กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม
รหัสโครงการ 67-L4122-01-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสันติ 1
วันที่อนุมัติ 27 มิถุนายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 17,895.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางซากีย๊ะ เจ๊ะอีแต
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขื่อนบางลาง อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.142,101.309place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 123 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งในประเทศไทยและมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้น และโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทย คือ โรคมะเร็งตับ รองลงมาคือมะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมตามลำดับในประเทศไทย โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นโรคมะเร็งที่พบเป็นอันดับหนึ่งในสตรีไทย มีผู้ป่วยรายใหม่ประมาณปีละ 6,300 รายพบมากที่สุดอายุระหว่าง 45-50 ปี ระยะที่พบส่วนใหญ่อยู่ในระยะลุกลาม การรักษาจึงเป็นไปได้ยาก ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง การป้องกัน และการควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูก ต้องมีการค้นหาด้วยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก และระยะก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษาในระยะลุกลามและจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ pap smear ในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 30-60 ปี ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ เนื่องจากโรคมะเร็งเป็นโรคที่เป็นแล้วจะทำให้เกิดอาการป่วยและเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร แต่ในขณะเดียวกันโรคมะเร็งเป็นโรคหนึ่งที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ถ้าหากว่าได้รับการตรวจวินิจฉัยและมาพบแพทย์ตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก ปัจจุบันสตรีจำนวนไม่น้อยที่ยังขาดความรู้ในเรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม เดิมการตรวจแป็บสเมียร์ (Conventional Pap Smear) เป็นการเก็บเซลล์ปากมดลูกมาป้ายบนสไลด์ ความแม่นยำในการตรวจขึ้นอยู่กับความชำนาญของผู้อ่านสไลด์ ปัจจุบันนี้สาธารณสุขไทยได้มีการตรวจหาเชื้อมะเร็งปากมดลูกแบบใหม่ เรียกว่า HPV DNA Test เป็นเทคนิคทางด้านชีวโมเลกุลที่จะตรวจหาตัวเชื้อ HPV ได้โดยตรง ทำให้สามารถตรวจหาระยะของโรคก่อนที่จะกลายเป็นมะเร็ง คือการตรวจในระดับโมเลกุล เพื่อหาเชื้อ HPV ความเสี่ยงสูงทั้ง 14 สายพันธุ์ ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก ประมาณ 99% โดยมีวิธีการตรวจเหมือนตรวจภายใน คือเก็บเซลล์บริเวณตัวอย่างที่ปากมดลูกช่องคลอดด้านใน ส่งตรวจเหมือนวิธีการตรวจด้วยน้ำยา ซึ่งสามารถที่จะตรวจหาเซลล์และแยกน้ำยาเพื่อจะตรวจหาเชื้อ HPV DNA ได้
จากการดำเนินงานคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30-60 ปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสันติ1 มีเป้าหมายสะสมที่จะต้องดำเนินการระหว่างปี 2563 – 2567 จำนวน 614 คน ระยะเวลาที่ผ่านมาได้ทำการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแล้วจำนวน 197 คน ในปี 2567 นี้ ได้กำหนดเป้าหมายที่จะต้องดำเนินการคัดกรองจำนวน 123 คน และสตรีอายุ 30-70 ปี ได้รับการตรวจคัดกรองเต้านมด้วยเจ้าหน้าที่และด้วยตนเอง ปีงบประมาณ 2567 จำนวน 801 คน ในปีงบประมาณ 2567 นี้ ได้กำหนดเป้าหมายจะต้องดำเนินการตรวจ จำนวน 721 คน เพื่อเป็นการเฝ้าระวังภาวะทางสุขภาพ ลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสันติ 1 จึงได้จัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีปลอดภัยจากโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม ได้ในที่สุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้สตรีกลุ่มเป้าหมายมีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ สามารถตรวจเองได้อย่างถูกต้อง

 

2 เพื่อกระตุ้นและสร้างกระแสในการรณรงค์การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มเป้าหมาย อายุ 30 – 60 ปี

 

3 เพื่อให้ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ทุกราย ได้รับการส่งต่อ การรักษาอย่างถูกต้องตามมาตรฐานและได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่อง

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

1.วิเคราะห์ข้อมูลผลการดำเนินงานการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม และกำหนดกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่
      - สตรีกลุ่มเป้าหมายในการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่มีอายุ 30 - 70 ปี ในเขตรับผิดชอบ
      - สตรีกลุ่มเป้าหมายในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกที่มีอายุ 30 - 60 ปี ในเขตรับผิดชอบ
2. เขียนโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณในการดำเนินงาน
3. กิจกรรมที่ 1 ค้นหา นำส่งกลุ่มเป้าหมาย
- แกนนำหมู่บ้านดำเนินการประชาสัมพันธ์ ค้นหา นำส่งสตรีกลุ่มเป้าหมายในเขตรับผิดชอบมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม
- เจ้าหน้าที่ดำเนินการบันทึกประวัติการนำส่งสตรีกลุ่มเป้าหมายที่มารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมของแกนนำหมู่บ้าน
- เจ้าหน้าที่จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมายที่มีผลการตรวจผิดปกติพร้อมติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง 4. กิจกรรมที่ 2 จัดนิทรรศการ เรียนรู้ด้วยกัน เพื่อรู้ทันภัยมะเร็ง
- ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมแก่กลุ่มเป้าหมาย
- จัดกลุ่มให้ความรู้ สอนและสาธิตการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองให้แก่กลุ่มเป้าหมาย
- เจ้าหน้าที่จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมายที่มีผลการตรวจผิดปกติพร้อมติดตามดูแลอย่างต่อเนื่อง
5.ติดตามและประเมินผลโครงการ
- สตรีกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 30 – 70 ปี มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมโดยสรุปรายงานการคัดกรองทุก ๆ 1 เดือน
- สตรีกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 30 - 60 ปี มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยสรุปรายงานคัดกรองทุก ๆ 1 เดือน
- สตรีกลุ่มเป้าหมายที่มีผลการตรวจคัดกรองผิดปกติได้รับการส่งต่อเพื่อการวินิจฉัยรักษาและติดตามเยี่ยมดูแลอย่างต่อเนื่องทุกราย
6. สรุปผลโครงการและรายงานผลการดำเนินโครงการให้คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลเขื่อนบางลาง

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.สตรีอายุ 30 – 70 ปี มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมเพิ่มมากขึ้น
2.สตรีกลุ่มอายุ 30 – 60 ปี มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพิ่มมากขึ้น
3.สามารถค้นหาและพบผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในระยะเริ่มต้น ได้รับการส่งต่อเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 5 ก.ค. 2567 13:13 น.