โครงการพัฒนาศักยภาพชมรม SRRTน้อยสู้ภัยไข้เลือดออกในโรงเรียน 2567
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาศักยภาพชมรม SRRTน้อยสู้ภัยไข้เลือดออกในโรงเรียน 2567 |
รหัสโครงการ | 67 – L8278 – 01-007 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | หน่วยบริการปฐมภูมิ โรงพยาบาลบันนังสตา |
วันที่อนุมัติ | 3 กรกฎาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 10 ตุลาคม 2567 |
งบประมาณ | 83,725.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวมาซียะ บาเหมบูงา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.25,101.233place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 650 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อโดยมี
ยุงลายเป็นพาหะ ที่สร้างความสูญเสียชีวิต ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสีย ทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากโรค
นี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปีและพบว่าประชากรที่ ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุดในตำบลบันนังสตา ได้แก่ กลุ่มเด็ก
นักเรียน วัยทำงานกลุ่มอายุ 25-59 ปี และปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในวัยเรียนและมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย ดังนั้นการ
ดำเนินงานควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ให้ประสบผลสำเร็จและเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่
เกี่ยวข้องในการกำจัดลูกน้ำยุงลายที่เป็นพาหะนำโรค และรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออก และร่วมมือ
กันเฝ้าระวังป้องกันการแพร่ระบาดของโรคนี้ ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยน
แนวคิดใน การแก้ไขปัญหาจากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุก โดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหา
ของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อม ทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออก
เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการด าเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้
สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชัก
นำให้ ประชาชน องค์กรชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรม
สำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ ตำบลบันนังสตา เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออก จะเห็นได้ว่าอัตราการป่วยมี
แนวโน้มสูงขึ้นเมื่อเทียบดูจากสถิติการเกิดโรคในปีที่ผ่านมา การระบาดของโรค ไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนพฤษภาคม
– กันยายนของทุกปีและพบมากสุดในกลุ่มนักเรียนในโรงเรียน จึงจำเป็นต้องมี SRRT น้อยในโรงเรียนเพื่อช่วยสอดส่องการเกิดโรคระบาด
ต่างๆในโรงเรียน เพื่อการรายงานที่รวดเร็วมีผลต่อการควบคุมโรคได้เร็ว จากข้อมูลปีที่ผ่านมาได้มีการจัดตั้ง SRRT น้อยในโรงเรียนได้มี
การรายงานและสำรวจดัชนีลูกน้ำยุงลายในบริเวณโรงเรียนและรายงานต่อครูอนามัยโรงเรียนเพื่อรายงานต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพื่อ
ความเร็วในการควบคุมโรคได้เร็ว ผลการควบคุมโรคในโรงเรียนทันเวลาร้อยละ 100 และสามารถทำให้อัตราป่ายในกลุ่มนักเรียนลดลง
อย่างต่อเนื่องจำเป็นต้องมีการพัฒนาศักยภาพ SRRT น้อยในโรงเรียนเพื่อให้มีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความ
ร่วมมือทั้ง จากชุมชน โรงเรียน องค์การบริหารส่วนตำบล และหน่วยงานอื่นๆ ที่ เกี่ยวข้อง
ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกหน่วยบริการปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาล
บันนังสตาจึงได้จัดทำ “โครงการ SRRTน้อยสู้ภัยไข้เลือดออก เพื่อสร้างกระแสและเป็นกำลังเสริมในด้านการป้องกันโรคไข้เลือดออกและ
ลดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนเพื่อเป็นการเตรียมรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้เลือดออกให้มีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันโรค ไข้เลือดออก ร้อยละ 80 ของนักเรียนที่เข้ารับการอบรมมีความรู้เรื่องโรค ไข้เลือดออก |
||
2 | โรงเรียนเกิดชมรม SRRTน้อย มีการรายงานผลการสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย |
นักเรียนมีความรู้และตระหนักถึงการป้องกันตนเองและครอบครัว และสามารถนำไปเผยแพร่สู่ชุมชนใกล้เคียง เพื่อลดอัตราป่วย ด้วยโรคไข้เลือดออกได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2567 21:18 น.