กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายสำหรับผู้สูงอายุ
รหัสโครงการ 67-L5275-02-010
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมผู้สูงอายุ รพ.สต.หูแร่
วันที่อนุมัติ 27 มิถุนายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 26,720.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฉันท์ วงศ์ชนะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มผู้สูงอายุ 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรโลก ทำให้สัดส่วนของประชากรกลุ่มผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น การพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนเป็นเป้าหมายที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ ซึ่งคุณภาพชีวิตที่ดีย่อมหมายถึงบุคคลนั้นมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี มีศักยภาพในการช่วยเหลือตนเองและครอบครัว ให้ดำรงอยู่อย่างปกติสุขตามศักยภาพแห่งตน ปัจจุบันจำนวนและสัดส่วนผู้สูงอายุของประเทศไทยเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว จากความก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุข ส่งผลให้ประชากรไทยเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุหรือ “ภาวะประชากรผู้สูงอายุ” นำมาซึ่งปัญหาสุขภาพเจ็บป่วยเรื้อรังเพิ่มมากขึ้นมีค่าใช้จ่ายในการดูแลปัญหาสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุสูงขึ้น ซึ่งประชากรผู้สูงอายุจะเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ ประกอบกับกลุ่มผู้สูงอายุมักมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆสูง โดยเฉพาะโรคเรื้อรัง อาทิ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคกระดูกพรุน โรคข้อเข่าเสี่ยม โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมองโรคความจำเสื่อม เป็นต้น ส่วนใหญ่มักพบว่าผู้สูงอายุมีโรคประจำตัวเรื้อรังมากกว่า 1 โรคขึ้นไป ดังนั้นผู้สูงอายุจึงจำเป็นต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ
ตามนโยบายรัฐบาลด้านสาธารณสุข เน้นการดำเนินการด้านสาธารณสุขเชิงรุกให้ทั่วถึงและครอบคลุมทั้งการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูสภาพ ปัจจุบันชมรมผู้สูงอายุ รพ.สต.หูแร่ มีสมาชิก จำนวน 397 คน เป็นกลุ่มติดบ้าน จำนวน 34 คน ติดเตียง 1 คนติดสังคม 362 คน โดยมีกิจกรรมทางกายที่สมาชิกชมรมสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมเป็นประจำ คือ การรวมกลุ่มเล่นกีฬาเพื่อส่งเสริมสมรรถภาพร่างกาย รวมทั้งเป็นกิจกรรมทางสังคมของสมาชิกในการแลกเปลี่ยน พูดคุย อันเป็นการส่งเสริมสุขภาพจิต สร้างความมั่นคงของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ส่งผลให้อารมณ์แจ่มใส โดยการเล่นกีฬาประเภทต่างๆ เช่น เปตอง พุ่งเหลน ทุ่มน้ำหนัก วิ่ง เดินเร็ว เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีโอกาสได้เป็นตัวแทนระดับจังหวัดสงขลาเข้าร่วมแข่งขันกีฬาสำหรับผู้สูงอายุ โดยในปี 2567ได้รับเหรียญทอง 15 เหรียญ เหรียญเงิน 12 เหรียญ และเหรียญทองแดง 3 เหรียญ จนเป็นผลทำให้ตัวแทนผู้สูงอายุของชมรมผู้สูงอายุ รพ.สต.หูแร่ มีความภาคภูมิใจ ได้รับการยกย่องจากผู้สูงอายุในชุมชน โดยสมาชิกชมรมยังได้รับโล่รางวัล “ผู้สูงอายุสุขภาพดี ชีวีมีสุข” ปี พ.ศ.๒๕๖๕ จากอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข สำหรับการเล่นกีฬาที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ เช่น การพุ่งแหลนทุ่มน้ำหนัก และการขว้างจักร เป็นต้น ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมกล้ามเนื้อมัดเล็ก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ ช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางด้านร่างกาย ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง สมบูรณ์ มีความคล่องแคล่วว่องไว ช่วยให้ร่างกายมีความอดทน ทำงานได้นาน เหนื่อยช้าและหายเหนื่อยเร็ว ช่วยให้อวัยวะและระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดี ยิ่งขึ้น เช่น ระบบการหมุนเวียนโลหิต ระบบหายใจ ระบบย่อยอาหารอีกทั้งช่วยเสริมบุคลิกภาพให้เป็นผู้สง่างามสมส่วน การทรงตัวดีตลอดจนเพื่อให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตใจที่ดี โดยการได้พบปะสังสรรค์ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิต สร้างความรัก ความสามัคคีในชุมชน แต่เนื่องจากอุปกรณ์ในการฝึกซ้อมกีฬาไม่เพียงพอ รวมจนถึงหากผู้สูงอายุขาดทักษะที่ถูกต้องในการเล่นกีฬาอาจเป็นเหตุให้ได้รับบาดเจ็บได้ ชมรมผู้สูงอายุ รพ.สต.หูแร่ จึงได้จัด “โครงการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุ รพ.สต.หูแร่” ขึ้น เพื่อส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้สูงอายุ และเพื่อส่งเสริมสุขภาพอนามัยแก่ผู้สูงอายุ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อส่งเสริมการมีกิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุ
  • ร้อยละ ๘๐ ของกลุ่มเป้าหมาย มีการทำกิจกรรมทางกายไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ ๓ ครั้ง
  • ร้อยละ ๑๐๐ ของผู้เข้าร่วมกิจกรรมไม่ได้รับบาดเจ็บจากการทำกิจกรรมทางกายที่กำหนด
  • ร้อยละ ๑๐๐ ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการประเมินคัดกรองข้อเข่าโดยบุคลากรสาธารณสุข
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 26,720.00 0 0.00 26,720.00
1 - 31 ก.ค. 67 1. ประชุมคณะทำงาน 0 0.00 - -
1 ก.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 2.กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่ผู้สูงอายุ 0 14,850.00 - -
1 ก.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ๓. กิจกรรม “สนามสูงวัยเล่น” 0 11,870.00 - -
1 ก.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 ๔. คัดกรองเข่า 0 0.00 - -
รวมทั้งสิ้น 0 26,720.00 0 0.00 26,720.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทางกายสม่ำเสมอ 2.ผู้สูงอายุไม่ได้รับการบาดเจ็บจาการมีกิจกรรมทางกาย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2567 13:11 น.