กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคัดกรองมะเร็งเต้านมในสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสตำบลพะตง ประจำปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ 67-L7890-01-004
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯตำบลพะตง
วันที่อนุมัติ 18 มิถุนายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 4 กรกฎาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 20,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลพะตง โดยนางสาวสุคนธ์ ชัยชนะ ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯตำบลพะตง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพะตง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.837,100.558place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 5 ก.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 20,000.00
รวมงบประมาณ 20,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สถานการณ์โรคมะเร็งของไทย จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข (Health Data Center) ปี 2565 พบว่า หญิงไทย พบ เป็นมะเร็งเต้านมมากที่สุด จำนวน 38,559 ราย รองลงมา คือ มะเร็งปากมดลูก จำนวน 12,956 ราย สำหรับโรคมะเร็งเต้านมส่วนมาก พบในหญิงอายุ 60 ปี ขึ้นไป มากที่สุดจำนวน 19,776 ราย รองลงมา คือ อายุ 50 – 59 ปี จำนวน 12,181 ราย และ อายุ 40 – 49 ปี จำนวน 5,177 ราย แสดงให้เห็นว่าโรคมะเร็งเต้านมเป็นภัยเงียบใกล้ตัว เนื่องจากในระยะแรกของการเป็นมะเร็งเต้านมจะไม่แสดงอาการ ไม่เจ็บ ไม่ปวด จะปรากฏอาการผิดปกติให้เห็นเมื่ออยู่ในระยะที่ก้อนมะเร็งมีการอักเสบ และลุกลามไปทั่วแล้ว ซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมาก กลุ่มเสี่ยงมะเร็งเต้านมพบในหญิงที่มีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ หรือมีประวัติเคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน หรือเคยมีก้อนบริเวณเต้านม ที่ผลการตรวจพบว่าผิดปกติ หรือมีประจำเดือนครั้งแรก ก่อนอายุ 12 ปี หมดประจำเดือนหลังอายุ 55 ปี หรือเคยรับการฉายรังสีบริเวณทรวงอกก่อนอายุ 30 ปี และผู้หญิงที่สูบบุหรี่จัด ดื่มเหล้า ไม่ออกกำลังกาย โดยพบว่าผู้ที่มีอายุ 15 – 49 ปี ที่น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 10 กิโลกรัม จะมีโอกาสเกิดมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 ในขณะที่ผู้ชายก็มีสิทธิ์เป็นมะเร็งเต้านมได้ 1 ใน 100 ของผู้ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม กรมอนามัยจึงแนะนำให้หญิงไทย ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ควรเริ่มฝึกทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง เป็นประจำทุกเดือน ซึ่งจะทำให้รู้ถึงสภาพที่เป็นปกติของเต้านม หากเกิดความผิดปกติของเต้านมจะสามารถพบได้ ตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม ซึ่งเมื่อคลำพบก้อนที่โตระยะขนาด 2 – 5 เซนติเมตร อัตราการรอดชีวิตมีถึง ร้อยละ 75 – 90 แต่หากคลำพบก้อนขนาด 5 เซนติเมตรขึ้นไป อัตราการรอดมีเพียงร้อยละ 15 – 30 เท่านั้น (อ้างอิง https://multimedia.anamai.moph.go.th/news/140366/) การป้องกันมะเร็งเต้านม คือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น ลดอาหารไขมัน และการป้องกันที่ดีที่สุด คือการตรวจพบให้เร็วที่สุด ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ซึ่งทำได้ ๒ วิธี คือ
๑) การตรวจเต้านมด้วยตนเอง ซึ่งสามารถคลำพบก้อนที่โตประมาณ ๑ ซม. ขึ้นไปได้ หากตรวจพบในระยะ  ๒-๕ ซม.อัตราการรอดชีวิตมีถึงร้อยละ ๙๐-๗๕ หากคลำพบก้อนขนาด ๕ ซม. ขึ้นไปอัตราการรอดชีวิตมีถึงร้อยละ ๑๕-๓๐ เท่านั้น
๒) การตรวจเต้านมด้วยเครื่องเอกซเรย์เต้านม (Mammogram) จะสามารถพบก้อนได้ตั้งแต่ขนาด ๒-๓ มม. ขึ้นไป หากพบในระยะนี้การรักษาจะหายเกือบ ๑๐๐ % เพราะมะเร็งมีขนาดเล็กมากยังไม่แพร่ไปที่อื่น แต่การเอ็กซเรย์เต้านมนั้นไม่อยู่ในสิทธิประโยชน์ตามหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จากข้อมูลประชากรของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลพะตง ณ มิถุนายน ๒๕๖๗ ตำบลพะตง      มีประชากรกลุ่มเสี่ยงสตรี อายุตั้งแต่ ๓๐ ปีขึ้นไป จำนวน 1,854 ราย และข้อมูลจากการดูแลสุขภาพของประชาชนของสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลพะตง พบว่า มีสตรีในพื้นที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งเต้านมในเขตเทศบาลทั้ง 10 ชุมชน จำนวน ๙ ราย เป็นมะเร็งระยะแรก จำนวน 5 คน ระยะ 2 จำนวน 2 คน ระยะ 3 จำนวน 1 คน การรักษาอยู่ในระยะกำลังรักษา 4 คน ระยะเฝ้าติดตาม จำนวน 4 คน ไม่รักษา/ดูแลคุณภาพชีวิต จำนวน 1 คน และพบว่าตั้งแต่  พ.ศ.๒๕๖4 ถึง ๒๕๖๖ มีสตรีที่เข้ารับการอบรมทักษะการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตนเองและคัดกรองจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในพื้นที่ จำนวน 000, 111 และ 222 ราย ตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าสตรีกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ตำบลพะตงส่วนใหญ่ยังขาดความรู้และทักษะในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม ประกอบกับมูลนิธิกาญจนบารมี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับเป็นองค์ประธานในการระดมทุนเพื่อจัดสร้างศูนย์บำบัดรักษาโรคมะเร็ง ภายใต้ชื่อ “โครงการกาญจนบารมีเฉลิมฉลองพระราชพิธีกาญจนาภิเษก ปีพุทธศักราช ๒๕๓๙” (อ้างอิง : https://www.kanjanabaramee.org/aboutus/) มีแผนขบวนรถหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ นำหน่วยคัดกรองฯ ประกอบด้วยรถ 4 คัน ดังนี้ รถเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ระบบสามมิติ รถเอกซเรย์เต้านมเคลื่อนที่ระบบสองมิติ    รถนิทรรศการโรคมะเร็งเต้านมเคลื่อนที่ และรถตรวจมะเร็งเต้านมเคลื่อนที่มาให้บริการกับประชาชนในภาคใต้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาส และประชาชนทั่วไป มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง

-  จำนวนสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสที่เข้าร่วมโครงการ  ไม่น้อยกว่า 1,112 คน -  ร้อยละของสตรีกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการ

1112.00
2 เพื่อส่งเสริมให้สตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสได้รับการประเมินปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม และได้รับการตรวจ เต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์

-  ร้อยละ ๑๐๐ ของสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสที่ตรวจพบก้อน ได้รับการตรวจเต้านมยืนยันโดยแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ -  ร้อยละ ๑๐๐ ของสตรีกลุ่มเสี่ยงที่พบก้อนได้รับการตรวจยืนยันโดนเครื่องเอกซเรย์เต้านม (Mammogram)

3 เพื่อให้สตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาอย่างทันท่วงที

-  ร้อยละ ๑๐๐ ของสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาส ที่มีผลการตรวจมะเร็งเต้านมเป็นบวกได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาทันที

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 0.00 0 0.00 0.00
8 ก.ค. 67 ประชุมภาคีเครือข่ายสาธารณสุขในพื้นที่ 0 0.00 - -
12 ก.ค. 67 จัดประชุมชี้แจงแนวทาง และซักซ้อม การดำเนินโครงการ เตรียมความพร้อมสำหรับจัดโครงการ 0 0.00 - -
15 - 17 ก.ค. 67 จัดมหกรรมตรวจคัดกรองค้นหาสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสด้วยแบบคัดกรองปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งเต้านม 0 0.00 - -
15 - 17 ก.ค. 67 จัดนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติฯ และให้ความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านม พร้อมทั้งสาธิตการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และให้สตรีกลุ่มเสี่ยงฝึกตรวจเต้านมด้วยตนเองในแบบจำลองเต้านม 0 0.00 - -
15 - 17 ก.ค. 67 จัดบริการคัดกรองมะเร็งเต้านม 0 0.00 - -
20 พ.ย. 67 ส่งต่อสตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาส เพื่อการรักษา 0 0.00 - -
รวมทั้งสิ้น 0 0.00 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

(๑) สตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาส และประชาชนทั่วไป มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง (๒) สตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาสได้รับการประเมินปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านม และได้รับการตรวจเต้านมโดยแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์
(๓) สตรีกลุ่มเสี่ยงและด้อยโอกาส ได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาอย่างทันท่วงที

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2567 15:30 น.