โครงการเฝ้าระวังโรคติดต่อโดยยุง
ชื่อโครงการ | โครงการเฝ้าระวังโรคติดต่อโดยยุง |
รหัสโครงการ | 67-L5226-2-05 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรม อสม.ตำบลระโนด |
วันที่อนุมัติ | 11 กรกฎาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2567 |
งบประมาณ | 5,450.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางอกนิษฐ์ ประสานสงค์ |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวสุทิศา แก้วจันทร์ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลระโนด อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.754,100.325place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ก.ค. 2567 | 30 ก.ย. 2567 | 5,450.00 | |||
รวมงบประมาณ | 5,450.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาทางสาธารณสุขสำคัญของประเทศไทย ซึ่งมีการระบาดทุกปีในช่วงฤดูฝน สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ตั้งแต่ต้นปี 2567 พบผู้ป่วย 26,511 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 1 พ.ค. 67) ซึ่งสูงกว่าปีที่ผ่านมา ณ ช่วงเวลาเดียวกัน ถึง 1.6 เท่า ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มเด็ก 5-14 ปี จำนวน 7,782 ราย (ร้อยละ 29) และพบผู้เสียชีวิตจำนวน 29 ราย ประกอบกับช่วงตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมเป็นช่วงนักเรียนเริ่มเปิดเทอม และเข้าสู่ฤดูฝน ผลการสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย พบสูงสุดในกลุ่มโรงเรียน ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนักเรียน กรมควบคุมโรคจึงเน้นย้ำเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกในช่วงเปิดเทอม โดยให้ประชาชนและสถานศึกษาช่วยกันกำจัดลูกน้ำยุงลายให้ครอบคลุมในพื้นที่เสี่ยง จัดการแหล่งน้ำขัง เก็บของให้เป็นระเบียบและทายากันยุงป้องกันการถูกยุงกัด ในการนี้ เพื่อป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อนำโดยยุง ชมรม อสม.ตำบลระโนด จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังโรคติดต่อโดยยุงขึ้น โดยขอรับสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลตำบลระโนด เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนช่วยกันสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย โดยให้ดำเนินการกำจัดลูกน้ำยุงลายให้ครอบคลุมในพื้นที่ 7 ร. ได้แก่ 1.โรงเรือน (บ้าน/อาคาร) 2.โรงเรียน/สถานศึกษา 3.โรงพยาบาล 4.โรงธรรม (วัด/มัสยิด/โบสถ์) 5.โรงแรม/รีสอร์ท 6.โรงงาน และ 7.ส่วนราชการ/องค์กรเอกชน ซึ่งสถานที่ดังกล่าวมีการรวมตัวกันของประชาชน ถือเป็นสถานที่เสี่ยงที่จะมีการระบาดของโรคไข้เลือดออก โดยร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำทุกสัปดาห์ ลดความเสี่ยงที่จะเกิดการแพร่ระบาด รวมถึงย้ำเตือนให้ประชาชนทายากันยุงเพื่อป้องกันตนเองจากการถูกยุงกัด โดยเฉพาะผู้ป่วยไข้เลือดออก เพื่อป้องกันการกระจายเชื้อไข้เลือดออกในตัวผู้ป่วยสู่ชุมชน เพราะผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก หากถูกยุงลายกัดสามารถส่งต่อเชื้อไข้เลือดออก (หลังผ่านระยะฟักตัวในยุง) ให้ผู้อื่นได้ การทายากันยุงในผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จะช่วยตัดวงจรดังกล่าว และลดการระบาดของโรคไข้เลือดออกได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อนำโดยยุง ประชาชนทุกครัวเรือนในชุมชนราษฎร์บำรุง มีความรู้การป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อนำโดยยุง |
||
2 | เพื่อให้ อสม.และประชาชนในชุมชนร่วมกันกำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชน เกิดกิจกรรมรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายทุกวันศุกร์ |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 ก.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 | กิจกรรมควบคุมโรค | 0 | 3,050.00 | - | ||
25 ก.ค. 67 | กิจกรรมให้ความรู้ | 0 | 2,400.00 | - | ||
รวม | 0 | 5,450.00 | 0 | 0.00 |
- ประชาชนมีความรู้ในการป้องกันโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่อโดยยุง
- สามารถป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่ออื่นที่มียุงเป็นพาหะได้รวดเร็ว โดยประชาชนมีส่วนร่วมในการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
- ลดอัตราการป่วยโรคไข้เลือดออก และโรคติดต่อโดยยุงอื่นๆ
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2567 17:42 น.