กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการถนนปลอดสารอาหารปลอดภัย
รหัสโครงการ 67-L5226-2-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรม อสม.ตำบลระโนด
วันที่อนุมัติ 11 กรกฎาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2567
งบประมาณ 11,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวณริณพิศพัฒค์ บุตรขันธ์
พี่เลี้ยงโครงการ นางอกนิษฐ์ ประสานสงค์
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลระโนด อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.754,100.325place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 11,600.00
รวมงบประมาณ 11,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันปัญหาเรื่องสุขภาพของประชาชนเพิ่มขึ้น ซึ่งเห็นได้จากผู้ป่วยที่มารับบริการรักษาพยาบาล ที่โรงพยาบาลมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และอัตราการป่วย จากโรคที่ไม่ติดต่อ เพิ่มสูงขึ้นโรงพยาบาลก็ต้องเพิ่มขนาดของโรงพยาลเพื่อให้รองรับผู้ที่มารับบริการ จากผลการตรวจสุขภาพก็เช่นกัน มีการตรวจพบสารพิษ  ในกระแสเลือด ซึ่งน่าจะมาจากการบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อนของสารพิษ เช่น ผัก ผลไม้ที่มีสารพิษปนเปื้อน และจากผลการสุ่มตรวจสารพิษในผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ หรือสินค้าอื่นๆ ที่จำหน่ายในตลาด ก็มีการตรวจพบสารพิษเช่นกัน ดังนั้น เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงที่จะได้รับสารพิษ หรือสารเคมีตกค้าง ต้องเริ่มจาก    การให้สุขศึกษาแก่ประชาชน และการส่งเสริมการปลูกผักเพื่อบริโภคในครัวเรือน ในชุมชน การปลูกผักรับประทานเองแบบผักอินทรีย์เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้บริโภคได้รับสารอาหารที่ดี มีประโยชน์อย่างแท้จริง นอกจากนี้ การรณรงค์เกษตรแบบอินทรีย์โดยส่งเสริมการทำปุ๋ยหมัก น้ำหมัก จากเศษขยะอินทรีย์ในครัวเรือน ยังช่วยลดขยะชุมชนได้อีกด้วย และการร่วมแรงร่วมใจกันในชุมชนพัฒนาพื้นที่รกร้างให้กลายเป็นแหล่งอาหารปลอดภัยของคนในชุมชนได้อีกทางหนึ่ง ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และพัฒนาพื้นที่สาธารณะ หรือพื้นที่รกร้างในชุมชนมาใช้ประโยชน์เพื่อชุมชนให้เต็มที่ ชมรม อสม.ตำบลระโนด จึงได้จัดทำโครงการถนนปลอดสารอาหารปลอดภัยขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนได้บริโภคพืชผักสวนครัวปลอดสารพิษในชุมชน

ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถเลือกบริโภคผักปลอดสารพิษที่ปลูกเอง

70.00
2 เพื่อให้เกิดความร่วมมือกันในชุมชนในการร่วมกันดูแลความสะอาด ลดขยะ เปลี่ยนสถานที่ รกร้างเป็นแหล่งปลูกผักปลอดสารพิษในชุมชน

จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมในชุมชนแต่ละครั้ง

20.00
3 เกิดแหล่งผลิตอาหารปลอดภัยในชุมชน

จำนวนแหล่งปลูกผักปลอดสารพิษในชุมชน

1.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
15 ก.ค. 67 - 30 ส.ค. 67 อบรมให้ความรู้การปลูกผักปลอดสารพิษในกระถาง การทำน้ำยาเอนกประสงค์จากน้ำหมักชีวภาพและปุ๋ยน้ำชีวภาพ 70 11,600.00 -
15 ก.ค. 67 - 30 ก.ย. 67 สร้างครัวชุมชน โดยร่วมปลูกผักในชุมชนและร่วมกันดูแล 70 0.00 -
รวม 140 11,600.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้เรื่องการปลูกผักปลอดสารพิษ สามารถปลูกผักสวนครัวในครัวเรือน ในชุมชนได้
  2. การปลูกพืชผักแบบเกษตรอินทรีย์ โดยใช้ปุ๋ยหมัก น้ำหมักจากขยะอินทรีย์ช่วยลดปริมาณขยะอินทรีย์จากครัวเรือน
  3. ชุมชนมีแหล่งอาหารปลอดภัย โดยการร่วมมือร่วมใจกันดูแล
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2567 11:43 น.