โครงการเสริมสร้างสุขภาพ ด้านร่างกาย อารมณ์ ด้วยศิลปะ
ชื่อโครงการ | โครงการเสริมสร้างสุขภาพ ด้านร่างกาย อารมณ์ ด้วยศิลปะ |
รหัสโครงการ | 67-L1485-2-47 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสันติราษฎร์ประชาบำรุง |
วันที่อนุมัติ | 1 กรกฎาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 13 กันยายน 2567 |
งบประมาณ | 36,917.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ดาบตำรวจ โกศล แก้วมณี ครูใหญ่ รร.ตชด.สันติราษฎร์ประชาบำรุง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.288,99.862place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 99 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 10 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
พ่อแม่ที่มีลูกในช่วงปฐมวัยหรือระดับประถมศึกษาส่วนใหญ่ จะจัดหาสมาร์ท โฟนให้เด็ก ๆ ไว้ใช้เพื่อการติดต่อสื่อสารกับพ่อแม่ผู้ดูแล หรือใช้เป็นของเล่นเบี่ยงเบนความ สนใจของเด็ก ไม่ให้มารบกวนผู้ปกครอง ทำให้เด็กเล็กๆมีชีวิตอยู่กับหน้าจอสมาร์ทโฟน ทั้งการดูการ์ตูน การเล่นเกมส์ หรือสิ่งเร้าอื่น ๆ เป็นเวลานาน โดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่จะตามมา ทำให้เด็กขาดโอกาสในการเรียนรู้ ซึ่งมีผลต่อพัฒนาการของเด็ก จากการศึกษาพบว่า เด็กที่เล่นโทรศัพท์มือถือแท็บเล็ตและวิดีโอเกมเกินวันละ 7 ชั่วโมง จะมีภาวะเปลือกสมองบางลงก่อนวัยอันควร ทำให้เด็กเสี่ยงต่อการมีระดับสติปัญญาและภาวะทางอารมณ์ต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ จะส่งผลโดยตรงต่อสมอง ทั้งนี้การจัดโครงการส่งเสริมด้านร่างกาย และอารมณ์ของนักเรียนนั้น นอกจากจะทำให้นักเรียนมีสมาธิมากขึ้น ยังพัฒนาด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก ในของของเด็กนักเรียนปฐมวัย ส่วนชั้นประถมศึกษา ทำให้การมีสมาธิในการทำงานและใช้ความคิดในการทำงานมากขึ้น ฝึกความอดทน ลดความก้าวร้าว และการทำงานเป็นกลุ่ม โดยทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ดังนั้นโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสันติราษฎร์ประชาบำรุงได้ตระหนักถึงการป้องกันตั้งแต่เริ่มต้น จะดีกว่าตามแก้ไขปัญหาต่างๆ จึงได้จัดทำโครงการ ศิลปะบำบัด ขึ้นเพื่อช่วยส่งเสริมด้านความคิดสร้างสรรค์ ช่วยพัฒนา ประสาทสัมผัสที่สัมพันธ์กันระหว่างมือกับตาและการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อย่อยให้มีความ สมดุล กระฉับกระเฉง และว่องไว ทั้งนี้ก็มีการศึกษา ที่เกี่ยวข้องว่าการละเลงสี การปั้น จะช่วยพัฒนากล้ามเนื้อของเด็กให้แข็งแรง สมองมีสมาธิ ที่ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นักเรียนในโรงเรียนมีสุขภาพที่ดีขึ้น ซึ่งการดำเนินการพัฒนากิจกรรมด้านสุขภาพให้บรรลุตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพได้นั้นโรงเรียนจะต้องได้รับความร่วมมือ และสนับสนุนจากชุมชนและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนสนใจในงานศิลปะมากกว่าโทรศัพท์
|
||
2 | 2. เพื่อส่งเสริมพัฒนาการตามวัยกระบวนการเรียนรู้ความฉลาดทางปัญญาและอารมณ์
|
||
3 | 3. เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในศิลปะบำบัดฝึกพัฒนาการและสมาธิได้เหมาะสม
|
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ ประชุมชี้แจงครูและนักเรียน/คณะกรรมการสถานศึกษา
- ดำเนินโครงการ
- สรุปผลการดำเนินงานและรายงานผลการดำเนินโครงการพร้อมทั้งเอกสารที่เกี่ยวข้องให้แก่กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลปะเหลียน
- นักเรียนได้สร้างสมาธิสามารถอยู่นิ่งและจดจ่อได้นานขึ้น
- นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในศิลปะบำบัดฝึกพัฒนาการอย่างเหมาะสม
- นักเรียนได้สร้างประสาททางการสัมผัส และการเคลื่อนไหวอย่างสมดุล
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2567 16:20 น.