กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการมะเร็ง รู้เร็วรักษาได้
รหัสโครงการ 67– L2996 - 02 - 16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลบ้านนอก หมู่ที่ 5
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจิวารีย์ หมัดหมะ
พี่เลี้ยงโครงการ เลขากองทุน สปสช.อบต.บ้านนอก
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านนอก อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 10,000.00
รวมงบประมาณ 10,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถิติล่าสุดที่เปิดเผยโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันมะเร็งโลก ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 พบสถิติโรคมะเร็งในประเทศไทยจัดเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข โดยมีผู้ป่วยรายใหม่ปีละประมาณ 140,000 คน และในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิตประมาณ 80,000 คนต่อปี โรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรก มะเร็งตับและท่อน้ำดี มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง และมะเร็งปากมดลูก ตามลำดับ หากกล่าวถึงโรคมะเร็งในระบบสืบพันธุ์สตรีมะเร็งแล้วนั้น โรคที่พบบ่อยที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งรังไข่ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก โดยเฉพาะมะเร็งปากมดลูกจากสถิติล่าสุดของ IARC ลงวันที่ 10 มีนาคม 2566 พบสถิติผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ของไทยปีละ 9,158 ราย และอัตราการเสียชีวิต 4,705 รายต่อปี โดยโรคมะเร็งในระบบอวัยวะสืบพันธุ์สตรีหลายโรคกว่าจะตรวจพบหรือรอให้มีอาการนั้น บางรายอาจมีการกระจายของโรคไปแล้ว โอกาสการรักษาให้หายขาดจึงทำได้ยาก (ที่มา: https://www.chaophya.com › 2023/04 › มะเร็งสตรี) นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า สถานการณ์โรคมะเร็งของไทย จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข (Health Data Center) ปี 2565 พบว่า หญิงไทย พบ เป็นมะเร็งเต้านม มากที่สุด จำนวน 38,559 ราย รองลงมา คือ มะเร็งปากมดลูก จำนวน 12,956 ราย สำหรับโรคมะเร็งเต้านมส่วนมาก พบในหญิงอายุ 60 ปี ขึ้นไป มากที่สุดจำนวน 19,776 ราย รองลงมา คือ อายุ 50 – 59 ปี จำนวน 12,181 ราย และ อายุ 40 – 49 ปี จำนวน 5,177 ราย แสดงให้เห็นว่าโรคมะเร็งเต้านมเป็นภัยเงียบใกล้ตัว เนื่องจากในระยะแรกของการเป็นมะเร็งเต้านมจะไม่แสดงอาการ ไม่เจ็บ ไม่ปวด จะปรากฏอาการผิดปกติให้เห็น เมื่ออยู่ในระยะที่ก้อนมะเร็งมีการอักเสบ และลุกลามไปทั่วแล้ว ซึ่งเสี่ยงต่อการเสียชีวิตสูงมาก กลุ่มเสี่ยงมะเร็งเต้านมพบในหญิงที่มีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ หรือมีประวัติเคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน หรือเคยมีก้อนบริเวณเต้านม ที่ผลการตรวจพบว่าผิดปกติ มีประจำเดือนครั้งแรก ก่อนอายุ 12 ปี หมดประจำเดือนหลังอายุ 55 ปี หรือเคยรับการฉายรังสีบริเวณทรวงอกก่อนอายุ 30 ปี และผู้หญิงที่สูบบุหรี่จัด ดื่มสุรา ไม่ออกกำลังกาย โดยพบว่าผู้ที่มีอายุ 15 – 49 ปี ที่น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 10 กิโลกรัม จะมีโอกาสเกิดมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 ในขณะที่ผู้ชายก็มีสิทธิ์เป็นมะเร็งเต้านมได้ 1 ใน 100 ของผู้ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม กรมอนามัยจึงแนะนำให้หญิงไทย ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ควรเริ่มฝึกทักษะการตรวจเต้านมด้วยตนเอง เป็นประจำทุกเดือน ซึ่งจะทำให้รู้ถึงสภาพที่เป็นปกติของเต้านม หากเกิดความผิดปกติของเต้านมจะสามารถพบได้ ตั้งแต่เนิ่นๆ สถานการณ์การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีกลุ่มสตรีอายุ 30-60ปี ในเขตพื้นที่รับผิดชอบหมู่ที5และพื้นที่อื่นๆของตำบลบ้านนนอก พบว่า ยังเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมน้อย จากการสอบถามเหตุผลบางคนอายและบางคนให้เหตุผลว่าสามีไม่อนุญาตรวมถึงขาดความรู้และความตระหนักในการป้องกันตนเองจากโรคนี้ ขาดความรู้ถึงวิธีการตรวจคัดกรองโรคเบื้องต้นเพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วปัจจุบันวิธีการตรวจโรคมะเร็งมีความง่ายและสะดวกขึ้น สามารถตรวจด้วยตัวเองได้ที่บ้าน ดังนั้นการให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ สร้างความตระหนัก และการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เพื่อดูแลและป้องกันตัวเองในระยะแรกจึงสำคัญิดังนั้น ชมรม อสม.หมู่ที่ 5 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนอก จึงได้จัดทำโครงการมะเร็ง รู้เร็วรักษาได้ (ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม ประจำปี 2567) เพื่อให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ สร้างความตระหนักและการกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้เพื่อป้องกันตัวเองและรักษาในระยะแรก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม 2. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายและ อสม.มีทักษะในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้อง 3. เพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมในระยะแรก
  1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านม โรคมะเร็งปากมดลูกความสำคัญของการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมได้ถูกต้องร้อยละ100

  2. กลุ่มเป้าหมายและอสม.สามารถตรวจมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง สามารถตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง สาธิตย้อนกลับได้ร้อยละ100 3.ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 20 ต่อปี ได้รับการตรวจมะเร็งเต้านมร้อยละ80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 60 10,000.00 0 0.00
1 ม.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 โครงการ มะเร็ง รู้เร็วรักษาได้ 60 10,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้และตระหนักในเรื่องของการป้องกันตนเองจากมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม
  2. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายมีทักษะในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านมด้วยตนเองอย่างถูกต้อง
  3. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 20 ต่อปี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2567 14:29 น.