการสำหรับเด็ก ช่วง 6 เดือนแรก อาหารที่ดีที่สุดของทารกนั้นคือ “นมแม่” เพราะมีสารอาหารมากมายเช่น DHA ช่วยบำรุงสมองและสายตา เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสเกิดโรคภูมิแพ้ เพราะในนมถั่วเหลือง (โคลอสตรัม) มีภูมิคุ้มกันสูงกว่านมวัว 3,000 เท่า
มีสารช่วยย่อย และช่วยเร่งการเจริญเติบโต
อาหารสำหรับเด็กทารก 6 เดือน ได้แก่ ตับ เนื้อสัตว์ ปลาช่อน ปลาน้ำจืด ผักใบเขียว หรือข้าวกล้องบด มันฝรั่งและไข่แดงบด น้ำซุปผัก ไข่ตุ๋น+ผักนิ่ม ๆ ผลไม้สุกจัดนิ่ม ๆ เช่นมะละกอบด, มะม่วงสุกบด, กล้วยน้ำหว้าบด, น้ำส้มคั้นสดไม่มีเมล็ด ไม่ควรปรุงรสใด ๆ เป็นรสหวานธรรมชาติ ไข่แดงควรมีทุกมื้ออาหาร นำไข่แดงที่ต้มสุกแล้วมาบี้ใส่ในข้าวตุ๋น ถ้าคุณแม่กลัวลูกแพ้ไข่ขาวเริ่มให้รับประทานไข่ขาวเมื่ออายุครบ 1 ขวบก็ได้ อาหารค่อย ๆเพิ่มขึ้นทีละน้อย สังเกตการรับประทานอาหารของทารก ว่าสิ่งไหนชอบสิ่งไหนไม่ชอบ
อาหารสำหรับเด็ก 7 เดือน เน้นวัตถุดิบที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวบด ผักต้มนิ่ม ๆ 2 - 4 อย่าง บดรวมกัน กระตุ้นให้เด็กดื่มน้ำบ่อย ๆ จะได้ถ่ายอุจจาระได้ง่ายขึ้น
อาหารสำหรับเด็ก 6 - 9 เดือน บางคนมีฟันน้ำนมขึ้นหนึ่งหรือมากกว่านั้น ฟันจะช่วยให้ลูกเคี้ยว และเพลิดเพลินกับอาหารที่มีเนื้อสัมผัสหยาบขึ้น มีการพัฒนาการหยิบจับของ เช่น หยิบอาหารกินเอง
อาหารสำหรับเด็ก 8 - 9 เดือน อาหารจำพวกแป้งที่เป็นมื้อเล็ก ๆ วันละ 2 มื้อ เช่น ข้าวสวยนิ่ม ขนมปังแผ่น มันฝรั่ง พืชผัก ผลไม้ คละสีสัน มีความหยาบ ละเอียด มีกลิ่นรสหลากหลาย เช่น ผัก ผลไม้ถือรับประทานเองได้ เช่น แตงกวา แครอทต้ม อาหารโปรตีนสูงแต่นุ่มบดง่าย ได้แก่ ไข่แดง ตับไก่ เต้าหู้อ่อน หรือปลา หมุนเวียนกันไป ปริมาณอาหารที่เหมาะสมใน 1 มื้อ ของเด็กคือ ข้าวสวย 5 ช้อน เนื้อสัตว์ ไข่ 2 ช้อน ผักนิ่ม ๆ 2 ช้อน ผลไม้ 3 ชิ้นพอดีคำ น้ำมันพืช 1 ช้อนชา
อาหารสำหรับเด็กวัย 10 - 12 เดือน เด็กสามารถกินอาหารหยาบได้ อาหารควรเปลี่ยน จากบดหรือสับ มาเป็นหั่นชิ้นเล็กแทน เช่น มักกะโรนีต้ม ข้าวต้ม หรือเนื้อปลาสับหยาบ กินอาหาร 3 มื้อ
โภชนาการเด็ก 1 - 3 ปี เด็กช่วงนี้กำลังหัดเดิน ถือเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากวัยทารกสู่วัยเด็กเล็ก ลูกจะสนุกกับการเดินรอบ ๆ ค้นหารสิ่งใหม่ ๆ การจัดอาหาร ต้องอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ วันละ 4 - 6 มื้อ (รวมมื้อว่าง) เน้นโปรตีน เพราะมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายและได้รับพลังงานที่เพียงพอ วันละ 1,000 Kcal./วัน รวมให้นมแม่ด้วย พลังงานส่วนใหญ่มาจากข้าวแป้ง-ธัญพืช น้ำตาล ไขมัน และเนื้อสัตว์
- หมวดข้าวแป้ง รับประทานมื้อละ 1 ทัพพี เน้นข้าวกล้อง หรือ ข้าวซ้อมมื้อ เพราะมีแร่ธาตุ และวิตามินใยอาหารมากกว่าข้าวขาวปกติ
- หมวดเนื้อสัตว์ ควรรับประทานเป็น ไข่ นม เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น เนื้อหมู ปลา ไก่ ถั่วต้มเปื่อย หรือเต้าหู้ โปรตีนช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และการเจริญเติบโต ควรได้รับ 1.4 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และควรได้รับธาตุเหล็กที่เพียงพอ เด็กควรได้กินไข่ 1 ฟองทุกวัน และดื่มนมทุกวัน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะโลหิตจาง
- หมวดไขมัน ไขมันนอกจากให้พลังงานแล้วยังช่วยในการดูดซึมวิตามินบางชนิด เช่น วิตามิน A D E K เด็กได้รับน้ำมันชนิดดีต่อสุขภาพ 3 ช้อนชาต่อวัน
- หมวดผัก ผักอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร ควรให้เด็กรับประทานผักหลากสีสันควรรับประทานผักมื้อละครึ่งทัพพี เป็นผักสีเข้ม เช่น เขียวเข้ม ส้มเข้ม แดงเข้ม เหลืองเข้ม เพื่อส่งเสริมให้เด็ก มีพัฒนาการรอบด้าน สมวัย
- หมวดผลไม้ มีวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร ควรรับประทานผลไม้สด มากกว่าผลไม้แปรรูปหรือน้ำผลไม้เพราะบางครั้งมีรสหวานมากเกินไป เฉลี่ย 1 วัน เด็กควรได้รับประทานผลไม้ 3 ส่วน
- หมวดนม ควรส่งเสริมให้เด็กดื่มนมทุกวัน เพื่อให้ได้รับแคลเซียมเพียงพอ เสริมสร้างมวลกระดูก เด็กควรดื่มนมจืดวันละ 2 - 3 แก้ว
(4) ประเมินผลการดำเนินงาน
1. ร้อยละ 80 มารดาได้รับความรู้เรื่องการดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี
2. ร้อยละ 80 เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเหมาะสมตามวัย
(5) สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
1. มารดาที่เข้าร่วมการอบรมตามโครงการฯได้รับความรู้เรื่องการดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี ร้อยละ 80
2. ในหญิงหลังคลอด พบว่าเด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเหมาะสมตามวัย ร้อยละ 100
หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"
สารบัญ
กิตติกรรมประกาศ »
บทคัดย่อ »
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล »
วัตถุประสงค์โครงการ »
กิจกรรม/การดำเนินงาน »
กลุ่มเป้าหมาย »
ผลลัพธ์ที่ได้ »
การประเมินผล »
ปัญหาและอุปสรรค »
ข้อเสนอแนะ »
เอกสารประกอบอื่นๆ »
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล
เด็ก คือ อนาคตที่สำคัญของประเทศที่ต้องได้รับการพัฒนาให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นช่วงเวลาทองของเด็กที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาสมอง คือ ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนถึงอายุ 2 ปี เพราะโครงสร้างสมองจะมีการพัฒนาสูงสุดทั้งการสร้างเซลล์สมองและการเชื่อมโยงระหว่างเซลล์สมอง เกิดเป็นโครงข่ายใยประสาทนับล้าน และการที่เซลล์สมองมีการเชื่อมต่อกันทำให้เกิดการสื่อสารระหว่างเซลล์อย่าง มีประสิทธิภาพมีผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็ก ส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพชีวิตที่ดี นอกจากนี้การเตรียมความพร้อมของสตรีก่อนตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์ และหลังคลอดนับเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพราะยังเป็นตัวกำหนดสุขภาพและโรคในอนาคตได้อีกด้วย เพราะในระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี ต้องให้ความสำคัญกับโภชนาการที่ดีตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิต คือ ช่วงที่อยู่ในท้องแม่ ช่วงเด็กอายุ 0 - 6 เดือน ช่วงเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี แม่ควรกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ให้หลากหลายครบ 5 หมู่ เช่น ปลา ตับ ไข่ ผัก ผลไม้ และนมสดรสจืด และกินวิตามินบำรุง ที่มีไอโอดีน เหล็ก และโฟลิกทุกวัน เพราะหากขาดไอโอดีนลูกน้อยสมองพัฒนาไม่สมบูรณ์ไอคิวต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ดูแลฟัน ออกกำลังกาย นอนหลับวันละ 7 - 9 ชั่วโมงทุกวัน หลังจากนั้นจะต้องเลี้ยงดูและพัฒนาทักษะของเด็ก โดยกระบวนการกระตุ้นผ่านกิจวัตรประจำวัน ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลทุ่งยาว ได้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำ “โครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและเด็ก” ขึ้น เพื่อให้ลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในหญิงตั้งครรภ์และให้ทารกที่คลอดมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัยเติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพต่อไป
สถานการณ์
วัตถุประสงค์โครงการ
- เพื่อให้มารดาได้รับความรู้เรื่องการดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี
- เพื่อให้มารดาได้รับความรู้ด้านโภชนาการสำหรับมารดาและเด็ก
- เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการตามช่วงวัยของการเจริญเติบโต
กิจกรรม/การดำเนินงาน
- สำรวจข้อมูลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดในเขตเทศบาลตำบลทุ่งยาว
- จัดทำโครงการเพื่อขอรับการพิจารณาอนุมัติโครงการ
- ดำเนินการตามกิจกรรม
- ประเมินผลการดำเนินงาน
- สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
- สำรวจข้อมูลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดในเขตเทศบาลตำบลทุ่งยาว
- จัดทำโครงการเพื่อขอรับการพิจารณาอนุมัติโครงการ
- กิจกรรม อบรมให้ความรู้แก่มารดา
- ประเมินผลการดำเนินงาน
- สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
10
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- มารดาได้รับความรู้เรื่องการดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี ร้อยละ 80
- เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเหมาะสมตามวัย ร้อยละ 80
ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ ผลผลิต* ผลผลิตที่ตั้งไว้ ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง
1. กิจกรรม อบรมให้ความรู้แก่มารดา
วันที่ 1 สิงหาคม 2567 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
โครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและเด็ก กิจกรรม อบรมให้ความรู้แก่มารดา วันที่ 1 สิงหาคม 2567 เวลา 08.30 น. – 16.30 น.ณ ห้องประชุมสภาเทศบาลตำบลทุ่งยาว
เวลา 08.30 น. – 08.45 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและเด็ก
เวลา 08.45 น. – 09.00 น. พิธีเปิด โดย นายเฉลิมพล ชัยเกษตรสิน นายกเทศมนตรีตำบลทุ่งยาว
เวลา 09.00 น. – 10.00 น. วิทยากรบรรยาย หัวข้อ “ความรู้เรื่องการดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี”
เวลา 10.00 น. – 10.10 น. พักรับประทานอาหารว่าง
เวลา 10.10 น. – 12.00 น. วิทยากรบรรยาย หัวข้อ “ความรู้เรื่องการดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี” (ต่อ)
เวลา 12.00 น. – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00 น. – 14.00 น. วิทยากรบรรยาย หัวข้อ “พัฒนาการของเด็กตามช่วงวัยของการเจริญเติบโต”
เวลา 14.00 น. – 14.10 น. พักรับประทานอาหารว่าง
เวลา 14.10 น. – 16.00 น. วิทยากรบรรยาย หัวข้อ “ความรู้ด้านโภชนาการสำหรับมารดาและเด็ก”
เวลา 16.00 น. – 16.30 น. ซักถามข้อสงสัย/ปิดอบรม
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- มารดาได้รับความรู้เรื่องการดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี ร้อยละ 80
- ในมารดาหลังคลอดพบว่า เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเหมาะสมตามวัย ร้อยละ 80
10
0
2. สำรวจข้อมูลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดในเขตเทศบาลตำบลทุ่งยาว
วันที่ 5 สิงหาคม 2567 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
สำรวจข้อมูลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด (เด็กอายุ 0-2 ปี) ในเขตเทศบาลตำบลทุ่งยาว เป้าหมาย 10 คน
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
สำรวจกลุ่มเป้าหมายที่สนใจเข้าร่วมอบรมโครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและเด็กได้จำนวน 8 คน
10
0
3. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
วันที่ 5 สิงหาคม 2567 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
รายละเอียดตามเอกสารสรุปโครงการฯที่แนบ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
กิจกรรม อบรมให้ความรู้แก่มารดา ในวันที่ 1 สิงหาคม 2567 เวลา 08.30 น. – 16.30 น. ณ ห้องประชุมสภาเทศบาลตำบลทุ่งยาว ผลการจัดกิจกรรม รายละเอียด ดังนี้
1. วิทยากรบรรยาย หัวข้อ “ความรู้เรื่องการดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี” โดย นางจริยา สุโสะ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ วิทยากรจากโรงพยาบาลปะเหลียน
การตั้งครรภ์แบ่งออกเป็น 3 ไตรมาส รวมระยะเวลาตั้งครรภ์ทั้งสิ้น 9 เดือน หรือ 40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน
คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 1 (อายุครรภ์ 1 - 3 เดือน) ในช่วงไตรมาสแรก คุณแม่ตั้งครรภ์ จะมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ประจำเดือนไม่มาตามกำหนด เหนื่อย เพลีย จนอยากนอนพักมาก ๆ เต้านมขยายใหญ่ขึ้น คัดเจ็บเต้านม น้ำหนักตัวคงที่ หรือเพิ่ม 1 - 3 กก. (ในรายที่ไม่แพ้ท้อง) และจะมีอาการแพ้ท้อง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เพราะระดับฮอร์โมนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 2 (อายุครรภ์ 4-6 เดือน) ในร่างกายของลูกน้อยจะอยู่ในตำแหน่งเหมาะสมและพร้อมที่จะพัฒนาเติบโตอย่างเต็มที่ต่อไป เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 ขนาดของเด็กในครรภ์จะเติบโตเพิ่มเป็น 3 - 4 เท่า ลักษณะของเด็กทารกจะดูคล้ายคนตัวเล็กมากขึ้น ผู้หญิงส่วนใหญ่จะรู้สึกสบายกว่าเดิม เพราะอาการอ่อนเพลียคลื่นไส้ในช่วงเริ่มตั้งครรภ์จะลดลงจนเกือบกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ร่างกายปรับตัวได้ดี แต่ยังมีการเปลี่ยนแปลงอีกหลายอย่างที่จะเกิดขึ้นต่อไป
คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 3 (อายุครรภ์ 7-9 เดือน) คุณแม่ใกล้คลอดท้องจะใหญ่มากหายใจลำบาก มีอาการบวม ลุกนั่งลำบากและเหนื่อยง่าย ผู้หญิงท้องแก่แต่ละคนมีลักษณะหน้าท้อง ไม่เหมือนกัน แตกต่างทั้งขนาดและรูปร่างจึงนำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้ ระยะนี้คุณแม่ควรใส่ใจเรื่องของความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น อาการเป็นตะคริว เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีเลือดออก หรือปัญหาภาวะน้ำคร่ำ ซึ่งจำเป็นต้องให้แพทย์ตรวจครรภ์ก่อนคลอดบ่อยขึ้น
การดูแลตนเองหลังคลอด หลังคลอดบุตรแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างอาจจะดูท่วมท้นไปเสียหมดเป็นเวลาที่คุณแม่จะต้องปรับตัวเข้ากับชีวิตบทใหม่และพักรักษาฟื้นฟูสุขภาพหลังคลอด การดูแลทารกและการที่คุณแม่ดูแลตนเองจึงมีความจําเป็นไม่แพ้กัน เพราะหากแม่มีปัญหาทางด้านสุขภาพกายและใจก็จะส่งผลต่อลูกน้อยเป็นอย่างมาก ดังนี้
1. เมื่อกลับไปที่บ้าน จึงควรพยายามนอนพร้อมลูก ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัว
2. ทําเรื่องดูแลลูกให้ง่ายเข้าไว้ในฐานะแม่ แม่จำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจตารางเวลา
3. ล้างมือบ่อย ๆ หลังเข้าห้องน้ำ เปลี่ยนผ้าอ้อม และก่อนให้นมลูก
4. หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรืออะไรที่หนักกว่าลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังผ่าตัดคลอดหลีกเลี่ยงการทำให้แผลตึง (แผลผ่าตัดคลอด) เช่น การขึ้นลงบันไดบ่อย ๆ
5. ปฏิเสธไม่ให้คนมาเยี่ยม แม่อาจปฏิเสธไม่ให้คนมาเยี่ยมได้หากรู้สึกไม่พร้อม
6. พบแพทย์ตามนัดหลังคลอดทุกครั้ง ควรไปพบแพทย์ตามนัดหลังคลอดทุกครั้ง แพทย์จะดูแลฝีเย็บและให้คําปรึกษาเรื่องอาการหลังคลอดได้
7. รับประทานวิตามินบำรุงครรภ์รับประทานวิตามินบำรุงครรภ์ที่แพทย์เคยสั่งให้ต่อไปได้
8. ไม่ใช้ผ้าอนามัยแบบสอดหรือสวนล้างช่องคลอดในช่วง 4-6 สัปดาห์แรก ใช้แผ่นอนามัยแบบแผ่นปกติ
9. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว รับประทานอาหารที่มีประโยชน์หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน
10. ออกกําลังกายเบา ๆ เช่น การเดิน ซึ่งสามารถช่วยให้ฟื้นตัวสร้างความแข็งแรงและได้มีเวลาพักสมองจากเรื่องการดูแลลูก โดยก่อนเริ่มออกกําลังกายใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
11. งดการมีเพศสัมพันธ์ แม่ควรงดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าร่างกายจะฟื้นตัวเต็มที่ ควรรอให้แผลผ่าตัดที่ท้องหรือฝีเย็บหายเป็นปกติเสียก่อน และใช้อุปกรณ์คุมกําเนิดเพื่อป้องกันไม่ให้ตั้งครรภ์ใหม่เร็วจนเกินไป โดยสามารถปรึกษาแพทย์ได้ว่าวิธีการคุมกําเนิดแบบใดที่เหมาะสมที่สุด
การดูแลทารกแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิดมีสองเรื่องด้วยกัน คือการดูแลทางด้านร่างกายและการดูแลทางด้านจิตใจ การดูแลทางด้านร่างกาย คือ เรื่องโภชนาการอาหาร, การให้ทารกนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ในสถานที่ที่สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก และปลอดภัย, การดูแลระบบขับถ่าย, การดูแลความสะอาด, การดูแลสุขภาพร่างกายให้อบอุ่นแข็งแรง และการดูแลเรื่องระบบทางเดินหายใจสำหรับการดูแลทางด้านจิตใจ คือ การเลี้ยงดูทารกแรกเกิดด้วยความรักและความอบอุ่น ซึ่งจะเป็นการสร้างพื้นฐานทางด้านจิตใจที่ดีให้กับลูกตั้งแต่ยังเล็ก และจะมีผลต่อเนื่องไปจนกระทั่งเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ การดูแลทารกแรกเกิดในเรื่องต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้
1. อาหารสำหรับทารกแรกเกิด องค์การอนามัยโลกแนะนำ “ให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และนมแม่ร่วมกับอาหารเสริมนานจนถึง 2 ปี หรือมากกว่า” เพราะ น้ำนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก และสารอาหารในนมแม่ไม่สามารถทดแทนได้ด้วยนมผสม คุณแม่ควรให้ลูกดูด นมแม่ ทันทีหลังคลอดและให้ดูด 8 - 12 ครั้งต่อวัน ก่อนให้นมคุณแม่ต้องล้างมือทุกครั้ง ส่วนหัวนมทำความสะอาดเวลาเช้าและเย็นขณะอาบน้ำก็เพียงพอแล้ว
2. การอุ้มทารกแรกเกิด มี 3 แบบ ดังนี้
- การอุ้มในท่าปกติ ทำได้โดยคุณแม่อุ้มทารกตะแคงเข้าหาทางหน้าอก ให้ท้ายทอยของทารกอยู่บนข้อพับแขนของคุณแม่ วางทอดแขนไปตามลำตัวของทารก อีกมืออุ้มช้อนส่วนก้นและช่วงขา ลำตัวทารกแนบชิดกับลำตัวของแม่ ให้ศีรษะ คอ และลำตัว อยู่ในแนวเดียวกัน<br />
- การอุ้มเรอ มีสองท่าคือท่าอุ้มพาดบ่า ให้หน้าท้องของทารกกดบริเวณไหล่ของแม่เพื่อไล่ลม และท่าอุ้มนั่งบนตัก โดยให้ทารกหันหน้าออก มือข้างหนึ่งของแม่จับที่หน้าอกของทารก ส่วนมืออีกข้างลูบหลัง ขณะลูบให้โน้มตัวทารกไปข้างหน้าเล็กน้อย เพื่อให้หน้าท้องถูกกดและไล่ลมออก<br />
- การอุ้มปลอบ คล้ายกับการอุ้มเรอ แต่คุณแม่พูดคุยกับทารกไปด้วยเพื่อให้ทารกรู้สึกสงบและปลอดภัย
3. การอาบน้ำทารกแรกเกิด ต้องระวังในเรื่องของสถานที่และเวลาในการอาบ ควรอาบในบริเวณที่ไม่มีลมโกรก อาบวันละสองครั้งและสระผมวันละครั้ง (หรือตามสภาพอากาศ) ในช่วงสาย ๆ หรือบ่าย ๆ ขณะที่มีอากาศอบอุ่น ควรอาบประมาณ 5 - 7 นาทีก็เพียงพอแล้ว<br />
4. การดูแลสุขภาพช่องปากของทารกแรกเกิด ทำได้โดย ใช้นิ้วพันผ้านุ่ม ๆ ชุบน้ำต้มสุกที่สะอาดเช็ดให้ทั่วภายในช่องปาก บริเวณลิ้น เหงือก เพดานปาก และกระพุ้งแก้ม เพื่อไม่ให้มีคราบน้ำนมติดอยู่ทำความสะอาดวันละสองครั้ง เช้าและเย็นหลังให้นมแม่<br />
5. การให้ภูมิคุ้มกันโรค (วัคซีน) สำหรับทารกแรกเกิด ทารกแรกเกิดทุกรายจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค (บีซีจี) และตับอักเสบ บี จากโรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยใกล้บ้าน โดยจะบันทึกไว้ในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กและจะนัดให้มารับวัคซีนครั้งต่อไป คุณพ่อคุณแม่ต้องพาลูกมารับวัคซีนตามนัด หลังจากฉีดวัคซีนควรดูแลแผลทุกครั้ง<br />
วิทยากรบรรยาย หัวข้อ “พัฒนาการของเด็กตามช่วงวัยของการเจริญเติบโต”
โดย นางสาวมัสชุพรรณวจี ทวยเดช ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ วิทยากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งยาว
พัฒนาการ คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะในร่างกาย และตัวบุคคล ทำให้สามารถทำสิ่งที่ยากและซับซ้อนขึ้นได้ โดยมีการเพิ่มทักษะใหม่ ๆ และความสามารถ ในการปรับตัว เพื่อให้บุคคลนั้น สามารถใช้ชีวิตประจำวันอยู่ได้ ซึ่งพัฒนาการของเด็ก จะประกอบไปด้วย
1. พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว
2. พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา
3. พัฒนาการด้านการเข้าใจและการใช้ภาษา
4. พัฒนาการด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม
เด็กแรกเกิด ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 1 เดือนแรก เป็นช่วงเวลาของการเรียนรู้พ่อแม่ และลูกน้อย เด็กในวัยนี้จะมีแค่การกิน นอน ร้อง ถ่าย การเคลื่อนไหวของเด็กวัยนี้จะเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ โดยอัตโนมัติ เช่น สะดุ้งเมื่อได้ยินเสียงดัง ขยับศีรษะเมื่อมีคนลูบแก้ม เป็นต้น
เด็กทารก เด็กที่มีอายุระหว่าง 1 - 12 เดือน จะเริ่มแสดงออกถึงพัฒนาการใหม่ ๆ
- เมื่อเด็กมีอายุ 3 - 6 เดือน เด็กจะสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของศีรษะ ตั้งศีรษะนิ่งคอไม่อ่อนพับไปมา (sit with head steady) พลิกคว่ำ หงายได้ จดจำใบหน้าของพ่อ แม่และคนใกล้ชิดได้
- เด็กจะเริ่มพูดอ้อแอ้เมื่อมีอายุ 6 - 9 เดือนและรับรู้ชื่อของตัวเองและคำง่าย ๆ ที่พ่อแม่ใช้บ่อย ๆ
- เมื่ออายุ 7 - 12 เดือน เด็กจะเริ่มพัฒนาทักษะทางด้านร่างกายโดยสามารถคลาน เกาะยืน เดินได้เอง หยิบสิ่งของด้วยนิ้วโป้งและนิ้วชี้ได้
เด็กวัยเตาะแตะ ช่วงอายุ 1 - 3 ขวบ เป็นช่วงอายุที่เด็กเริ่มเป็นตัวของตัวเอง ไม่ชอบให้ใครมาบังคับ เป็นวัยที่มีพัฒนาการทางด้านร่างกายสมองและอารมณ์อย่างรวดเร็ว เด็กจะมีพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดใหญ่โดยสามารถปีนป่าย โยนรับลูกบอลได้ กระโดดอยู่กับที่ และนอกจากนี้ในช่วง 2 - 3 ขวบ เด็กจะมีพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก สามารถใช้นิ้วและแขนได้ดีขึ้น เช่น ใช้ช้อนส้อมกินอาหารด้วยตัวเอง สามารถขีดเขียนแบบง่าย ๆ สมองเด็กเติบโตมากขึ้น สามารถเรียนรู้เรื่องซับซ้อนได้มากขึ้น ปฏิบัติตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ ช่วงนี้จึงเป็นช่วงระยะเวลาที่สำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นวัยที่สมองของเด็กพัฒนาได้มากที่สุดและรวดเร็วที่สุดกว่าช่วงอื่น ๆ ในชีวิต คุณพ่อ คุณแม่จึงควรกระตุ้นให้ลูกสำรวจสิ่งใหม่ ๆ และให้ลูกมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเพื่อสร้างความมั่นใจในตัวเองให้แก่ลูก
วิทยากรบรรยาย หัวข้อ “ความรู้ด้านโภชนาการสำหรับมารดาและเด็ก”
โดย นางสาวมัสชุพรรณวจี ทวยเดช ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการวิทยากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งยาว
โภชนาการสำหรับมารดา
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 1
1. อาหาร ทานอาหารตามปกติเหมือนก่อนตั้งครรภ์เท่าที่ทานได้ ในรายที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ควรเป็นอาหารอ่อน ย่อยง่าย หรือเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำหวาน และควรทานครั้งละน้อย ๆ วันละ 4 - 6 มื้อ แต่พออิ่ม ไม่ควรบังคับกำหนดปริมาณในการทาน ซึ่งเป็นการเพิ่มความเครียดให้กับตัวเอง หลักการสำคัญคือ ให้ร่างกายได้รับสารอาหารเพียงพอ
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2
1. อาหาร ในระยะนี้อาการแพ้ท้องมักหายไป เริ่มทานอาหารได้ตามปกติ ควรทานให้ครบ 5 หมู่ อาจมีอาหารทุกประเภทใน 1 มื้อ หรือประเภทใดประเภทหนึ่งสลับกับมื้ออื่น แต่เมื่อรวม 5 - 6 มื้อในแต่ละวัน ต้องรับประทานให้ได้ครบทุกประเภท ไม่ควรรับอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมันมากเกินไป เพราะในช่วงตั้งครรภ์ร่างกายไม่ต้องการอาหารประเภทแป้ง และน้ำตาลเพิ่ม แต่ต้องการเฉพาะโปรตีนเพิ่มขึ้น
2. เน้นผัก ผลไม้ อาหารที่มีกากใยสูง ดื่นน้ำวันละ 6 - 8 แก้ว เพื่อป้องกันอาการท้องผูก
3. ธาตุเหล็ก มีในไข่แดง ตับ ผักใบเขียว ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดงให้มีมากพอที่จะลำเลียงออกซิเจนจากเลือดแม่ไปสู่ลูก
4. ทานแคลเซียม ซึ่งช่วยในการสร้างกระดูกและฟันของลูก และช่วยป้องกันไม่ให้แม่กระดูกพรุน โดยแคลเซียมสามารถทานได้จาก นม ปลาเล็ก ปลาน้อย หรือผักใบเขียวที่แข็ง
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 3
1. อาหาร ควรเพิ่มอาหารประเภทโปรตีน เช่นเดียวกับไตรมาสที่ 2 เช่น เนื้อสัตว์ เนื้อปลาผักใบเขียวชนิดต่างๆ และอาหารที่มีแคลเซียม เช่น ปลาตัวเล็กทานทั้งก้างได้ หรือนม
2. การฝากครรภ์ การนัดตรวจครรภ์จะบ่อยขึ้น ในไตรมาสนี้จะมีการตรวจปัสสาวะ เพื่อดูน้ำตาลและโปรตีนเช็คความดันโลหิต ติดตามอาการบวม เพื่อตรวจหาว่ามีภาวะครรภ์เป็นพิษหรือไม่
3. การดูแลเต้านม ในระยะ 2 - 3 เดือนก่อนคลอด ร่างกายจะขับสารจำพวกไขมันมาคลุมบริเวณหัวนม และลานนม ดังนั้นการอาบน้ำชำระร่างกาย ไม่ควรฟอกสบู่บริเวณหัวนมมากนัก เพราะจะชะล้างไขมันบริเวณนั้นออกไปหมด ทำให้หัวนมแห้ง และแตกง่าย
โภชนาการสำหรับเด็ก
ช่วง 6 เดือนแรก อาหารที่ดีที่สุดของทารกนั้นคือ “นมแม่” เพราะมีสารอาหารมากมายเช่น DHA ช่วยบำรุงสมองและสายตา เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสเกิดโรคภูมิแพ้ เพราะในนมถั่วเหลือง (โคลอสตรัม) มีภูมิคุ้มกันสูงกว่านมวัว 3,000 เท่า มีสารช่วยย่อย และช่วยเร่งการเจริญเติบโต
อาหารสำหรับเด็กทารก 6 เดือน ได้แก่ ตับ เนื้อสัตว์ ปลาช่อน ปลาน้ำจืด ผักใบเขียว หรือข้าวกล้องบด มันฝรั่งและไข่แดงบด น้ำซุปผัก ไข่ตุ๋น+ผักนิ่ม ๆ ผลไม้สุกจัดนิ่ม ๆ เช่นมะละกอบด, มะม่วงสุกบด, กล้วยน้ำหว้าบด, น้ำส้มคั้นสดไม่มีเมล็ด ไม่ควรปรุงรสใด ๆ เป็นรสหวานธรรมชาติ ไข่แดงควรมีทุกมื้ออาหาร นำไข่แดงที่ต้มสุกแล้วมาบี้ใส่ในข้าวตุ๋น ถ้าคุณแม่กลัวลูกแพ้ไข่ขาวเริ่มให้รับประทานไข่ขาวเมื่ออายุครบ 1 ขวบก็ได้ อาหารค่อย ๆเพิ่มขึ้นทีละน้อย สังเกตการรับประทานอาหารของทารก ว่าสิ่งไหนชอบสิ่งไหนไม่ชอบ
อาหารสำหรับเด็ก 7 เดือน เน้นวัตถุดิบที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวบด ผักต้มนิ่ม ๆ 2 - 4 อย่าง บดรวมกัน กระตุ้นให้เด็กดื่มน้ำบ่อย ๆ จะได้ถ่ายอุจจาระได้ง่ายขึ้น
อาหารสำหรับเด็ก 6 - 9 เดือน บางคนมีฟันน้ำนมขึ้นหนึ่งหรือมากกว่านั้น ฟันจะช่วยให้ลูกเคี้ยว และเพลิดเพลินกับอาหารที่มีเนื้อสัมผัสหยาบขึ้น มีการพัฒนาการหยิบจับของ เช่น หยิบอาหารกินเอง
อาหารสำหรับเด็ก 8 - 9 เดือน อาหารจำพวกแป้งที่เป็นมื้อเล็ก ๆ วันละ 2 มื้อ เช่น ข้าวสวยนิ่ม ขนมปังแผ่น มันฝรั่ง พืชผัก ผลไม้ คละสีสัน มีความหยาบ ละเอียด มีกลิ่นรสหลากหลาย เช่น ผัก ผลไมhถือรับประทานเองได้ เช่น แตงกวา แครอทต้ม อาหารโปรตีนสูงแต่นุ่มบดง่าย ได้แก่ ไข่แดง ตับไก่ เต้าหู้อ่อน หรือปลา หมุนเวียนกันไป ปริมาณอาหารที่เหมาะสมใน 1 มื้อ ของเด็กคือ ข้าวสวย 5 ช้อน เนื้อสัตว์ ไข่ 2 ช้อน ผักนิ่ม ๆ 2 ช้อน ผลไม้ 3 ชิ้นพอดีคำ น้ำมันพืช 1 ช้อนชา
อาหารสำหรับเด็กวัย 10 - 12 เดือน เด็กสามารถกินอาหารหยาบได้ อาหารควรเปลี่ยน จากบดหรือสับ มาเป็นหั่นชิ้นเล็กแทน เช่น มักกะโรนีต้ม ข้าวต้ม หรือเนื้อปลาสับหยาบ กินอาหาร 3 มื้อ
โภชนาการเด็ก 1 - 3 ปี เด็กช่วงนี้กำลังหัดเดิน ถือเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากวัยทารกสู่วัยเด็กเล็ก ลูกจะสนุกกับการเดินรอบ ๆ ค้นหารสิ่งใหม่ ๆ การจัดอาหาร ต้องอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ วันละ 4 - 6 มื้อ (รวมมื้อว่าง) เน้นโปรตีน เพราะมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย และได้รับพลังงานที่เพียงพอ วันละ 1,000 Kcal./วัน รวมให้นมแม่ด้วย พลังงานส่วนใหญ่มาจาก ข้าวแป้ง-ธัญพืช น้ำตาล ไขมัน และเนื้อสัตว์
- หมวดข้าวแป้ง รับประทานมื้อละ 1 ทัพพี เน้นข้าวกล้อง หรือ ข้าวซ้อมมื้อ เพราะมีแร่ธาตุ และวิตามินใยอาหารมากกว่าข้าวขาวปกติ
- หมวดเนื้อสัตว์ ควรรับประทานเป็น ไข่ นม เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น เนื้อหมู ปลา ไก่ ถั่วต้มเปื่อย หรือเต้าหู้ โปรตีนช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และการเจริญเติบโต ควรได้รับ 1.4 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และควรได้รับธาตุเหล็กที่เพียงพอ เด็กควรได้กินไข่ 1 ฟองทุกวัน และดื่มนมทุกวัน เพื่อป้องกัน การเกิดภาวะโลหิตจาง
- หมวดไขมัน ไขมันนอกจากให้พลังงานแล้วยังช่วยในการดูดซึมวิตามินบางชนิด เช่น วิตามิน A D E K เด็กได้รับน้ำมันชนิดดีต่อสุขภาพ 3 ช้อนชาต่อวัน
- หมวดผัก ผักอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร ควรให้เด็กรับประทานผักหลากสีสัน ควรรับประทานผักมื้อละครึ่งทัพพี เป็นผักสีเข้ม เช่น เขียวเข้ม ส้มเข้ม แดงเข้ม เหลืองเข้ม เพื่อส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการรอบด้าน สมวัย
- หมวดผลไม้ มีวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร ควรรับประทานผลไม้สด มากกว่าผลไม้แปรรูป หรือน้ำผลไม้เพราะบางครั้งมีรสหวานมากเกินไป เฉลี่ย 1 วัน เด็กควรได้รับประทานผลไม้ 3 ส่วน
- หมวดนม ควรส่งเสริมให้เด็กดื่มนมทุกวัน เพื่อให้ได้รับแคลเซียมเพียงพอ เสริมสร้างมวลกระดูก เด็กควรดื่มนมจืดวันละ 2 - 3 แก้ว
0
0
4. จัดทำโครงการเพื่อขอรับการพิจารณาอนุมัติโครงการ
วันที่ 5 สิงหาคม 2567 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
จัดทำโครงการเพื่อขอรับการพิจารณาอนุมัติโครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและเด็ก
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ได้รับการอนุมัติโครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและเด็ก งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลทุ่งยาว เป็นเงิน 7,000 บาท
0
0
5. ประเมินผลการดำเนินงาน
วันที่ 5 สิงหาคม 2567 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1. ร้อยละ 80 มารดาได้รับความรู้เรื่องการดูแล ตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี
2. ร้อยละ 80 เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเหมาะสมตามวัย
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
- มารดาได้รับความรู้เรื่องการดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี ร้อยละ 80
- ในมารดาหลังคลอดพบว่า เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเหมาะสมตามวัย ร้อยละ 80
0
0
* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น
ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม
ผลการดำเนินโครงการ
สรุปผลการดำเนินโครงการ
ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ผลผลิตโครงการ
วัตถุประสงค์ สถานการณ์ เป้าหมาย ผลผลิต อธิบาย
1
เพื่อให้มารดาได้รับความรู้เรื่องการดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 มารดาได้รับความรู้เรื่องการดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี
100.00
มารดาได้รับความรู้เรื่องการดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี
2
เพื่อให้มารดาได้รับความรู้ด้านโภชนาการสำหรับมารดาและเด็ก
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเหมาะสมตามวัย
80.00
มารดาได้รับความรู้ด้านโภชนาการสำหรับมารดาและเด็ก
3
เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการตามช่วงวัยของการเจริญเติบโต
ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเหมาะสมตามวัย
80.00
ร้อยละ 80 เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเหมาะสมตามวัย
ผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้(คน) จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
10
8
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้(คน) จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
-
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
-
กลุ่มวัยทำงาน
-
กลุ่มผู้สูงอายุ
-
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
10
8
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
-
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
-
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
-
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
-
บทคัดย่อ*
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
(1) เพื่อให้มารดาได้รับความรู้เรื่องการดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี
(2) เพื่อให้มารดาได้รับความรู้ด้านโภชนาการสำหรับมารดาและเด็ก
(3) เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการตามช่วงวัยของการเจริญเติบโต
ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่
(1) สำรวจข้อมูลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดในเขตเทศบาลตำบลทุ่งยาว
(2) จัดทำโครงการเพื่อขอรับการพิจารณาอนุมัติโครงการ
(3) ดำเนินการตามกิจกรรม กิจกรรม อบรมให้ความรู้แก่มารดา ผลการจัดกิจกรรม รายละเอียด ดังนี้
1. วิทยากรบรรยาย หัวข้อ “ความรู้เรื่องการดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี” โดย นางจริยา สุโสะ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ วิทยากรจากโรงพยาบาลปะเหลียน
การตั้งครรภ์แบ่งออกเป็น 3 ไตรมาส รวมระยะเวลาตั้งครรภ์ทั้งสิ้น 9 เดือน หรือ 40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน
คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 1 (อายุครรภ์ 1 - 3 เดือน) ในช่วงไตรมาสแรก คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ประจำเดือนไม่มาตามกำหนด เหนื่อย เพลีย จนอยากนอนพักมาก ๆ เต้านม ขยายใหญ่ขึ้น คัดเจ็บเต้านม น้ำหนักตัวคงที่ หรือเพิ่ม 1 - 3 กก. (ในรายที่ไม่แพ้ท้อง) และจะมีอาการแพ้ท้อง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เพราะระดับฮอร์โมนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 2 (อายุครรภ์ 4-6 เดือน) ในร่างกายของลูกน้อยจะอยู่ในตำแหน่งเหมาะสมและพร้อมที่จะพัฒนาเติบโตอย่างเต็มที่ต่อไป เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 ขนาดของเด็กในครรภ์จะเติบโตเพิ่มเป็น 3 - 4 เท่า ลักษณะของเด็กทารกจะดูคล้ายคนตัวเล็กมากขึ้น
ผู้หญิงส่วนใหญ่จะรู้สึกสบายกว่าเดิม เพราะอาการอ่อนเพลียคลื่นไส้ในช่วงเริ่มตั้งครรภ์จะลดลงจนเกือบกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ร่างกายปรับตัวได้ดีแต่ยังมีการเปลี่ยนแปลงอีกหลายอย่างที่จะเกิดขึ้นต่อไป
คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 3 (อายุครรภ์ 7-9 เดือน) คุณแม่ใกล้คลอดท้องจะใหญ่มากหายใจลำบาก มีอาการบวม ลุกนั่งลำบากและเหนื่อยง่าย ผู้หญิงท้องแก่แต่ละคนมีลักษณะหน้าท้องไม่เหมือนกัน แตกต่างทั้งขนาดและรูปร่างจึงนำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้ ระยะนี้คุณแม่ควรใส่ใจเรื่องของความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น อาการเป็นตะคริว เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีเลือดออก หรือปัญหาภาวะน้ำคร่ำ ซึ่งจำเป็นต้องให้แพทย์ตรวจครรภ์ก่อนคลอดบ่อยขึ้น
การดูแลตนเองหลังคลอด หลังคลอดบุตรแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างอาจจะดูท่วมท้นไปเสียหมด เป็นเวลาที่คุณแม่จะต้องปรับตัวเข้ากับชีวิตบทใหม่และพักรักษาฟื้นฟูสุขภาพหลังคลอด การดูแลทารกและการที่คุณแม่ดูแลตนเองจึงมีความจําเป็นไม่แพ้กัน เพราะหากแม่มีปัญหาทางด้านสุขภาพกายและใจ ก็จะส่งผลต่อลูกน้อยเป็นอย่างมาก ดังนี้
1. เมื่อกลับไปที่บ้าน จึงควรพยายามนอนพร้อมลูก ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัว
2. ทําเรื่องดูแลลูกให้ง่ายเข้าไว้ในฐานะแม่ แม่จำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจตารางเวลา
3. ล้างมือบ่อย ๆ หลังเข้าห้องน้ำ เปลี่ยนผ้าอ้อม และก่อนให้นมลูก
4. หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรืออะไรที่หนักกว่าลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังผ่าตัดคลอดหลีกเลี่ยงการทำให้แผลตึง (แผลผ่าตัดคลอด) เช่น การขึ้นลงบันไดบ่อย ๆ
5. ปฏิเสธไม่ให้คนมาเยี่ยม แม่อาจปฏิเสธไม่ให้คนมาเยี่ยมได้หากรู้สึกไม่พร้อม
6. พบแพทย์ตามนัดหลังคลอดทุกครั้ง ควรไปพบแพทย์ตามนัดหลังคลอดทุกครั้ง แพทย์จะดูแลฝีเย็บและให้คําปรึกษาเรื่องอาการหลังคลอดได้
7. รับประทานวิตามินบำรุงครรภ์รับประทานวิตามินบำรุงครรภ์ที่แพทย์เคยสั่งให้ต่อไปได้
8. ไม่ใช้ผ้าอนามัยแบบสอดหรือสวนล้างช่องคลอดในช่วง 4-6 สัปดาห์แรก ใช้แผ่นอนามัย แบบแผ่นปกติ
9. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว รับประทานอาหารที่มีประโยชน์หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน
10. ออกกําลังกายเบา ๆ เช่น การเดิน ซึ่งสามารถช่วยให้ฟื้นตัวสร้างความแข็งแรงและได้มีเวลาพักสมองจากเรื่องการดูแลลูก โดยก่อนเริ่มออกกําลังกายใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
11. งดการมีเพศสัมพันธ์ แม่ควรงดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าร่างกายจะฟื้นตัวเต็มที่ ควรรอให้แผลผ่าตัดที่ท้องหรือฝีเย็บหายเป็นปกติเสียก่อน และใช้อุปกรณ์คุมกําเนิดเพื่อป้องกันไม่ให้ตั้งครรภ์ใหม่เร็วจนเกินไป โดยสามารถปรึกษาแพทย์ได้ว่าวิธีการคุมกําเนิดแบบใดที่เหมาะสมที่สุด
การดูแลทารกแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิดมีสองเรื่องด้วยกัน คือการดูแลทางด้านร่างกาย และการดูแลทางด้านจิตใจ การดูแลทางด้านร่างกาย คือ เรื่องโภชนาการอาหาร, การให้ทารกนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ในสถานที่ที่สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก และปลอดภัย, การดูแลระบบขับถ่าย, การดูแลความสะอาด, การดูแลสุขภาพร่างกายให้อบอุ่นแข็งแรง และการดูแลเรื่องระบบทางเดินหายใจสำหรับการดูแลทางด้านจิตใจ คือ การเลี้ยงดูทารกแรกเกิดด้วยความรักและความอบอุ่น ซึ่งจะเป็นการสร้างพื้นฐานทางด้านจิตใจที่ดีให้กับลูกตั้งแต่ยังเล็ก และจะมีผลต่อเนื่องไปจนกระทั่งเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่การดูแลทารกแรกเกิดในเรื่องต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้
1. อาหารสำหรับทารกแรกเกิด องค์การอนามัยโลกแนะนำ “ให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และนมแม่ร่วมกับอาหารเสริมนานจนถึง 2 ปี หรือมากกว่า” เพราะ น้ำนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก และสารอาหารในนมแม่ไม่สามารถทดแทนได้ด้วยนมผสม คุณแม่ควรให้ลูกดูด นมแม่ ทันทีหลังคลอดและให้ดูด 8 - 12 ครั้งต่อวัน ก่อนให้นมคุณแม่ต้องล้างมือทุกครั้ง ส่วนหัวนมทำความสะอาดเวลาเช้าและเย็นขณะอาบน้ำก็เพียงพอแล้ว
2. การอุ้มทารกแรกเกิด มี 3 แบบ ดังนี้
- การอุ้มในท่าปกติ ทำได้โดยคุณแม่อุ้มทารกตะแคงเข้าหาทางหน้าอก ให้ท้ายทอยของทารกอยู่บนข้อพับแขนของคุณแม่ วางทอดแขนไปตามลำตัวของทารก อีกมืออุ้มช้อนส่วนก้นและช่วงขา ลำตัวทารกแนบชิดกับลำตัวของแม่ ให้ศีรษะ คอ และลำตัว อยู่ในแนวเดียวกัน
- การอุ้มเรอ มีสองท่าคือท่าอุ้มพาดบ่า ให้หน้าท้องของทารกกดบริเวณไหล่ของแม่เพื่อไล่ลม และท่าอุ้มนั่งบนตัก โดยให้ทารกหันหน้าออก มือข้างหนึ่งของแม่จับที่หน้าอกของทารก ส่วนมืออีกข้างลูบหลัง ขณะลูบให้โน้มตัวทารกไปข้างหน้าเล็กน้อย เพื่อให้หน้าท้องถูกกดและไล่ลมออก
- การอุ้มปลอบ คล้ายกับการอุ้มเรอ แต่คุณแม่พูดคุยกับทารกไปด้วยเพื่อให้ทารกรู้สึกสงบและปลอดภัย
3. การอาบน้ำทารกแรกเกิด ต้องระวังในเรื่องของสถานที่และเวลาในการอาบ ควรอาบในบริเวณที่ไม่มีลมโกรก อาบวันละสองครั้งและสระผมวันละครั้ง (หรือตามสภาพอากาศ) ในช่วงสาย ๆ หรือบ่าย ๆ ขณะที่มีอากาศอบอุ่น ควรอาบประมาณ 5 - 7 นาทีก็เพียงพอแล้ว
4. การดูแลสุขภาพช่องปากของทารกแรกเกิด ทำได้โดย ใช้นิ้วพันผ้านุ่ม ๆ ชุบน้ำต้มสุกที่สะอาดเช็ดให้ทั่วภายในช่องปาก บริเวณลิ้น เหงือก เพดานปาก และกระพุ้งแก้ม เพื่อไม่ให้มีคราบน้ำนมติดอยู่ทำความสะอาดวันละสองครั้ง เช้าและเย็นหลังให้นมแม่
5. การให้ภูมิคุ้มกันโรค (วัคซีน) สำหรับทารกแรกเกิด ทารกแรกเกิดทุกรายจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค (บีซีจี) และตับอักเสบ บี จากโรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยใกล้บ้าน โดยจะบันทึกไว้ในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กและจะนัดให้มารับวัคซีนครั้งต่อไป
คุณพ่อคุณแม่ต้องพาลูกมารับวัคซีนตามนัด หลังจากฉีดวัคซีนควรดูแลแผลทุกครั้ง
2. วิทยากรบรรยาย หัวข้อ “พัฒนาการของเด็กตามช่วงวัยของการเจริญเติบโต” โดย นางสาวมัสชุพรรณวจี ทวยเดช ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ วิทยากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งยาว
พัฒนาการ คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะในร่างกาย และตัวบุคคล ทำให้สามารถทำสิ่งที่ยากและซับซ้อนขึ้นได้ โดยมีการเพิ่มทักษะใหม่ ๆ และความสามารถในการปรับตัว เพื่อให้บุคคลนั้น สามารถใช้ชีวิตประจำวันอยู่ได้
ซึ่งพัฒนาการของเด็ก จะประกอบไปด้วย
1. พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว
2. พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา
3. พัฒนาการด้านการเข้าใจและการใช้ภาษา
4. พัฒนาการด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม
เด็กแรกเกิด ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 1 เดือนแรก เป็นช่วงเวลาของการเรียนรู้พ่อแม่และลูกน้อย เด็กในวัยนี้จะมีแค่การกิน นอน ร้อง ถ่าย การเคลื่อนไหวของเด็กวัยนี้จะเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ โดยอัตโนมัติ เช่น สะดุ้งเมื่อได้ยินเสียงดัง ขยับศีรษะเมื่อมีคนลูบแก้ม เป็นต้น
เด็กทารก เด็กที่มีอายุระหว่าง 1 - 12 เดือน จะเริ่มแสดงออกถึงพัฒนาการใหม่ ๆ
- เมื่อเด็กมีอายุ 3 - 6 เดือน เด็กจะสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของศีรษะ ตั้งศีรษะนิ่งคอไม่อ่อนพับไปมา (sit with head steady) พลิกคว่ำ หงายได้ จดจำใบหน้าของพ่อ แม่และคนใกล้ชิดได้
- เด็กจะเริ่มพูดอ้อแอ้เมื่อมีอายุ 6 - 9 เดือนและรับรู้ชื่อของตัวเองและคำง่าย ๆ ที่พ่อแม่ใช้บ่อย ๆ
- เมื่ออายุ 7 - 12 เดือน เด็กจะเริ่มพัฒนาทักษะทางด้านร่างกายโดยสามารถคลาน เกาะยืน เดินได้เอง หยิบสิ่งของด้วยนิ้วโป้งและนิ้วชี้ได้
เด็กวัยเตาะแตะ ช่วงอายุ 1 - 3 ขวบ เป็นช่วงอายุที่เด็กเริ่มเป็นตัวของตัวเอง ไม่ชอบให้ใครมาบังคับ เป็นวัยที่มีพัฒนาการทางด้านร่างกายสมองและอารมณ์อย่างรวดเร็ว เด็กจะมีพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดใหญ่โดยสามารถปีนป่าย โยนรับลูกบอลได้ กระโดดอยู่กับที่
และนอกจากนี้ในช่วง 2 - 3 ขวบ เด็กจะมีพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก สามารถใช้นิ้วและแขนได้ดีขึ้น เช่น ใช้ช้อนส้อมกินอาหารด้วยตัวเอง สามารถขีดเขียนแบบง่าย ๆ สมองเด็กเติบโตมากขึ้น สามารถเรียนรู้เรื่องซับซ้อนได้มากขึ้น ปฏิบัติตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ ช่วงนี้จึงเป็นช่วงระยะเวลาที่สำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นวัยที่สมองของเด็กพัฒนาได้มากที่สุดและรวดเร็วที่สุดกว่าช่วงอื่น ๆ ในชีวิต คุณพ่อ คุณแม่จึงควรกระตุ้นให้ลูกสำรวจสิ่งใหม่ ๆ และให้ลูกมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเพื่อสร้างความมั่นใจในตัวเองให้แก่ลูก
3. วิทยากรบรรยาย หัวข้อ “ความรู้ด้านโภชนาการสำหรับมารดาและเด็ก”
โดย นางสาวมัสชุพรรณวจี ทวยเดช ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการวิทยากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งยาว
โภชนาการสำหรับมารดา
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 1
1. อาหาร ทานอาหารตามปกติเหมือนก่อนตั้งครรภ์เท่าที่ทานได้ ในรายที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ควรเป็นอาหารอ่อน ย่อยง่าย หรือเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำหวาน และควรทานครั้งละน้อย ๆ วันละ 4 - 6 มื้อ แต่พออิ่ม ไม่ควรบังคับกำหนดปริมาณในการทาน ซึ่งเป็นการเพิ่มความเครียดให้กับตัวเอง หลักการสำคัญคือ ให้ร่างกายได้รับสารอาหารเพียงพอ
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2
1. อาหาร ในระยะนี้อาการแพ้ท้องมักหายไป เริ่มทานอาหารได้ตามปกติ ควรทานให้ครบ 5 หมู่ อาจมีอาหารทุกประเภทใน 1 มื้อ หรือประเภทใดประเภทหนึ่งสลับกับมื้ออื่น แต่เมื่อรวม 5 - 6 มื้อในแต่ละวัน ต้องรับประทานให้ได้ครบทุกประเภท ไม่ควรรับอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมันมากเกินไป เพราะในช่วงตั้งครรภ์ร่างกายไม่ต้องการอาหารประเภทแป้ง และน้ำตาลเพิ่ม แต่ต้องการเฉพาะโปรตีนเพิ่มขึ้น
2. เน้นผัก ผลไม้ อาหารที่มีกากใยสูง ดื่นน้ำวันละ 6 - 8 แก้ว เพื่อป้องกันอาการท้องผูก
3. ธาตุเหล็ก มีในไข่แดง ตับ ผักใบเขียว ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดงให้มีมากพอที่จะลำเลียงออกซิเจนจากเลือดแม่ไปสู่ลูก
4. ทานแคลเซียม ซึ่งช่วยในการสร้างกระดูกและฟันของลูก และช่วยป้องกันไม่ให้แม่กระดูกพรุน โดยแคลเซียมสามารถทานได้จาก นม ปลาเล็ก ปลาน้อย หรือผักใบเขียวที่แข็ง
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 3
1. อาหาร ควรเพิ่มอาหารประเภทโปรตีน เช่นเดียวกับไตรมาสที่ 2 เช่น เนื้อสัตว์ เนื้อปลา ผักใบเขียวชนิดต่างๆ และอาหารที่มีแคลเซียม เช่น ปลาตัวเล็กทานทั้งก้างได้ หรือนม
2. การฝากครรภ์ การนัดตรวจครรภ์จะบ่อยขึ้น ในไตรมาสนี้จะมีการตรวจปัสสาวะ เพื่อดูน้ำตาลและโปรตีนเช็คความดันโลหิต ติดตามอาการบวม เพื่อตรวจหาว่ามีภาวะครรภ์เป็นพิษหรือไม่
3. การดูแลเต้านม ในระยะ 2 - 3 เดือนก่อนคลอด ร่างกายจะขับสารจำพวกไขมันมาคลุมบริเวณหัวนม และลานนม ดังนั้นการอาบน้ำชำระร่างกาย ไม่ควรฟอกสบู่บริเวณหัวนมมากนัก เพราะจะชะล้างไขมันบริเวณนั้นออกไปหมด ทำให้หัวนมแห้ง และแตกง่าย
โภชนาการสำหรับเด็ก ช่วง 6 เดือนแรก อาหารที่ดีที่สุดของทารกนั้นคือ “นมแม่” เพราะมีสารอาหารมากมายเช่น DHA ช่วยบำรุงสมองและสายตา เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสเกิดโรคภูมิแพ้ เพราะในนมถั่วเหลือง (โคลอสตรัม) มีภูมิคุ้มกันสูงกว่านมวัว 3,000 เท่า
มีสารช่วยย่อย และช่วยเร่งการเจริญเติบโต
อาหารสำหรับเด็กทารก 6 เดือน ได้แก่ ตับ เนื้อสัตว์ ปลาช่อน ปลาน้ำจืด ผักใบเขียว หรือข้าวกล้องบด มันฝรั่งและไข่แดงบด น้ำซุปผัก ไข่ตุ๋น+ผักนิ่ม ๆ ผลไม้สุกจัดนิ่ม ๆ เช่นมะละกอบด, มะม่วงสุกบด, กล้วยน้ำหว้าบด, น้ำส้มคั้นสดไม่มีเมล็ด ไม่ควรปรุงรสใด ๆ เป็นรสหวานธรรมชาติ ไข่แดงควรมีทุกมื้ออาหาร นำไข่แดงที่ต้มสุกแล้วมาบี้ใส่ในข้าวตุ๋น ถ้าคุณแม่กลัวลูกแพ้ไข่ขาวเริ่มให้รับประทานไข่ขาวเมื่ออายุครบ 1 ขวบก็ได้ อาหารค่อย ๆเพิ่มขึ้นทีละน้อย สังเกตการรับประทานอาหารของทารก ว่าสิ่งไหนชอบสิ่งไหนไม่ชอบ
อาหารสำหรับเด็ก 7 เดือน เน้นวัตถุดิบที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวบด ผักต้มนิ่ม ๆ 2 - 4 อย่าง บดรวมกัน กระตุ้นให้เด็กดื่มน้ำบ่อย ๆ จะได้ถ่ายอุจจาระได้ง่ายขึ้น
อาหารสำหรับเด็ก 6 - 9 เดือน บางคนมีฟันน้ำนมขึ้นหนึ่งหรือมากกว่านั้น ฟันจะช่วยให้ลูกเคี้ยว และเพลิดเพลินกับอาหารที่มีเนื้อสัมผัสหยาบขึ้น มีการพัฒนาการหยิบจับของ เช่น หยิบอาหารกินเอง
อาหารสำหรับเด็ก 8 - 9 เดือน อาหารจำพวกแป้งที่เป็นมื้อเล็ก ๆ วันละ 2 มื้อ เช่น ข้าวสวยนิ่ม ขนมปังแผ่น มันฝรั่ง พืชผัก ผลไม้ คละสีสัน มีความหยาบ ละเอียด มีกลิ่นรสหลากหลาย เช่น ผัก ผลไม้ถือรับประทานเองได้ เช่น แตงกวา แครอทต้ม อาหารโปรตีนสูงแต่นุ่มบดง่าย ได้แก่ ไข่แดง ตับไก่ เต้าหู้อ่อน หรือปลา หมุนเวียนกันไป ปริมาณอาหารที่เหมาะสมใน 1 มื้อ ของเด็กคือ ข้าวสวย 5 ช้อน เนื้อสัตว์ ไข่ 2 ช้อน ผักนิ่ม ๆ 2 ช้อน ผลไม้ 3 ชิ้นพอดีคำ น้ำมันพืช 1 ช้อนชา
อาหารสำหรับเด็กวัย 10 - 12 เดือน เด็กสามารถกินอาหารหยาบได้ อาหารควรเปลี่ยน จากบดหรือสับ มาเป็นหั่นชิ้นเล็กแทน เช่น มักกะโรนีต้ม ข้าวต้ม หรือเนื้อปลาสับหยาบ กินอาหาร 3 มื้อ
โภชนาการเด็ก 1 - 3 ปี เด็กช่วงนี้กำลังหัดเดิน ถือเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากวัยทารกสู่วัยเด็กเล็ก ลูกจะสนุกกับการเดินรอบ ๆ ค้นหารสิ่งใหม่ ๆ การจัดอาหาร ต้องอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ วันละ 4 - 6 มื้อ (รวมมื้อว่าง) เน้นโปรตีน เพราะมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายและได้รับพลังงานที่เพียงพอ วันละ 1,000 Kcal./วัน รวมให้นมแม่ด้วย พลังงานส่วนใหญ่มาจากข้าวแป้ง-ธัญพืช น้ำตาล ไขมัน และเนื้อสัตว์
- หมวดข้าวแป้ง รับประทานมื้อละ 1 ทัพพี เน้นข้าวกล้อง หรือ ข้าวซ้อมมื้อ เพราะมีแร่ธาตุ และวิตามินใยอาหารมากกว่าข้าวขาวปกติ
- หมวดเนื้อสัตว์ ควรรับประทานเป็น ไข่ นม เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น เนื้อหมู ปลา ไก่ ถั่วต้มเปื่อย หรือเต้าหู้ โปรตีนช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และการเจริญเติบโต ควรได้รับ 1.4 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และควรได้รับธาตุเหล็กที่เพียงพอ เด็กควรได้กินไข่ 1 ฟองทุกวัน และดื่มนมทุกวัน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะโลหิตจาง
- หมวดไขมัน ไขมันนอกจากให้พลังงานแล้วยังช่วยในการดูดซึมวิตามินบางชนิด เช่น วิตามิน A D E K เด็กได้รับน้ำมันชนิดดีต่อสุขภาพ 3 ช้อนชาต่อวัน
- หมวดผัก ผักอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร ควรให้เด็กรับประทานผักหลากสีสันควรรับประทานผักมื้อละครึ่งทัพพี เป็นผักสีเข้ม เช่น เขียวเข้ม ส้มเข้ม แดงเข้ม เหลืองเข้ม เพื่อส่งเสริมให้เด็ก มีพัฒนาการรอบด้าน สมวัย
- หมวดผลไม้ มีวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร ควรรับประทานผลไม้สด มากกว่าผลไม้แปรรูปหรือน้ำผลไม้เพราะบางครั้งมีรสหวานมากเกินไป เฉลี่ย 1 วัน เด็กควรได้รับประทานผลไม้ 3 ส่วน
- หมวดนม ควรส่งเสริมให้เด็กดื่มนมทุกวัน เพื่อให้ได้รับแคลเซียมเพียงพอ เสริมสร้างมวลกระดูก เด็กควรดื่มนมจืดวันละ 2 - 3 แก้ว
(4) ประเมินผลการดำเนินงาน
1. ร้อยละ 80 มารดาได้รับความรู้เรื่องการดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี
2. ร้อยละ 80 เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเหมาะสมตามวัย
(5) สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
1. มารดาที่เข้าร่วมการอบรมตามโครงการฯได้รับความรู้เรื่องการดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี ร้อยละ 80
2. ในหญิงหลังคลอด พบว่าเด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเหมาะสมตามวัย ร้อยละ 100
หมายเหตุ *- บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
- หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
ปัญหาและอุปสรรค สาเหตุ ข้อเสนอแนะ
ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ
แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและเด็ก
รหัสโครงการ 67-L8018-01-03 รหัสสัญญา 10/2567 ระยะเวลาโครงการ 1 มิถุนายน 2567 - 31 สิงหาคม 2567
แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้
- ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
- การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
- ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
- กระบวนการชุมชน
- มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
3. กระบวนการใหม่
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
6. แหล่งเรียนรู้ใหม่
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
99. อื่นๆ
2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
2. การบริโภค
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
3. การออกกำลังกาย
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
9. อื่นๆ
3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
5. อื่นๆ
4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
3. มีธรรมนูญของชุมชน
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ
5. เกิดกระบวนการชุมชน
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
7. อื่นๆ
6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
6. อื่นๆ
โครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและเด็ก จังหวัด ตรัง
รหัสโครงการ 67-L8018-01-03
ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว
................................
( กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลทุ่งยาว )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......
โครงการ
“ โครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและเด็ก ”
ตำบลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
หัวหน้าโครงการ
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลทุ่งยาว
สิงหาคม 2567
ที่อยู่ ตำบลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง จังหวัด ตรัง
รหัสโครงการ 67-L8018-01-03 เลขที่ข้อตกลง 10/2567
ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2567
กิตติกรรมประกาศ
"โครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและเด็ก จังหวัดตรัง" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน ตำบลทุ่งยาว อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง
คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลทุ่งยาว ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป
คณะทำงานโครงการ
โครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและเด็ก
บทคัดย่อ
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
(1) เพื่อให้มารดาได้รับความรู้เรื่องการดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี
(2) เพื่อให้มารดาได้รับความรู้ด้านโภชนาการสำหรับมารดาและเด็ก
(3) เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการตามช่วงวัยของการเจริญเติบโต
ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่
(1) สำรวจข้อมูลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดในเขตเทศบาลตำบลทุ่งยาว
(2) จัดทำโครงการเพื่อขอรับการพิจารณาอนุมัติโครงการ
(3) ดำเนินการตามกิจกรรม กิจกรรม อบรมให้ความรู้แก่มารดา ผลการจัดกิจกรรม รายละเอียด ดังนี้
1. วิทยากรบรรยาย หัวข้อ “ความรู้เรื่องการดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี” โดย นางจริยา สุโสะ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ วิทยากรจากโรงพยาบาลปะเหลียน
การตั้งครรภ์แบ่งออกเป็น 3 ไตรมาส รวมระยะเวลาตั้งครรภ์ทั้งสิ้น 9 เดือน หรือ 40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน
คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 1 (อายุครรภ์ 1 - 3 เดือน) ในช่วงไตรมาสแรก คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ประจำเดือนไม่มาตามกำหนด เหนื่อย เพลีย จนอยากนอนพักมาก ๆ เต้านม ขยายใหญ่ขึ้น คัดเจ็บเต้านม น้ำหนักตัวคงที่ หรือเพิ่ม 1 - 3 กก. (ในรายที่ไม่แพ้ท้อง) และจะมีอาการแพ้ท้อง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เพราะระดับฮอร์โมนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 2 (อายุครรภ์ 4-6 เดือน) ในร่างกายของลูกน้อยจะอยู่ในตำแหน่งเหมาะสมและพร้อมที่จะพัฒนาเติบโตอย่างเต็มที่ต่อไป เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 ขนาดของเด็กในครรภ์จะเติบโตเพิ่มเป็น 3 - 4 เท่า ลักษณะของเด็กทารกจะดูคล้ายคนตัวเล็กมากขึ้น
ผู้หญิงส่วนใหญ่จะรู้สึกสบายกว่าเดิม เพราะอาการอ่อนเพลียคลื่นไส้ในช่วงเริ่มตั้งครรภ์จะลดลงจนเกือบกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ร่างกายปรับตัวได้ดีแต่ยังมีการเปลี่ยนแปลงอีกหลายอย่างที่จะเกิดขึ้นต่อไป
คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 3 (อายุครรภ์ 7-9 เดือน) คุณแม่ใกล้คลอดท้องจะใหญ่มากหายใจลำบาก มีอาการบวม ลุกนั่งลำบากและเหนื่อยง่าย ผู้หญิงท้องแก่แต่ละคนมีลักษณะหน้าท้องไม่เหมือนกัน แตกต่างทั้งขนาดและรูปร่างจึงนำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้ ระยะนี้คุณแม่ควรใส่ใจเรื่องของความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น อาการเป็นตะคริว เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีเลือดออก หรือปัญหาภาวะน้ำคร่ำ ซึ่งจำเป็นต้องให้แพทย์ตรวจครรภ์ก่อนคลอดบ่อยขึ้น
การดูแลตนเองหลังคลอด หลังคลอดบุตรแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างอาจจะดูท่วมท้นไปเสียหมด เป็นเวลาที่คุณแม่จะต้องปรับตัวเข้ากับชีวิตบทใหม่และพักรักษาฟื้นฟูสุขภาพหลังคลอด การดูแลทารกและการที่คุณแม่ดูแลตนเองจึงมีความจําเป็นไม่แพ้กัน เพราะหากแม่มีปัญหาทางด้านสุขภาพกายและใจ ก็จะส่งผลต่อลูกน้อยเป็นอย่างมาก ดังนี้
1. เมื่อกลับไปที่บ้าน จึงควรพยายามนอนพร้อมลูก ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัว
2. ทําเรื่องดูแลลูกให้ง่ายเข้าไว้ในฐานะแม่ แม่จำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจตารางเวลา
3. ล้างมือบ่อย ๆ หลังเข้าห้องน้ำ เปลี่ยนผ้าอ้อม และก่อนให้นมลูก
4. หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรืออะไรที่หนักกว่าลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังผ่าตัดคลอดหลีกเลี่ยงการทำให้แผลตึง (แผลผ่าตัดคลอด) เช่น การขึ้นลงบันไดบ่อย ๆ
5. ปฏิเสธไม่ให้คนมาเยี่ยม แม่อาจปฏิเสธไม่ให้คนมาเยี่ยมได้หากรู้สึกไม่พร้อม
6. พบแพทย์ตามนัดหลังคลอดทุกครั้ง ควรไปพบแพทย์ตามนัดหลังคลอดทุกครั้ง แพทย์จะดูแลฝีเย็บและให้คําปรึกษาเรื่องอาการหลังคลอดได้
7. รับประทานวิตามินบำรุงครรภ์รับประทานวิตามินบำรุงครรภ์ที่แพทย์เคยสั่งให้ต่อไปได้
8. ไม่ใช้ผ้าอนามัยแบบสอดหรือสวนล้างช่องคลอดในช่วง 4-6 สัปดาห์แรก ใช้แผ่นอนามัย แบบแผ่นปกติ
9. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว รับประทานอาหารที่มีประโยชน์หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน
10. ออกกําลังกายเบา ๆ เช่น การเดิน ซึ่งสามารถช่วยให้ฟื้นตัวสร้างความแข็งแรงและได้มีเวลาพักสมองจากเรื่องการดูแลลูก โดยก่อนเริ่มออกกําลังกายใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
11. งดการมีเพศสัมพันธ์ แม่ควรงดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าร่างกายจะฟื้นตัวเต็มที่ ควรรอให้แผลผ่าตัดที่ท้องหรือฝีเย็บหายเป็นปกติเสียก่อน และใช้อุปกรณ์คุมกําเนิดเพื่อป้องกันไม่ให้ตั้งครรภ์ใหม่เร็วจนเกินไป โดยสามารถปรึกษาแพทย์ได้ว่าวิธีการคุมกําเนิดแบบใดที่เหมาะสมที่สุด
การดูแลทารกแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิดมีสองเรื่องด้วยกัน คือการดูแลทางด้านร่างกาย และการดูแลทางด้านจิตใจ การดูแลทางด้านร่างกาย คือ เรื่องโภชนาการอาหาร, การให้ทารกนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ในสถานที่ที่สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก และปลอดภัย, การดูแลระบบขับถ่าย, การดูแลความสะอาด, การดูแลสุขภาพร่างกายให้อบอุ่นแข็งแรง และการดูแลเรื่องระบบทางเดินหายใจสำหรับการดูแลทางด้านจิตใจ คือ การเลี้ยงดูทารกแรกเกิดด้วยความรักและความอบอุ่น ซึ่งจะเป็นการสร้างพื้นฐานทางด้านจิตใจที่ดีให้กับลูกตั้งแต่ยังเล็ก และจะมีผลต่อเนื่องไปจนกระทั่งเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่การดูแลทารกแรกเกิดในเรื่องต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้
1. อาหารสำหรับทารกแรกเกิด องค์การอนามัยโลกแนะนำ “ให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และนมแม่ร่วมกับอาหารเสริมนานจนถึง 2 ปี หรือมากกว่า” เพราะ น้ำนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก และสารอาหารในนมแม่ไม่สามารถทดแทนได้ด้วยนมผสม คุณแม่ควรให้ลูกดูด นมแม่ ทันทีหลังคลอดและให้ดูด 8 - 12 ครั้งต่อวัน ก่อนให้นมคุณแม่ต้องล้างมือทุกครั้ง ส่วนหัวนมทำความสะอาดเวลาเช้าและเย็นขณะอาบน้ำก็เพียงพอแล้ว
2. การอุ้มทารกแรกเกิด มี 3 แบบ ดังนี้
- การอุ้มในท่าปกติ ทำได้โดยคุณแม่อุ้มทารกตะแคงเข้าหาทางหน้าอก ให้ท้ายทอยของทารกอยู่บนข้อพับแขนของคุณแม่ วางทอดแขนไปตามลำตัวของทารก อีกมืออุ้มช้อนส่วนก้นและช่วงขา ลำตัวทารกแนบชิดกับลำตัวของแม่ ให้ศีรษะ คอ และลำตัว อยู่ในแนวเดียวกัน
- การอุ้มเรอ มีสองท่าคือท่าอุ้มพาดบ่า ให้หน้าท้องของทารกกดบริเวณไหล่ของแม่เพื่อไล่ลม และท่าอุ้มนั่งบนตัก โดยให้ทารกหันหน้าออก มือข้างหนึ่งของแม่จับที่หน้าอกของทารก ส่วนมืออีกข้างลูบหลัง ขณะลูบให้โน้มตัวทารกไปข้างหน้าเล็กน้อย เพื่อให้หน้าท้องถูกกดและไล่ลมออก
- การอุ้มปลอบ คล้ายกับการอุ้มเรอ แต่คุณแม่พูดคุยกับทารกไปด้วยเพื่อให้ทารกรู้สึกสงบและปลอดภัย
3. การอาบน้ำทารกแรกเกิด ต้องระวังในเรื่องของสถานที่และเวลาในการอาบ ควรอาบในบริเวณที่ไม่มีลมโกรก อาบวันละสองครั้งและสระผมวันละครั้ง (หรือตามสภาพอากาศ) ในช่วงสาย ๆ หรือบ่าย ๆ ขณะที่มีอากาศอบอุ่น ควรอาบประมาณ 5 - 7 นาทีก็เพียงพอแล้ว
4. การดูแลสุขภาพช่องปากของทารกแรกเกิด ทำได้โดย ใช้นิ้วพันผ้านุ่ม ๆ ชุบน้ำต้มสุกที่สะอาดเช็ดให้ทั่วภายในช่องปาก บริเวณลิ้น เหงือก เพดานปาก และกระพุ้งแก้ม เพื่อไม่ให้มีคราบน้ำนมติดอยู่ทำความสะอาดวันละสองครั้ง เช้าและเย็นหลังให้นมแม่
5. การให้ภูมิคุ้มกันโรค (วัคซีน) สำหรับทารกแรกเกิด ทารกแรกเกิดทุกรายจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค (บีซีจี) และตับอักเสบ บี จากโรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยใกล้บ้าน โดยจะบันทึกไว้ในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กและจะนัดให้มารับวัคซีนครั้งต่อไป
คุณพ่อคุณแม่ต้องพาลูกมารับวัคซีนตามนัด หลังจากฉีดวัคซีนควรดูแลแผลทุกครั้ง
2. วิทยากรบรรยาย หัวข้อ “พัฒนาการของเด็กตามช่วงวัยของการเจริญเติบโต” โดย นางสาวมัสชุพรรณวจี ทวยเดช ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ วิทยากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งยาว
พัฒนาการ คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะในร่างกาย และตัวบุคคล ทำให้สามารถทำสิ่งที่ยากและซับซ้อนขึ้นได้ โดยมีการเพิ่มทักษะใหม่ ๆ และความสามารถในการปรับตัว เพื่อให้บุคคลนั้น สามารถใช้ชีวิตประจำวันอยู่ได้
ซึ่งพัฒนาการของเด็ก จะประกอบไปด้วย
1. พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว
2. พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา
3. พัฒนาการด้านการเข้าใจและการใช้ภาษา
4. พัฒนาการด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม
เด็กแรกเกิด ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 1 เดือนแรก เป็นช่วงเวลาของการเรียนรู้พ่อแม่และลูกน้อย เด็กในวัยนี้จะมีแค่การกิน นอน ร้อง ถ่าย การเคลื่อนไหวของเด็กวัยนี้จะเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ โดยอัตโนมัติ เช่น สะดุ้งเมื่อได้ยินเสียงดัง ขยับศีรษะเมื่อมีคนลูบแก้ม เป็นต้น
เด็กทารก เด็กที่มีอายุระหว่าง 1 - 12 เดือน จะเริ่มแสดงออกถึงพัฒนาการใหม่ ๆ
- เมื่อเด็กมีอายุ 3 - 6 เดือน เด็กจะสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของศีรษะ ตั้งศีรษะนิ่งคอไม่อ่อนพับไปมา (sit with head steady) พลิกคว่ำ หงายได้ จดจำใบหน้าของพ่อ แม่และคนใกล้ชิดได้
- เด็กจะเริ่มพูดอ้อแอ้เมื่อมีอายุ 6 - 9 เดือนและรับรู้ชื่อของตัวเองและคำง่าย ๆ ที่พ่อแม่ใช้บ่อย ๆ
- เมื่ออายุ 7 - 12 เดือน เด็กจะเริ่มพัฒนาทักษะทางด้านร่างกายโดยสามารถคลาน เกาะยืน เดินได้เอง หยิบสิ่งของด้วยนิ้วโป้งและนิ้วชี้ได้
เด็กวัยเตาะแตะ ช่วงอายุ 1 - 3 ขวบ เป็นช่วงอายุที่เด็กเริ่มเป็นตัวของตัวเอง ไม่ชอบให้ใครมาบังคับ เป็นวัยที่มีพัฒนาการทางด้านร่างกายสมองและอารมณ์อย่างรวดเร็ว เด็กจะมีพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดใหญ่โดยสามารถปีนป่าย โยนรับลูกบอลได้ กระโดดอยู่กับที่
และนอกจากนี้ในช่วง 2 - 3 ขวบ เด็กจะมีพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก สามารถใช้นิ้วและแขนได้ดีขึ้น เช่น ใช้ช้อนส้อมกินอาหารด้วยตัวเอง สามารถขีดเขียนแบบง่าย ๆ สมองเด็กเติบโตมากขึ้น สามารถเรียนรู้เรื่องซับซ้อนได้มากขึ้น ปฏิบัติตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ ช่วงนี้จึงเป็นช่วงระยะเวลาที่สำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นวัยที่สมองของเด็กพัฒนาได้มากที่สุดและรวดเร็วที่สุดกว่าช่วงอื่น ๆ ในชีวิต คุณพ่อ คุณแม่จึงควรกระตุ้นให้ลูกสำรวจสิ่งใหม่ ๆ และให้ลูกมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเพื่อสร้างความมั่นใจในตัวเองให้แก่ลูก
3. วิทยากรบรรยาย หัวข้อ “ความรู้ด้านโภชนาการสำหรับมารดาและเด็ก”
โดย นางสาวมัสชุพรรณวจี ทวยเดช ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการวิทยากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งยาว
โภชนาการสำหรับมารดา
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 1
1. อาหาร ทานอาหารตามปกติเหมือนก่อนตั้งครรภ์เท่าที่ทานได้ ในรายที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ควรเป็นอาหารอ่อน ย่อยง่าย หรือเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำหวาน และควรทานครั้งละน้อย ๆ วันละ 4 - 6 มื้อ แต่พออิ่ม ไม่ควรบังคับกำหนดปริมาณในการทาน ซึ่งเป็นการเพิ่มความเครียดให้กับตัวเอง หลักการสำคัญคือ ให้ร่างกายได้รับสารอาหารเพียงพอ
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2
1. อาหาร ในระยะนี้อาการแพ้ท้องมักหายไป เริ่มทานอาหารได้ตามปกติ ควรทานให้ครบ 5 หมู่ อาจมีอาหารทุกประเภทใน 1 มื้อ หรือประเภทใดประเภทหนึ่งสลับกับมื้ออื่น แต่เมื่อรวม 5 - 6 มื้อในแต่ละวัน ต้องรับประทานให้ได้ครบทุกประเภท ไม่ควรรับอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมันมากเกินไป เพราะในช่วงตั้งครรภ์ร่างกายไม่ต้องการอาหารประเภทแป้ง และน้ำตาลเพิ่ม แต่ต้องการเฉพาะโปรตีนเพิ่มขึ้น
2. เน้นผัก ผลไม้ อาหารที่มีกากใยสูง ดื่นน้ำวันละ 6 - 8 แก้ว เพื่อป้องกันอาการท้องผูก
3. ธาตุเหล็ก มีในไข่แดง ตับ ผักใบเขียว ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดงให้มีมากพอที่จะลำเลียงออกซิเจนจากเลือดแม่ไปสู่ลูก
4. ทานแคลเซียม ซึ่งช่วยในการสร้างกระดูกและฟันของลูก และช่วยป้องกันไม่ให้แม่กระดูกพรุน โดยแคลเซียมสามารถทานได้จาก นม ปลาเล็ก ปลาน้อย หรือผักใบเขียวที่แข็ง
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 3
1. อาหาร ควรเพิ่มอาหารประเภทโปรตีน เช่นเดียวกับไตรมาสที่ 2 เช่น เนื้อสัตว์ เนื้อปลา ผักใบเขียวชนิดต่างๆ และอาหารที่มีแคลเซียม เช่น ปลาตัวเล็กทานทั้งก้างได้ หรือนม
2. การฝากครรภ์ การนัดตรวจครรภ์จะบ่อยขึ้น ในไตรมาสนี้จะมีการตรวจปัสสาวะ เพื่อดูน้ำตาลและโปรตีนเช็คความดันโลหิต ติดตามอาการบวม เพื่อตรวจหาว่ามีภาวะครรภ์เป็นพิษหรือไม่
3. การดูแลเต้านม ในระยะ 2 - 3 เดือนก่อนคลอด ร่างกายจะขับสารจำพวกไขมันมาคลุมบริเวณหัวนม และลานนม ดังนั้นการอาบน้ำชำระร่างกาย ไม่ควรฟอกสบู่บริเวณหัวนมมากนัก เพราะจะชะล้างไขมันบริเวณนั้นออกไปหมด ทำให้หัวนมแห้ง และแตกง่าย
โภชนาการสำหรับเด็ก ช่วง 6 เดือนแรก อาหารที่ดีที่สุดของทารกนั้นคือ “นมแม่” เพราะมีสารอาหารมากมายเช่น DHA ช่วยบำรุงสมองและสายตา เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสเกิดโรคภูมิแพ้ เพราะในนมถั่วเหลือง (โคลอสตรัม) มีภูมิคุ้มกันสูงกว่านมวัว 3,000 เท่า
มีสารช่วยย่อย และช่วยเร่งการเจริญเติบโต
อาหารสำหรับเด็กทารก 6 เดือน ได้แก่ ตับ เนื้อสัตว์ ปลาช่อน ปลาน้ำจืด ผักใบเขียว หรือข้าวกล้องบด มันฝรั่งและไข่แดงบด น้ำซุปผัก ไข่ตุ๋น+ผักนิ่ม ๆ ผลไม้สุกจัดนิ่ม ๆ เช่นมะละกอบด, มะม่วงสุกบด, กล้วยน้ำหว้าบด, น้ำส้มคั้นสดไม่มีเมล็ด ไม่ควรปรุงรสใด ๆ เป็นรสหวานธรรมชาติ ไข่แดงควรมีทุกมื้ออาหาร นำไข่แดงที่ต้มสุกแล้วมาบี้ใส่ในข้าวตุ๋น ถ้าคุณแม่กลัวลูกแพ้ไข่ขาวเริ่มให้รับประทานไข่ขาวเมื่ออายุครบ 1 ขวบก็ได้ อาหารค่อย ๆเพิ่มขึ้นทีละน้อย สังเกตการรับประทานอาหารของทารก ว่าสิ่งไหนชอบสิ่งไหนไม่ชอบ
อาหารสำหรับเด็ก 7 เดือน เน้นวัตถุดิบที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวบด ผักต้มนิ่ม ๆ 2 - 4 อย่าง บดรวมกัน กระตุ้นให้เด็กดื่มน้ำบ่อย ๆ จะได้ถ่ายอุจจาระได้ง่ายขึ้น
อาหารสำหรับเด็ก 6 - 9 เดือน บางคนมีฟันน้ำนมขึ้นหนึ่งหรือมากกว่านั้น ฟันจะช่วยให้ลูกเคี้ยว และเพลิดเพลินกับอาหารที่มีเนื้อสัมผัสหยาบขึ้น มีการพัฒนาการหยิบจับของ เช่น หยิบอาหารกินเอง
อาหารสำหรับเด็ก 8 - 9 เดือน อาหารจำพวกแป้งที่เป็นมื้อเล็ก ๆ วันละ 2 มื้อ เช่น ข้าวสวยนิ่ม ขนมปังแผ่น มันฝรั่ง พืชผัก ผลไม้ คละสีสัน มีความหยาบ ละเอียด มีกลิ่นรสหลากหลาย เช่น ผัก ผลไม้ถือรับประทานเองได้ เช่น แตงกวา แครอทต้ม อาหารโปรตีนสูงแต่นุ่มบดง่าย ได้แก่ ไข่แดง ตับไก่ เต้าหู้อ่อน หรือปลา หมุนเวียนกันไป ปริมาณอาหารที่เหมาะสมใน 1 มื้อ ของเด็กคือ ข้าวสวย 5 ช้อน เนื้อสัตว์ ไข่ 2 ช้อน ผักนิ่ม ๆ 2 ช้อน ผลไม้ 3 ชิ้นพอดีคำ น้ำมันพืช 1 ช้อนชา
อาหารสำหรับเด็กวัย 10 - 12 เดือน เด็กสามารถกินอาหารหยาบได้ อาหารควรเปลี่ยน จากบดหรือสับ มาเป็นหั่นชิ้นเล็กแทน เช่น มักกะโรนีต้ม ข้าวต้ม หรือเนื้อปลาสับหยาบ กินอาหาร 3 มื้อ
โภชนาการเด็ก 1 - 3 ปี เด็กช่วงนี้กำลังหัดเดิน ถือเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากวัยทารกสู่วัยเด็กเล็ก ลูกจะสนุกกับการเดินรอบ ๆ ค้นหารสิ่งใหม่ ๆ การจัดอาหาร ต้องอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ วันละ 4 - 6 มื้อ (รวมมื้อว่าง) เน้นโปรตีน เพราะมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายและได้รับพลังงานที่เพียงพอ วันละ 1,000 Kcal./วัน รวมให้นมแม่ด้วย พลังงานส่วนใหญ่มาจากข้าวแป้ง-ธัญพืช น้ำตาล ไขมัน และเนื้อสัตว์
- หมวดข้าวแป้ง รับประทานมื้อละ 1 ทัพพี เน้นข้าวกล้อง หรือ ข้าวซ้อมมื้อ เพราะมีแร่ธาตุ และวิตามินใยอาหารมากกว่าข้าวขาวปกติ
- หมวดเนื้อสัตว์ ควรรับประทานเป็น ไข่ นม เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น เนื้อหมู ปลา ไก่ ถั่วต้มเปื่อย หรือเต้าหู้ โปรตีนช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และการเจริญเติบโต ควรได้รับ 1.4 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และควรได้รับธาตุเหล็กที่เพียงพอ เด็กควรได้กินไข่ 1 ฟองทุกวัน และดื่มนมทุกวัน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะโลหิตจาง
- หมวดไขมัน ไขมันนอกจากให้พลังงานแล้วยังช่วยในการดูดซึมวิตามินบางชนิด เช่น วิตามิน A D E K เด็กได้รับน้ำมันชนิดดีต่อสุขภาพ 3 ช้อนชาต่อวัน
- หมวดผัก ผักอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร ควรให้เด็กรับประทานผักหลากสีสันควรรับประทานผักมื้อละครึ่งทัพพี เป็นผักสีเข้ม เช่น เขียวเข้ม ส้มเข้ม แดงเข้ม เหลืองเข้ม เพื่อส่งเสริมให้เด็ก มีพัฒนาการรอบด้าน สมวัย
- หมวดผลไม้ มีวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร ควรรับประทานผลไม้สด มากกว่าผลไม้แปรรูปหรือน้ำผลไม้เพราะบางครั้งมีรสหวานมากเกินไป เฉลี่ย 1 วัน เด็กควรได้รับประทานผลไม้ 3 ส่วน
- หมวดนม ควรส่งเสริมให้เด็กดื่มนมทุกวัน เพื่อให้ได้รับแคลเซียมเพียงพอ เสริมสร้างมวลกระดูก เด็กควรดื่มนมจืดวันละ 2 - 3 แก้ว
(4) ประเมินผลการดำเนินงาน
1. ร้อยละ 80 มารดาได้รับความรู้เรื่องการดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี
2. ร้อยละ 80 เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเหมาะสมตามวัย
(5) สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
1. มารดาที่เข้าร่วมการอบรมตามโครงการฯได้รับความรู้เรื่องการดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี ร้อยละ 80
2. ในหญิงหลังคลอด พบว่าเด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเหมาะสมตามวัย ร้อยละ 100
หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"
สารบัญ
กิตติกรรมประกาศ | » |
บทคัดย่อ | » |
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล | » |
วัตถุประสงค์โครงการ | » |
กิจกรรม/การดำเนินงาน | » |
กลุ่มเป้าหมาย | » |
ผลลัพธ์ที่ได้ | » |
การประเมินผล | » |
ปัญหาและอุปสรรค | » |
ข้อเสนอแนะ | » |
เอกสารประกอบอื่นๆ | » |
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล
เด็ก คือ อนาคตที่สำคัญของประเทศที่ต้องได้รับการพัฒนาให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ ซึ่งเป็นช่วงเวลาทองของเด็กที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาสมอง คือ ตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนถึงอายุ 2 ปี เพราะโครงสร้างสมองจะมีการพัฒนาสูงสุดทั้งการสร้างเซลล์สมองและการเชื่อมโยงระหว่างเซลล์สมอง เกิดเป็นโครงข่ายใยประสาทนับล้าน และการที่เซลล์สมองมีการเชื่อมต่อกันทำให้เกิดการสื่อสารระหว่างเซลล์อย่าง มีประสิทธิภาพมีผลต่อพัฒนาการทางสมองของเด็ก ส่งผลต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพและมีคุณภาพชีวิตที่ดี นอกจากนี้การเตรียมความพร้อมของสตรีก่อนตั้งครรภ์ ระหว่างตั้งครรภ์ และหลังคลอดนับเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เพราะยังเป็นตัวกำหนดสุขภาพและโรคในอนาคตได้อีกด้วย เพราะในระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี ต้องให้ความสำคัญกับโภชนาการที่ดีตั้งแต่ช่วงแรกของชีวิต คือ ช่วงที่อยู่ในท้องแม่ ช่วงเด็กอายุ 0 - 6 เดือน ช่วงเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 2 ปี แม่ควรกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ให้หลากหลายครบ 5 หมู่ เช่น ปลา ตับ ไข่ ผัก ผลไม้ และนมสดรสจืด และกินวิตามินบำรุง ที่มีไอโอดีน เหล็ก และโฟลิกทุกวัน เพราะหากขาดไอโอดีนลูกน้อยสมองพัฒนาไม่สมบูรณ์ไอคิวต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ดูแลฟัน ออกกำลังกาย นอนหลับวันละ 7 - 9 ชั่วโมงทุกวัน หลังจากนั้นจะต้องเลี้ยงดูและพัฒนาทักษะของเด็ก โดยกระบวนการกระตุ้นผ่านกิจวัตรประจำวัน ดังนั้น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลทุ่งยาว ได้เห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำ “โครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและเด็ก” ขึ้น เพื่อให้ลดปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในหญิงตั้งครรภ์และให้ทารกที่คลอดมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง มีการเจริญเติบโตของสมองและร่างกายเหมาะสมตามวัยเติบโตเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพต่อไป
สถานการณ์
วัตถุประสงค์โครงการ
- เพื่อให้มารดาได้รับความรู้เรื่องการดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี
- เพื่อให้มารดาได้รับความรู้ด้านโภชนาการสำหรับมารดาและเด็ก
- เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการตามช่วงวัยของการเจริญเติบโต
กิจกรรม/การดำเนินงาน
- สำรวจข้อมูลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดในเขตเทศบาลตำบลทุ่งยาว
- จัดทำโครงการเพื่อขอรับการพิจารณาอนุมัติโครงการ
- ดำเนินการตามกิจกรรม
- ประเมินผลการดำเนินงาน
- สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
- สำรวจข้อมูลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดในเขตเทศบาลตำบลทุ่งยาว
- จัดทำโครงการเพื่อขอรับการพิจารณาอนุมัติโครงการ
- กิจกรรม อบรมให้ความรู้แก่มารดา
- ประเมินผลการดำเนินงาน
- สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้ | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | ||
กลุ่มวัยทำงาน | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 10 | |
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | ||
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | ||
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- มารดาได้รับความรู้เรื่องการดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี ร้อยละ 80
- เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเหมาะสมตามวัย ร้อยละ 80
ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์** กิจกรรมของโครงการ | ผลผลิต* | |
---|---|---|
ผลผลิตที่ตั้งไว้ | ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง | |
1. กิจกรรม อบรมให้ความรู้แก่มารดา |
||
วันที่ 1 สิงหาคม 2567 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำโครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและเด็ก กิจกรรม อบรมให้ความรู้แก่มารดา วันที่ 1 สิงหาคม 2567 เวลา 08.30 น. – 16.30 น.ณ ห้องประชุมสภาเทศบาลตำบลทุ่งยาว เวลา 08.30 น. – 08.45 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและเด็ก เวลา 08.45 น. – 09.00 น. พิธีเปิด โดย นายเฉลิมพล ชัยเกษตรสิน นายกเทศมนตรีตำบลทุ่งยาว เวลา 09.00 น. – 10.00 น. วิทยากรบรรยาย หัวข้อ “ความรู้เรื่องการดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี” เวลา 10.00 น. – 10.10 น. พักรับประทานอาหารว่าง เวลา 10.10 น. – 12.00 น. วิทยากรบรรยาย หัวข้อ “ความรู้เรื่องการดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี” (ต่อ) เวลา 12.00 น. – 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน เวลา 13.00 น. – 14.00 น. วิทยากรบรรยาย หัวข้อ “พัฒนาการของเด็กตามช่วงวัยของการเจริญเติบโต” เวลา 14.00 น. – 14.10 น. พักรับประทานอาหารว่าง เวลา 14.10 น. – 16.00 น. วิทยากรบรรยาย หัวข้อ “ความรู้ด้านโภชนาการสำหรับมารดาและเด็ก” เวลา 16.00 น. – 16.30 น. ซักถามข้อสงสัย/ปิดอบรม ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
10 | 0 |
2. สำรวจข้อมูลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดในเขตเทศบาลตำบลทุ่งยาว |
||
วันที่ 5 สิงหาคม 2567 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำสำรวจข้อมูลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด (เด็กอายุ 0-2 ปี) ในเขตเทศบาลตำบลทุ่งยาว เป้าหมาย 10 คน ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นสำรวจกลุ่มเป้าหมายที่สนใจเข้าร่วมอบรมโครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและเด็กได้จำนวน 8 คน
|
10 | 0 |
3. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ |
||
วันที่ 5 สิงหาคม 2567 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำรายละเอียดตามเอกสารสรุปโครงการฯที่แนบ ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกิจกรรม อบรมให้ความรู้แก่มารดา ในวันที่ 1 สิงหาคม 2567 เวลา 08.30 น. – 16.30 น. ณ ห้องประชุมสภาเทศบาลตำบลทุ่งยาว ผลการจัดกิจกรรม รายละเอียด ดังนี้
1. วิทยากรบรรยาย หัวข้อ “ความรู้เรื่องการดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี” โดย นางจริยา สุโสะ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ วิทยากรจากโรงพยาบาลปะเหลียน
การตั้งครรภ์แบ่งออกเป็น 3 ไตรมาส รวมระยะเวลาตั้งครรภ์ทั้งสิ้น 9 เดือน หรือ 40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน
|
0 | 0 |
4. จัดทำโครงการเพื่อขอรับการพิจารณาอนุมัติโครงการ |
||
วันที่ 5 สิงหาคม 2567 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำจัดทำโครงการเพื่อขอรับการพิจารณาอนุมัติโครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและเด็ก ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นได้รับการอนุมัติโครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและเด็ก งบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลทุ่งยาว เป็นเงิน 7,000 บาท
|
0 | 0 |
5. ประเมินผลการดำเนินงาน |
||
วันที่ 5 สิงหาคม 2567 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำตัวชี้วัดความสำเร็จ 1. ร้อยละ 80 มารดาได้รับความรู้เรื่องการดูแล ตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี 2. ร้อยละ 80 เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเหมาะสมตามวัย ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
|
0 | 0 |
* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น
ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม
ผลการดำเนินโครงการ
สรุปผลการดำเนินโครงการ
ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ผลผลิตโครงการ
วัตถุประสงค์ | สถานการณ์ | เป้าหมาย | ผลผลิต | อธิบาย | |
---|---|---|---|---|---|
1 | เพื่อให้มารดาได้รับความรู้เรื่องการดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 มารดาได้รับความรู้เรื่องการดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี |
100.00 | มารดาได้รับความรู้เรื่องการดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี |
||
2 | เพื่อให้มารดาได้รับความรู้ด้านโภชนาการสำหรับมารดาและเด็ก ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเหมาะสมตามวัย |
80.00 | มารดาได้รับความรู้ด้านโภชนาการสำหรับมารดาและเด็ก |
||
3 | เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการตามช่วงวัยของการเจริญเติบโต ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเหมาะสมตามวัย |
80.00 | ร้อยละ 80 เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเหมาะสมตามวัย |
ผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
---|---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | 10 | 8 | |
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) | |
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | |||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | - | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | - | ||
กลุ่มวัยทำงาน | - | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | - | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | |||
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด | 10 | 8 | |
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | - | ||
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ | - | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | - | ||
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] | - |
บทคัดย่อ*
โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
(1) เพื่อให้มารดาได้รับความรู้เรื่องการดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี
(2) เพื่อให้มารดาได้รับความรู้ด้านโภชนาการสำหรับมารดาและเด็ก
(3) เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการตามช่วงวัยของการเจริญเติบโต
ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่
(1) สำรวจข้อมูลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดในเขตเทศบาลตำบลทุ่งยาว
(2) จัดทำโครงการเพื่อขอรับการพิจารณาอนุมัติโครงการ
(3) ดำเนินการตามกิจกรรม กิจกรรม อบรมให้ความรู้แก่มารดา ผลการจัดกิจกรรม รายละเอียด ดังนี้
1. วิทยากรบรรยาย หัวข้อ “ความรู้เรื่องการดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี” โดย นางจริยา สุโสะ ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ วิทยากรจากโรงพยาบาลปะเหลียน
การตั้งครรภ์แบ่งออกเป็น 3 ไตรมาส รวมระยะเวลาตั้งครรภ์ทั้งสิ้น 9 เดือน หรือ 40 สัปดาห์ หรือ 280 วัน
คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 1 (อายุครรภ์ 1 - 3 เดือน) ในช่วงไตรมาสแรก คุณแม่ตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลง เช่น ประจำเดือนไม่มาตามกำหนด เหนื่อย เพลีย จนอยากนอนพักมาก ๆ เต้านม ขยายใหญ่ขึ้น คัดเจ็บเต้านม น้ำหนักตัวคงที่ หรือเพิ่ม 1 - 3 กก. (ในรายที่ไม่แพ้ท้อง) และจะมีอาการแพ้ท้อง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เพราะระดับฮอร์โมนที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว
คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 2 (อายุครรภ์ 4-6 เดือน) ในร่างกายของลูกน้อยจะอยู่ในตำแหน่งเหมาะสมและพร้อมที่จะพัฒนาเติบโตอย่างเต็มที่ต่อไป เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 2 ขนาดของเด็กในครรภ์จะเติบโตเพิ่มเป็น 3 - 4 เท่า ลักษณะของเด็กทารกจะดูคล้ายคนตัวเล็กมากขึ้น
ผู้หญิงส่วนใหญ่จะรู้สึกสบายกว่าเดิม เพราะอาการอ่อนเพลียคลื่นไส้ในช่วงเริ่มตั้งครรภ์จะลดลงจนเกือบกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ร่างกายปรับตัวได้ดีแต่ยังมีการเปลี่ยนแปลงอีกหลายอย่างที่จะเกิดขึ้นต่อไป
คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาส 3 (อายุครรภ์ 7-9 เดือน) คุณแม่ใกล้คลอดท้องจะใหญ่มากหายใจลำบาก มีอาการบวม ลุกนั่งลำบากและเหนื่อยง่าย ผู้หญิงท้องแก่แต่ละคนมีลักษณะหน้าท้องไม่เหมือนกัน แตกต่างทั้งขนาดและรูปร่างจึงนำมาเปรียบเทียบกันไม่ได้ ระยะนี้คุณแม่ควรใส่ใจเรื่องของความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการตั้งครรภ์ เช่น อาการเป็นตะคริว เบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีเลือดออก หรือปัญหาภาวะน้ำคร่ำ ซึ่งจำเป็นต้องให้แพทย์ตรวจครรภ์ก่อนคลอดบ่อยขึ้น
การดูแลตนเองหลังคลอด หลังคลอดบุตรแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างอาจจะดูท่วมท้นไปเสียหมด เป็นเวลาที่คุณแม่จะต้องปรับตัวเข้ากับชีวิตบทใหม่และพักรักษาฟื้นฟูสุขภาพหลังคลอด การดูแลทารกและการที่คุณแม่ดูแลตนเองจึงมีความจําเป็นไม่แพ้กัน เพราะหากแม่มีปัญหาทางด้านสุขภาพกายและใจ ก็จะส่งผลต่อลูกน้อยเป็นอย่างมาก ดังนี้
1. เมื่อกลับไปที่บ้าน จึงควรพยายามนอนพร้อมลูก ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัว
2. ทําเรื่องดูแลลูกให้ง่ายเข้าไว้ในฐานะแม่ แม่จำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจตารางเวลา
3. ล้างมือบ่อย ๆ หลังเข้าห้องน้ำ เปลี่ยนผ้าอ้อม และก่อนให้นมลูก
4. หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรืออะไรที่หนักกว่าลูก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังผ่าตัดคลอดหลีกเลี่ยงการทำให้แผลตึง (แผลผ่าตัดคลอด) เช่น การขึ้นลงบันไดบ่อย ๆ
5. ปฏิเสธไม่ให้คนมาเยี่ยม แม่อาจปฏิเสธไม่ให้คนมาเยี่ยมได้หากรู้สึกไม่พร้อม
6. พบแพทย์ตามนัดหลังคลอดทุกครั้ง ควรไปพบแพทย์ตามนัดหลังคลอดทุกครั้ง แพทย์จะดูแลฝีเย็บและให้คําปรึกษาเรื่องอาการหลังคลอดได้
7. รับประทานวิตามินบำรุงครรภ์รับประทานวิตามินบำรุงครรภ์ที่แพทย์เคยสั่งให้ต่อไปได้
8. ไม่ใช้ผ้าอนามัยแบบสอดหรือสวนล้างช่องคลอดในช่วง 4-6 สัปดาห์แรก ใช้แผ่นอนามัย แบบแผ่นปกติ
9. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และดื่มน้ำวันละ 8 แก้ว รับประทานอาหารที่มีประโยชน์หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์และคาเฟอีน
10. ออกกําลังกายเบา ๆ เช่น การเดิน ซึ่งสามารถช่วยให้ฟื้นตัวสร้างความแข็งแรงและได้มีเวลาพักสมองจากเรื่องการดูแลลูก โดยก่อนเริ่มออกกําลังกายใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อน
11. งดการมีเพศสัมพันธ์ แม่ควรงดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าร่างกายจะฟื้นตัวเต็มที่ ควรรอให้แผลผ่าตัดที่ท้องหรือฝีเย็บหายเป็นปกติเสียก่อน และใช้อุปกรณ์คุมกําเนิดเพื่อป้องกันไม่ให้ตั้งครรภ์ใหม่เร็วจนเกินไป โดยสามารถปรึกษาแพทย์ได้ว่าวิธีการคุมกําเนิดแบบใดที่เหมาะสมที่สุด
การดูแลทารกแรกเกิด การดูแลทารกแรกเกิดมีสองเรื่องด้วยกัน คือการดูแลทางด้านร่างกาย และการดูแลทางด้านจิตใจ การดูแลทางด้านร่างกาย คือ เรื่องโภชนาการอาหาร, การให้ทารกนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ในสถานที่ที่สะอาด อากาศถ่ายเทสะดวก และปลอดภัย, การดูแลระบบขับถ่าย, การดูแลความสะอาด, การดูแลสุขภาพร่างกายให้อบอุ่นแข็งแรง และการดูแลเรื่องระบบทางเดินหายใจสำหรับการดูแลทางด้านจิตใจ คือ การเลี้ยงดูทารกแรกเกิดด้วยความรักและความอบอุ่น ซึ่งจะเป็นการสร้างพื้นฐานทางด้านจิตใจที่ดีให้กับลูกตั้งแต่ยังเล็ก และจะมีผลต่อเนื่องไปจนกระทั่งเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่การดูแลทารกแรกเกิดในเรื่องต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้
1. อาหารสำหรับทารกแรกเกิด องค์การอนามัยโลกแนะนำ “ให้นมแม่อย่างเดียว 6 เดือน และนมแม่ร่วมกับอาหารเสริมนานจนถึง 2 ปี หรือมากกว่า” เพราะ น้ำนมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก และสารอาหารในนมแม่ไม่สามารถทดแทนได้ด้วยนมผสม คุณแม่ควรให้ลูกดูด นมแม่ ทันทีหลังคลอดและให้ดูด 8 - 12 ครั้งต่อวัน ก่อนให้นมคุณแม่ต้องล้างมือทุกครั้ง ส่วนหัวนมทำความสะอาดเวลาเช้าและเย็นขณะอาบน้ำก็เพียงพอแล้ว
2. การอุ้มทารกแรกเกิด มี 3 แบบ ดังนี้
- การอุ้มในท่าปกติ ทำได้โดยคุณแม่อุ้มทารกตะแคงเข้าหาทางหน้าอก ให้ท้ายทอยของทารกอยู่บนข้อพับแขนของคุณแม่ วางทอดแขนไปตามลำตัวของทารก อีกมืออุ้มช้อนส่วนก้นและช่วงขา ลำตัวทารกแนบชิดกับลำตัวของแม่ ให้ศีรษะ คอ และลำตัว อยู่ในแนวเดียวกัน
- การอุ้มเรอ มีสองท่าคือท่าอุ้มพาดบ่า ให้หน้าท้องของทารกกดบริเวณไหล่ของแม่เพื่อไล่ลม และท่าอุ้มนั่งบนตัก โดยให้ทารกหันหน้าออก มือข้างหนึ่งของแม่จับที่หน้าอกของทารก ส่วนมืออีกข้างลูบหลัง ขณะลูบให้โน้มตัวทารกไปข้างหน้าเล็กน้อย เพื่อให้หน้าท้องถูกกดและไล่ลมออก
- การอุ้มปลอบ คล้ายกับการอุ้มเรอ แต่คุณแม่พูดคุยกับทารกไปด้วยเพื่อให้ทารกรู้สึกสงบและปลอดภัย
3. การอาบน้ำทารกแรกเกิด ต้องระวังในเรื่องของสถานที่และเวลาในการอาบ ควรอาบในบริเวณที่ไม่มีลมโกรก อาบวันละสองครั้งและสระผมวันละครั้ง (หรือตามสภาพอากาศ) ในช่วงสาย ๆ หรือบ่าย ๆ ขณะที่มีอากาศอบอุ่น ควรอาบประมาณ 5 - 7 นาทีก็เพียงพอแล้ว
4. การดูแลสุขภาพช่องปากของทารกแรกเกิด ทำได้โดย ใช้นิ้วพันผ้านุ่ม ๆ ชุบน้ำต้มสุกที่สะอาดเช็ดให้ทั่วภายในช่องปาก บริเวณลิ้น เหงือก เพดานปาก และกระพุ้งแก้ม เพื่อไม่ให้มีคราบน้ำนมติดอยู่ทำความสะอาดวันละสองครั้ง เช้าและเย็นหลังให้นมแม่
5. การให้ภูมิคุ้มกันโรค (วัคซีน) สำหรับทารกแรกเกิด ทารกแรกเกิดทุกรายจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันวัณโรค (บีซีจี) และตับอักเสบ บี จากโรงพยาบาลหรือสถานีอนามัยใกล้บ้าน โดยจะบันทึกไว้ในสมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็กและจะนัดให้มารับวัคซีนครั้งต่อไป
คุณพ่อคุณแม่ต้องพาลูกมารับวัคซีนตามนัด หลังจากฉีดวัคซีนควรดูแลแผลทุกครั้ง
2. วิทยากรบรรยาย หัวข้อ “พัฒนาการของเด็กตามช่วงวัยของการเจริญเติบโต” โดย นางสาวมัสชุพรรณวจี ทวยเดช ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ วิทยากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งยาว
พัฒนาการ คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงในด้านการทำหน้าที่และวุฒิภาวะของอวัยวะในร่างกาย และตัวบุคคล ทำให้สามารถทำสิ่งที่ยากและซับซ้อนขึ้นได้ โดยมีการเพิ่มทักษะใหม่ ๆ และความสามารถในการปรับตัว เพื่อให้บุคคลนั้น สามารถใช้ชีวิตประจำวันอยู่ได้
ซึ่งพัฒนาการของเด็ก จะประกอบไปด้วย
1. พัฒนาการด้านการเคลื่อนไหว
2. พัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กและสติปัญญา
3. พัฒนาการด้านการเข้าใจและการใช้ภาษา
4. พัฒนาการด้านการช่วยเหลือตนเองและสังคม
เด็กแรกเกิด ตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 1 เดือนแรก เป็นช่วงเวลาของการเรียนรู้พ่อแม่และลูกน้อย เด็กในวัยนี้จะมีแค่การกิน นอน ร้อง ถ่าย การเคลื่อนไหวของเด็กวัยนี้จะเป็นปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งต่าง ๆ โดยอัตโนมัติ เช่น สะดุ้งเมื่อได้ยินเสียงดัง ขยับศีรษะเมื่อมีคนลูบแก้ม เป็นต้น
เด็กทารก เด็กที่มีอายุระหว่าง 1 - 12 เดือน จะเริ่มแสดงออกถึงพัฒนาการใหม่ ๆ
- เมื่อเด็กมีอายุ 3 - 6 เดือน เด็กจะสามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของศีรษะ ตั้งศีรษะนิ่งคอไม่อ่อนพับไปมา (sit with head steady) พลิกคว่ำ หงายได้ จดจำใบหน้าของพ่อ แม่และคนใกล้ชิดได้
- เด็กจะเริ่มพูดอ้อแอ้เมื่อมีอายุ 6 - 9 เดือนและรับรู้ชื่อของตัวเองและคำง่าย ๆ ที่พ่อแม่ใช้บ่อย ๆ
- เมื่ออายุ 7 - 12 เดือน เด็กจะเริ่มพัฒนาทักษะทางด้านร่างกายโดยสามารถคลาน เกาะยืน เดินได้เอง หยิบสิ่งของด้วยนิ้วโป้งและนิ้วชี้ได้
เด็กวัยเตาะแตะ ช่วงอายุ 1 - 3 ขวบ เป็นช่วงอายุที่เด็กเริ่มเป็นตัวของตัวเอง ไม่ชอบให้ใครมาบังคับ เป็นวัยที่มีพัฒนาการทางด้านร่างกายสมองและอารมณ์อย่างรวดเร็ว เด็กจะมีพัฒนาการของกล้ามเนื้อมัดใหญ่โดยสามารถปีนป่าย โยนรับลูกบอลได้ กระโดดอยู่กับที่
และนอกจากนี้ในช่วง 2 - 3 ขวบ เด็กจะมีพัฒนาการกล้ามเนื้อมัดเล็ก สามารถใช้นิ้วและแขนได้ดีขึ้น เช่น ใช้ช้อนส้อมกินอาหารด้วยตัวเอง สามารถขีดเขียนแบบง่าย ๆ สมองเด็กเติบโตมากขึ้น สามารถเรียนรู้เรื่องซับซ้อนได้มากขึ้น ปฏิบัติตามคำสั่งง่าย ๆ ได้ ช่วงนี้จึงเป็นช่วงระยะเวลาที่สำคัญในการส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นวัยที่สมองของเด็กพัฒนาได้มากที่สุดและรวดเร็วที่สุดกว่าช่วงอื่น ๆ ในชีวิต คุณพ่อ คุณแม่จึงควรกระตุ้นให้ลูกสำรวจสิ่งใหม่ ๆ และให้ลูกมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเพื่อสร้างความมั่นใจในตัวเองให้แก่ลูก
3. วิทยากรบรรยาย หัวข้อ “ความรู้ด้านโภชนาการสำหรับมารดาและเด็ก”
โดย นางสาวมัสชุพรรณวจี ทวยเดช ตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพชำนาญการวิทยากรจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งยาว
โภชนาการสำหรับมารดา
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 1
1. อาหาร ทานอาหารตามปกติเหมือนก่อนตั้งครรภ์เท่าที่ทานได้ ในรายที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ควรเป็นอาหารอ่อน ย่อยง่าย หรือเครื่องดื่มชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำหวาน และควรทานครั้งละน้อย ๆ วันละ 4 - 6 มื้อ แต่พออิ่ม ไม่ควรบังคับกำหนดปริมาณในการทาน ซึ่งเป็นการเพิ่มความเครียดให้กับตัวเอง หลักการสำคัญคือ ให้ร่างกายได้รับสารอาหารเพียงพอ
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2
1. อาหาร ในระยะนี้อาการแพ้ท้องมักหายไป เริ่มทานอาหารได้ตามปกติ ควรทานให้ครบ 5 หมู่ อาจมีอาหารทุกประเภทใน 1 มื้อ หรือประเภทใดประเภทหนึ่งสลับกับมื้ออื่น แต่เมื่อรวม 5 - 6 มื้อในแต่ละวัน ต้องรับประทานให้ได้ครบทุกประเภท ไม่ควรรับอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล และไขมันมากเกินไป เพราะในช่วงตั้งครรภ์ร่างกายไม่ต้องการอาหารประเภทแป้ง และน้ำตาลเพิ่ม แต่ต้องการเฉพาะโปรตีนเพิ่มขึ้น
2. เน้นผัก ผลไม้ อาหารที่มีกากใยสูง ดื่นน้ำวันละ 6 - 8 แก้ว เพื่อป้องกันอาการท้องผูก
3. ธาตุเหล็ก มีในไข่แดง ตับ ผักใบเขียว ช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดงให้มีมากพอที่จะลำเลียงออกซิเจนจากเลือดแม่ไปสู่ลูก
4. ทานแคลเซียม ซึ่งช่วยในการสร้างกระดูกและฟันของลูก และช่วยป้องกันไม่ให้แม่กระดูกพรุน โดยแคลเซียมสามารถทานได้จาก นม ปลาเล็ก ปลาน้อย หรือผักใบเขียวที่แข็ง
คำแนะนำสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 3
1. อาหาร ควรเพิ่มอาหารประเภทโปรตีน เช่นเดียวกับไตรมาสที่ 2 เช่น เนื้อสัตว์ เนื้อปลา ผักใบเขียวชนิดต่างๆ และอาหารที่มีแคลเซียม เช่น ปลาตัวเล็กทานทั้งก้างได้ หรือนม
2. การฝากครรภ์ การนัดตรวจครรภ์จะบ่อยขึ้น ในไตรมาสนี้จะมีการตรวจปัสสาวะ เพื่อดูน้ำตาลและโปรตีนเช็คความดันโลหิต ติดตามอาการบวม เพื่อตรวจหาว่ามีภาวะครรภ์เป็นพิษหรือไม่
3. การดูแลเต้านม ในระยะ 2 - 3 เดือนก่อนคลอด ร่างกายจะขับสารจำพวกไขมันมาคลุมบริเวณหัวนม และลานนม ดังนั้นการอาบน้ำชำระร่างกาย ไม่ควรฟอกสบู่บริเวณหัวนมมากนัก เพราะจะชะล้างไขมันบริเวณนั้นออกไปหมด ทำให้หัวนมแห้ง และแตกง่าย
โภชนาการสำหรับเด็ก ช่วง 6 เดือนแรก อาหารที่ดีที่สุดของทารกนั้นคือ “นมแม่” เพราะมีสารอาหารมากมายเช่น DHA ช่วยบำรุงสมองและสายตา เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ลดโอกาสเกิดโรคภูมิแพ้ เพราะในนมถั่วเหลือง (โคลอสตรัม) มีภูมิคุ้มกันสูงกว่านมวัว 3,000 เท่า
มีสารช่วยย่อย และช่วยเร่งการเจริญเติบโต
อาหารสำหรับเด็กทารก 6 เดือน ได้แก่ ตับ เนื้อสัตว์ ปลาช่อน ปลาน้ำจืด ผักใบเขียว หรือข้าวกล้องบด มันฝรั่งและไข่แดงบด น้ำซุปผัก ไข่ตุ๋น+ผักนิ่ม ๆ ผลไม้สุกจัดนิ่ม ๆ เช่นมะละกอบด, มะม่วงสุกบด, กล้วยน้ำหว้าบด, น้ำส้มคั้นสดไม่มีเมล็ด ไม่ควรปรุงรสใด ๆ เป็นรสหวานธรรมชาติ ไข่แดงควรมีทุกมื้ออาหาร นำไข่แดงที่ต้มสุกแล้วมาบี้ใส่ในข้าวตุ๋น ถ้าคุณแม่กลัวลูกแพ้ไข่ขาวเริ่มให้รับประทานไข่ขาวเมื่ออายุครบ 1 ขวบก็ได้ อาหารค่อย ๆเพิ่มขึ้นทีละน้อย สังเกตการรับประทานอาหารของทารก ว่าสิ่งไหนชอบสิ่งไหนไม่ชอบ
อาหารสำหรับเด็ก 7 เดือน เน้นวัตถุดิบที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวบด ผักต้มนิ่ม ๆ 2 - 4 อย่าง บดรวมกัน กระตุ้นให้เด็กดื่มน้ำบ่อย ๆ จะได้ถ่ายอุจจาระได้ง่ายขึ้น
อาหารสำหรับเด็ก 6 - 9 เดือน บางคนมีฟันน้ำนมขึ้นหนึ่งหรือมากกว่านั้น ฟันจะช่วยให้ลูกเคี้ยว และเพลิดเพลินกับอาหารที่มีเนื้อสัมผัสหยาบขึ้น มีการพัฒนาการหยิบจับของ เช่น หยิบอาหารกินเอง
อาหารสำหรับเด็ก 8 - 9 เดือน อาหารจำพวกแป้งที่เป็นมื้อเล็ก ๆ วันละ 2 มื้อ เช่น ข้าวสวยนิ่ม ขนมปังแผ่น มันฝรั่ง พืชผัก ผลไม้ คละสีสัน มีความหยาบ ละเอียด มีกลิ่นรสหลากหลาย เช่น ผัก ผลไม้ถือรับประทานเองได้ เช่น แตงกวา แครอทต้ม อาหารโปรตีนสูงแต่นุ่มบดง่าย ได้แก่ ไข่แดง ตับไก่ เต้าหู้อ่อน หรือปลา หมุนเวียนกันไป ปริมาณอาหารที่เหมาะสมใน 1 มื้อ ของเด็กคือ ข้าวสวย 5 ช้อน เนื้อสัตว์ ไข่ 2 ช้อน ผักนิ่ม ๆ 2 ช้อน ผลไม้ 3 ชิ้นพอดีคำ น้ำมันพืช 1 ช้อนชา
อาหารสำหรับเด็กวัย 10 - 12 เดือน เด็กสามารถกินอาหารหยาบได้ อาหารควรเปลี่ยน จากบดหรือสับ มาเป็นหั่นชิ้นเล็กแทน เช่น มักกะโรนีต้ม ข้าวต้ม หรือเนื้อปลาสับหยาบ กินอาหาร 3 มื้อ
โภชนาการเด็ก 1 - 3 ปี เด็กช่วงนี้กำลังหัดเดิน ถือเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านจากวัยทารกสู่วัยเด็กเล็ก ลูกจะสนุกกับการเดินรอบ ๆ ค้นหารสิ่งใหม่ ๆ การจัดอาหาร ต้องอุดมไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ วันละ 4 - 6 มื้อ (รวมมื้อว่าง) เน้นโปรตีน เพราะมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายและได้รับพลังงานที่เพียงพอ วันละ 1,000 Kcal./วัน รวมให้นมแม่ด้วย พลังงานส่วนใหญ่มาจากข้าวแป้ง-ธัญพืช น้ำตาล ไขมัน และเนื้อสัตว์
- หมวดข้าวแป้ง รับประทานมื้อละ 1 ทัพพี เน้นข้าวกล้อง หรือ ข้าวซ้อมมื้อ เพราะมีแร่ธาตุ และวิตามินใยอาหารมากกว่าข้าวขาวปกติ
- หมวดเนื้อสัตว์ ควรรับประทานเป็น ไข่ นม เนื้อสัตว์ต่างๆ เช่น เนื้อหมู ปลา ไก่ ถั่วต้มเปื่อย หรือเต้าหู้ โปรตีนช่วยในการเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และการเจริญเติบโต ควรได้รับ 1.4 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และควรได้รับธาตุเหล็กที่เพียงพอ เด็กควรได้กินไข่ 1 ฟองทุกวัน และดื่มนมทุกวัน เพื่อป้องกันการเกิดภาวะโลหิตจาง
- หมวดไขมัน ไขมันนอกจากให้พลังงานแล้วยังช่วยในการดูดซึมวิตามินบางชนิด เช่น วิตามิน A D E K เด็กได้รับน้ำมันชนิดดีต่อสุขภาพ 3 ช้อนชาต่อวัน
- หมวดผัก ผักอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร ควรให้เด็กรับประทานผักหลากสีสันควรรับประทานผักมื้อละครึ่งทัพพี เป็นผักสีเข้ม เช่น เขียวเข้ม ส้มเข้ม แดงเข้ม เหลืองเข้ม เพื่อส่งเสริมให้เด็ก มีพัฒนาการรอบด้าน สมวัย
- หมวดผลไม้ มีวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร ควรรับประทานผลไม้สด มากกว่าผลไม้แปรรูปหรือน้ำผลไม้เพราะบางครั้งมีรสหวานมากเกินไป เฉลี่ย 1 วัน เด็กควรได้รับประทานผลไม้ 3 ส่วน
- หมวดนม ควรส่งเสริมให้เด็กดื่มนมทุกวัน เพื่อให้ได้รับแคลเซียมเพียงพอ เสริมสร้างมวลกระดูก เด็กควรดื่มนมจืดวันละ 2 - 3 แก้ว
(4) ประเมินผลการดำเนินงาน
1. ร้อยละ 80 มารดาได้รับความรู้เรื่องการดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี
2. ร้อยละ 80 เด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเหมาะสมตามวัย
(5) สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
1. มารดาที่เข้าร่วมการอบรมตามโครงการฯได้รับความรู้เรื่องการดูแลตนเองตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการตั้งครรภ์ตลอดอายุครรภ์จนถึงหลังคลอดไปจนกระทั่งเด็กอายุ 2 ปี ร้อยละ 80
2. ในหญิงหลังคลอด พบว่าเด็กมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการเหมาะสมตามวัย ร้อยละ 100
หมายเหตุ *
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
ปัญหาและอุปสรรค | สาเหตุ | ข้อเสนอแนะ |
---|---|---|
|
|
|
ส่วนที่ 3 ประเมินคุณค่าโครงการ
แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและเด็ก
รหัสโครงการ 67-L8018-01-03 รหัสสัญญา 10/2567 ระยะเวลาโครงการ 1 มิถุนายน 2567 - 31 สิงหาคม 2567
แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้
- ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
- การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
- ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
- กระบวนการชุมชน
- มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
3. กระบวนการใหม่
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
6. แหล่งเรียนรู้ใหม่
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
99. อื่นๆ
2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
2. การบริโภค
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
3. การออกกำลังกาย
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
9. อื่นๆ
3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ)
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
5. อื่นๆ
4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
3. มีธรรมนูญของชุมชน
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ
5. เกิดกระบวนการชุมชน
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน)
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน)
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
7. อื่นๆ
6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา
คุณค่าที่เกิดขึ้น
ประเด็น ผลที่เกิดขึ้น รายละเอียด/การจัดการ หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง แนวทางการพัฒนาต่อ ใช่ ไม่ใช่
6. อื่นๆ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและเด็ก
รหัสโครงการ 67-L8018-01-03 รหัสสัญญา 10/2567 ระยะเวลาโครงการ 1 มิถุนายน 2567 - 31 สิงหาคม 2567
แบบประเมินคุณค่าของโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ เป็นการคุณค่าที่เกิดจากโครงการในมิติต่อไปนี้
- ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพและนวัตกรรมเชิงระบบสุขภาพชุมชน
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่มีผลต่อสุขภาวะ
- การปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาวะ
- ผลกระทบเชิงบวกและนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการสร้างสุขภาวะชุมชน
- กระบวนการชุมชน
- มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
---|---|---|---|---|---|
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
1. เกิดความรู้ หรือ นวัตกรรมชุมชน |
|||||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
1. ความรู้ใหม่ / องค์ความรู้ใหม่ |
|
|
|
||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
2. สิ่งประดิษฐ์ / ผลผลิตใหม่ |
|
|
|
||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
3. กระบวนการใหม่ |
|
|
|
||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
4. วิธีการทำงาน / การจัดการใหม่ |
|
|
|
||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
5. การเกิดกลุ่ม / โครงสร้างในชุมชนใหม่ |
|
|
|
||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
6. แหล่งเรียนรู้ใหม่ |
|
|
|
||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
99. อื่นๆ |
|
|
|
||
2. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เอื้อต่อสุขภาพ |
|||||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
1. การดูแลสุขอนามัยส่วนบุคคล |
|
|
|
||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
2. การบริโภค |
|
|
|
||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
3. การออกกำลังกาย |
|
|
|
||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
4. การลด ละ เลิก อบายมุข เช่น การพนัน เหล้า บุหรี่ |
|
|
|
||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
5. การลดพฤติกรรมเสี่ยง เช่น พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ การขับรถโดยประมาท |
|
|
|
||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
6. การจัดการอารมณ์ / ความเครียด |
|
|
|
||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
7. การดำรงชีวิต / วิถีชีวิต เช่น การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น / สมุนไพรในการดูแลสุขภาพตนเอง |
|
|
|
||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
8. พฤติกรรมการจัดการตนเอง ครอบครัว ชุมชน |
|
|
|
||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
9. อื่นๆ |
|
|
|
||
3. การสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ (กายภาพ สังคม และเศรษฐกิจ) |
|||||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
1. กายภาพ เช่น มีการจัดการขยะ ป่า น้ำ การใช้สารเคมีเกษตร และการสร้างสิ่งแวดล้อมในครัวเรือนที่ถูกสุขลักษณะ |
|
|
|
||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
2. สังคม เช่น มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ลดการเกิดอุบัติเหตุ ครอบครัวอบอุ่น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อเด็ก เยาวชน และกลุ่มวัยต่าง ๆ มีพื้นที่สาธารณะ/พื้นที่ทางสังคม เพื่อเอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพของคนในชุมชน มีการใช้ศาสนา/วัฒนธรรมเป็นฐานการพัฒนา |
|
|
|
||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
3. เศรษฐกิจสร้างสรรค์สังคม /สร้างอาชีพ / เพิ่มรายได้ |
|
|
|
||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
4. มีการบริการสุขภาพทางเลือก และมีช่องทางการเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ |
|
|
|
||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
5. อื่นๆ |
|
|
|
||
4. การพัฒนานโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อสุขภาวะ |
|||||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
1. มีกฎ / กติกา ของกลุ่ม ชุมชน |
|
|
|
||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
2. มีมาตรการทางสังคมของกลุ่ม ชุมชน |
|
|
|
||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
3. มีธรรมนูญของชุมชน |
|
|
|
||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
4. อื่นๆ เช่น ออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น ฯลฯ |
|
|
|
||
5. เกิดกระบวนการชุมชน |
|||||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
1. เกิดการเชื่อมโยงประสานงานระหว่างกลุ่ม / เครือข่าย (ใน และหรือนอกชุมชน) |
|
|
|
||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
2. การเรียนรู้การแก้ปัญหาชุมชน (การประเมินปัญหา การวางแผน การปฏิบัติการ และการประเมิน) |
|
|
|
||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
3. การใช้ประโยชน์จากทุนในชุมชน เช่น การระดมทุน การใช้ทรัพยากรบุคคลในชุมชน |
|
|
|
||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
4. มีการขับเคลื่อนการดำเนินงานของกลุ่มและชุมชนที่เกิดจากโครงการอย่างต่อเนื่อง |
|
|
|
||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
5. เกิดกระบวนการจัดการความรู้ในชุมชน |
|
|
|
||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
6. เกิดทักษะในการจัดการโครงการ เช่น การใช้ข้อมูลในการตัดสินใจ การทำแผนปฏิบัติการ |
|
|
|
||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
7. อื่นๆ |
|
|
|
||
6. มิติสุขภาวะปัญญา / สุขภาวะทางจิตวิญญาณ |
|||||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
1. ความรู้สึกภาคภูมิใจในตัวเอง / กลุ่ม / ชุมชน |
|
|
|
||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
2. การเห็นประโยชน์ส่วนรวมและส่วนตนอย่างสมดุล |
|
|
|
||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
3. การใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย และพอเพียง |
|
|
|
||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
4. ชุมชนมีความเอื้ออาทร |
|
|
|
||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
5. มีการตัดสินใจโดยใช้ฐานปัญญา |
|
|
|
||
คุณค่าที่เกิดขึ้น ประเด็น | ผลที่เกิดขึ้น | รายละเอียด/การจัดการ | หลักฐาน/แหล่งอ้างอิง | แนวทางการพัฒนาต่อ | |
ใช่ | ไม่ใช่ | ||||
6. อื่นๆ |
|
|
|
||
โครงการส่งเสริมสุขภาพมารดาและเด็ก จังหวัด ตรัง
รหัสโครงการ 67-L8018-01-03
ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว
( กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลทุ่งยาว )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......