โครงการ รณรงค์ ควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออกหมู่ 2 ตำบลน้ำผุด ปีงบประมาณ 2567
ชื่อโครงการ | โครงการ รณรงค์ ควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออกหมู่ 2 ตำบลน้ำผุด ปีงบประมาณ 2567 |
รหัสโครงการ | 67-L1498-2-014 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรม อสม.หมู่ที่ 2 ตำบลน้ำผุด |
วันที่อนุมัติ | 28 มิถุนายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 ตุลาคม 2567 |
งบประมาณ | 12,100.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ชมรม อสม.หมู่ที่ 2 ตำบลน้ำผุด |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | หมู่ที่ 2 ตำบลน้ำผุด อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 604 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย เกิดจากติดเชื้อไวรัสเดงกีที่มีอยู่ 4 สายพันธุ์ ดังนั้นคนๆ หนึ่งจะเป็นโรคไข้เลือดออกได้ 4 ครั้ง และหากได้รับเชื้อซ้ำในต่างสายพันธุ์กันจะเสี่ยงทำให้เกิดอาการรุนแรงมากขึ้น หากพบผู้สงสัยป่วยไข้เลือดออก เช่น มีไข้สูง ทานยาลดไข้แล้วไข้ไม่ลดลงนานเกิน 2 วัน หน้าแดง ตาแดง ปวดท้องถ่ายดำ มีเลือดออกตามไรฟัน หรือเลือดกำเดา ให้สงสัยว่าอาจป่วยเป็นโรคไข้เลือดออก อย่าปล่อยไว้ ให้รีบรับการรักษาจะช่วยลดโอกาสเสียชีวิตลงได้ สถานการณ์การระบาดของโรค พบว่า มีอุบัติการณ์ต่ำกว่าค่ามัธยฐาน 5 ปี ย้อนหลังอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาเกือบ 2 ปี (พ.ศ.2565-2566) จึงมีโอกาสที่ในปี พ.ศ.2567 จะเกิดการระบาดมากขึ้น ซึ่งคาดการณ์ว่าตลอดทั้งปีอาจมีผู้ป่วยสูงถึง 95,000 ราย โดยช่วงไตรมาสแรกของปีมีแนวโน้มพบจำนวนผู้ป่วยประมาณ 3,000-5,000 รายต่อเดือน และเริ่มสูงขึ้นในเดือนพฤษภาคม จนสูงที่สุดประมาณ 10,000-16,000 รายต่อเดือน ในช่วงฤดูฝน (เดือนมิถุนายน – กันยายน) และจากการพิจารณาพื้นที่ระดับอำเภอเมือง อำเภอที่ตั้งของเทศบาลนครหรืออำเภอที่มีการระบาดของโรคไข้เลือดออกซ้ำซากในช่วง 5 ปี ที่ผ่านมา (พ.ศ.2562-2566) โรคไข้เลือดออก ปี 2566ในภาพรวมทั้งประเทศ 1 ม.ค.-1 พ.ย.2566 มีผู้ป่วยสะสม 123,081 คน เสียชีวิต 139 คน ซึ่งผู้ป่วยในปี 2566 พบว่าสูงกว่าปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกัน 3.4 เท่า โดยมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในสัปดาห์ล่าสุด 3,613 คนและอัตราป่วยตายสูงสุดอยู่ในกลุ่มอายุ 25-34 ปี ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง และภาวะอ้วน ข้อมูลจากรายงานการเฝ้าระวังโรคทางระบาดวิทยา 506 กองระบาดวิทยา ) สถานการณ์โรคไข้เลือดออกย้อนหลัง 3 ปี ในหมู่ที่ 2 ปี 2564 จำนวน 1 ราย ปี 2565 ไม่พบผู้ป่วยและ ปี2566 ไม่มีผู้ป่วยแต่พบเคสควบคุม จำนวน 3 ราย จากสถานการณ์การของโรคไข้เลือดออกของหมู่ที่ 2 ตำบลน้ำผุด ในปี 2566 ไม่พบผู้ป่วยไข้เลือดออก เนื่องจากระบบการควบคุมป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไม่เกิดโรคไข้เลือดออก ดังนั้น เพื่อการควบคุม ป้องกันการแพร่ระบาดในวงกว้างและลดความรุนแรงของโรคในช่วงก่อนฤดูกาลระบาด เป็นการลดจำนวนป่วย และนำไปสู่การเสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก ชมรม อสม. หมู่ 2 ตำบลน้ำผุด อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง ได้เห็นความสำคัญในการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงได้จัดทำโครงการรณรงค์ ควบคุม ป้องกัน โรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2567 ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 - 10 ก.ค. 67 | 1ประชุมชี้แจง | 0 | 0.00 | - | ||
1 - 15 ก.ค. 67 | จัดซื้อวัสดุอุปกรณ์และทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย | 0 | 12,100.00 | - | ||
1 ก.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 | . กิจกรรมรณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย | 0 | 0.00 | - | ||
รวม | 0 | 12,100.00 | 0 | 0.00 |
1.ประชาชนสามารถทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายอย่างต่อเนื่อง 2.อัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกลดลงไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร 3. ไม่มีอัตราป่วยตายด้วยโรคไข้เลือดออกในพื้นที่หมู่ที่ 2 ตำบลน้ำผุด
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2567 00:00 น.