กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ สู่ศาสนาสร้างสุขภาพ 2567
รหัสโครงการ 67 – L8278 -01-009
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลบันนังสตา
วันที่อนุมัติ 3 กรกฎาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 10 ตุลาคม 2567
งบประมาณ 57,850.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวพาตีเม๊าะ ฮามิดง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.25,101.233place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนอนามัยและสิ่งแวดล้อม
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 720 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มัสยิดเป็นองค์กรที่สำคัญยิ่งในศาสนาอิสลาม เป็นองค์กรที่มีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาคนให้เป็นคนดีและพัฒนา มุสลิมให้เป็นมุสลิมที่สมบูรณ์ มัสยิดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้กลายเป็นสัญลักษณ์ที่โดดเด่นของชุมชนมุสลิมและเป็น สัญลักษณ์ที่สามารถบ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรือง และความเสื่อมถอยของชุมชนนั้น ๆ ได้อย่างดี เมื่อหันมาดูบทบาทของ มัสยิดในปัจจุบัน พบว่า มีปัจจัยเกื้อหนุนหลายประการที่สามารถท าให้มัสยิดเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนได้ นอกจากนี้มัสยิดยังเป็นศูนย์กลางในเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคประชาชนในพื้นที่ โดยใช้ศาสนานำการพัฒนา และแก้ไขปัญหาสุขภาพในพื้นที่ให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมของประชาชนเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญใน การแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมัสยิดเป็นศูนย์รวมด้านวิถีชีวิตของมุสลิมในจังหวัดชายแดน ภาคใต้ การให้ความสำคัญของการเสริมสร้างสุขภาพ เพื่อสุขภาพที่ยั่งยืนและมั่นคงด้านสุขภาพของประชาชน ซึ่งเป็น บทบาทหลักของบุคลากรด้านสาธารณสุข ที่เป็นผู้สนับสนุนและเสนอทางเลือก โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง และ เชื่อมโยงกับนโยบาย “สร้างนำซ่อม” มัสยิดเป็นศาสนสถานที่ที่มีความสำคัญที่เป็นศูนย์รวมทางจิตใจ จิตวิญญาณของคน ในชุมชน อีกทั้งการมีความศรัทธาต่อผู้น าศาสนาที่มีศักยภาพในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพต่อประชาชนที่มารับ บริการสถานที่ของมัสยิด ดังนั้นกลุ่มงานบริการด้านปฐมภูมิและองค์รวม โรงพยาบาลบันนังสตา จึงได้บูรณาการร่วมกับแกนนำชุมชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) และผู้นำศาสนา ได้วิเคราะห์ปัญหาและจัดทำโครงการ ศาสนสถานส่งเสริม สุขภาพสู่ศาสนาสร้างสุขภาพ ขึ้น เพื่อให้ศาสนสถานเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ การส่งเสริมสุขภาพด้านการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมสุขภาพเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาของชุมชนโดยประชาชน แกนนำชุมชน ผู้นำศาสนา และ อสม. มีส่วน ร่วมในการแก้ปัญหาสุขภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ศาสนสถานเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ การ ส่งเสริมสุขภาพด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

มีศาสนสถานเป็นแหล่งเรียนรู้การส่งเสริมสุขภาพด้านการ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ร้อยละ 70

2 เพื่อให้ผู้นำศาสนา, ผู้ำาชุมชนและอสม. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการ มีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

3 เพื่อให้ศาสนสถานมีสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อสร้างระบบ การดูแลความสะอาดอย่างยั่งยืน

ศาสนสถานผ่านเกณฑ์ศาสนสถานส่งเสริมสุขภาพ ร้อยละ
40

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ศาสนสถานสามารถเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ การส่งเสริมสุขภาพด้านการปรับพฤติกรรม 2.ผู้นำศาสนา, ผู้นำชุมชนและอสม. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 3.ศาสนาสถานเป็นแหล่งที่มีการสร้างสุขภาวะที่ดีภายใต้การจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ