กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันและควบคุมโรควัณโรค ปีงบประมาณ 2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลห้วยกรด
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2566
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2566 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 27,675.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

วัณโรค (Tuberculosis: TB) ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก จากรายงานองค์การอนามัยโลก (WHO, Global Tuberculosis Report 2023) คาดประมาณปีพ.ศ.2565 ทั่วโลกมีอุบัติการณ์วัณโรค 133 ต่อประชากรแสนคนหรือจำนวน 10.6 ล้านคน ผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิต จำนวน 1.3 ล้านคน และประชากรทั่วโลก 1 ใน 4 ติดเชื้อวัณโรคระยะแฝง (Latent TB infection: LTBI) ส่วนประเทศไทย คาดประมาณมีอุบัติการณ์วัณโรค 155 ต่อประชากรแสนคนหรือจำนวน 111,000 คน ผู้ป่วยวัณโรคเสียชีวิต จำนวน 14,000 ราย จากการรวบรวมผลการดำเนินงานวัณโรคจากหน่วยบริการตรวจวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วยวัณโรคทั่วประเทศ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พบว่ามีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำทั้งคนไทยและไม่ใช่คนไทย ขึ้นทะเบียนรักษา จำนวน 78,955 ราย ซึ่งผู้ป่วยวัณโรคช่วงอายุตั้งแต่ 65 ปีมีมากที่สุด จำนวน 21,761 ราย คิดเป็นนร้อยละ 27.7 ส่วนอัตราผลสำเร็จของรักษาวัณโรคของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่และกลับเป็นซ้ำ ที่ขึ้นรักษา พ.ศ. 2565 (เป็นระยะเวลาที่ผู้ป่วยขึ้นทะเบียนรักษาสามารถนำประเมินผลการรักษาได้) พบว่ามีอัตราความสำเร็จในการรักษา ร้อยละ 79.8 สถานการณ์วัณโรคของอำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท ในปีพ.ศ.2567 มีผู้ป่วยวัณโรคทุกประเภทขึ้นทะเบียนจำนวน 52 ราย เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการคัดกรอง 9 กลุ่มเวี่ยง จำนวน 4 ราย คิดเป็นร้อยละ 7.69 และเป็นผู้ป่วยนอกที่เข้ารับการรักษา จำนวน 48 ราย คิดเป็นร้อยละ 92.31 ซึ่งรักษาหายและรักษาตามแผนการรักษา อัตราผลสำเร็จของการรักษาวัณโรค(SuccessRate) คิดเป็นร้อยละ 88.46 และมีอัตราเสียชีวิตด้วยวัณโรค(Death rate)คิดเป็นร้อยละ 11.54 ซึ่งสูงกว่าตัวชี้วัดตามเกณฑ์มาตรฐาน สาเหตุหลักที่ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จในการรักษา
มาจากเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อน และการรักษาไม่ต่อเนื่อง และจากข้อมูลผู้ป่วยที่ขึ้นทะเบียนปี 2566 พบว่าผู้ป่วยนอกกลุ่มเสี่ยง 9 กลุ่ม ซึ่งแบ่งเป็น ผู้สูงอายุที่ไม่มีโรคร่วม ,ผู้ที่ความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพอื่นๆ เช่นเก็บขยะ
โรงโม่หิน เผาถ่าย ช่างไม้ ช่างสี เป็นต้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งดำเนินการคัดกรองวัณโรคในกลุ่มดังกล่าวในชุมชนไม่ให้เกิดการระบาดของวัณโรค และเพื่อให้อัตาราผลสำเร็จของการรักษาวัณโรคให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลห้วยกรด รวมกับสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรา นวมินทราชินี จังหวัดชัยนาท จึงได้จัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรควัณโรค ปีงบประมาณ 2567 ขึ้น เพื่อสร้างเสริมความรู้เรื่องวัณโรคให้แก่ประชาชนในชุมชน การเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรควัณโรค การตรวจคัดกรองวัณโรคในชุมชน ตลอดจนการรักษา ติดตาม การกำกับการกินยาของผุ้ป่วยที่มีคุณภาพการรับรู้สภาพปัญหาของผู้ป่วยก่อนที่จะเกิดความล้มเหลวในด้านการรักษาให้ผลการรักษาสัมฤทธิ์ผลมากที่สุด และการป้องกันการแพร่ระบาดของวัณโรคในชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนทุกภาคส่วนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเร่งรัดการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มประชากรด้อยโอกาส และกลุ่มเสี่ยง

การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

0.00
2 เพื่อพัฒนาระบบการติดตามรักษาผู้ป่วยวัณโรคให้เป็นไปตามมาตรฐาน

ระบบคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนได้รับการพัฒนาและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 27,675.00 0 0.00
1 - 31 ต.ค. 66 ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 0 0.00 -
1 พ.ย. 66 - 31 ธ.ค. 66 จัดกิจกรรมให้ความรู้ 0 6,675.00 -
1 ม.ค. 67 - 30 มี.ค. 67 ให้สุขศึกษาประชาสัมพันธ์ 0 0.00 -
1 เม.ย. 67 - 31 ต.ค. 67 ติดตามผู้ป่วยวัณโรครับการรักษาอย่างต่อเนื่อง 0 21,000.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ระบบคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยวัณโรคในชุมชนได้รับการพัฒนาและมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
  2. การค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยงมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
  3. ชุมชนมีความตระหนักในการควบคุมป้องกันวัณโรคอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 9 ก.ค. 2567 15:55 น.