โครงการภาคีเครือข่ายใส่ใจดูแลผู้ป่วยจิตเวช ตำบลปิยามุมัง ปี 2567
ชื่อโครงการ | โครงการภาคีเครือข่ายใส่ใจดูแลผู้ป่วยจิตเวช ตำบลปิยามุมัง ปี 2567 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครประจำหมู่บ้านตำบลปิยามุมัง |
วันที่อนุมัติ | 12 มิถุนายน 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กรกฎาคม 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2567 |
งบประมาณ | 5,350.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวรุสนานี เจะเลาะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลปิยามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 9 ก.ย. 2567 | 9 ก.ย. 2567 | 5,350.00 | |||
รวมงบประมาณ | 5,350.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 20 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของผู้ป่วยจิตเวชได้รับยาไม่ต่อเนื่อง | 50.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคจิตเภท (Schizophrenia) หรือจิตเวช คือ กลุ่มอาการของโรคที่มีความผิดปกติ ของความคิด ทำให้ผู้ป่วยมีความคิดและการรับรู้ไม่ตรงกับความเป็นจริง ส่งผลเสียต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น การดูแลตัวเอง การใช้ชีวิตในสังคม ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะเริ่มเป็นเมื่ออายุประมาณ 14-16 ปี หรือช่วงปลายวัยรุ่น โรคนี้พบได้ประมาณร้อยละ 1 ของประชากร และอาจมีอาการกำเริบถึง ร้อยละ 50 -70 ซึ่งต้องเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องในโรงพยาบาลอยู่บ่อยครั้ง ทำให้ต้องใช้งบประมาณในการดูแลค่อนข้างสูง ส่วนใหญ่อาการกำเริบของผู้ป่วยจิตเวชนั้น เกิดจากการรับประทานยาจิตเวชไม่ต่อเนื่อง อาจเนื่องมาจากอาการข้างเคียงจากการใช้ยาดังกล่าว เช่น ลิ้นแข็ง ง่วงนอน เป็นต้น อีกทั้งญาติขาดความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลผู้ป่วย ส่งผลให้เกิดอาการกำเริบขึ้นได้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปิยามุมัง มีผู้ป่วยจิตเวช (วันที่ 1 ตุลาคม 2566) จำนวน 42 ราย รับการรักษาอย่างต่อเนื่องจำนวน 15 ราย มีอาการกำเริบซ้ำที่ต้องเข้ารับการรักษาบ่อยครั้ง จำนวน 5 ราย จากการหาสาเหตุพบว่าอาการกำเริบซ้ำมาจากผู้ป่วยรับประทานยาไม่ต่อเนื่อง รับประทานยาไม่ถูกต้อง ไม่ยอมรับประทานยาเนื่องจากผลข้างเคียงของยา ญาติผู้ป่วยไม่มีความรู้ความเข้าใจในการดูแล จากปัญหาดังกล่าว ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลปิยามุมัง จึงได้จัดทำโครงการเครือข่ายใส่ใจ ดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวช ได้รับการดูแลจากเครือข่ายในชุมชนของตนเอง ลดอาการกำเริบหรือการกลับมาเป็นซ้ำเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและลดภาระของญาติ ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ตามปกติต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้ผู้ปวยจิตเวชได้รับยาอย่างเนื่องและลดอาการกำเริบหรืออาการกลับมาเป็นซ้ำ ร้อยละของผู้ป่วยได้รับยาจิตเวชและรับประทานอย่างต่อเนื่องลดอาการกำเริบหรืออาการกลับมาเป็นซ้ำ |
50.00 | 100.00 |
2 | เพื่อให้เกิดเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนของตนเอง จำนวนของการจัดตั้งกลุ่มเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช |
0.00 | 1.00 |
3 | เพื่อให้เกิดเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนของตนเอง จำนวนของการจัดตั้งกลุ่มเครือข่ายในการดูแลผู้ป่วยจิตเวช |
0.00 | 1.00 |
4 | เพื่อให้ผู้ดูแลมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านได้เหมาะสม ร้อยละของผู้ดูแลมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านได้เหมาะสม |
40.00 | 100.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 5,350.00 | 0 | 0.00 | 5,350.00 | |
9 ก.ค. 67 | จัดอบรมให้ความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเวช | 0 | 4,600.00 | - | - | ||
10 ก.ค. 67 - 20 ก.ย. 67 | การสร้างความสัมพันธ์และความผูกพันระหว่างผู้ดูแลและผู้ป่วยจิตเวช | 0 | 0.00 | - | - | ||
24 ก.ย. 67 | เวทีถอดบทเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ | 0 | 750.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 5,350.00 | 0 | 0.00 | 5,350.00 |
- ผู้ป่วยจิตเวชได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องลดอาการกำเริบหรืออาการกลับมาเป็นซ้ำ
- คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น สามารถใช้ชีวิตได้ปกติ และลดภาระของญาติในการดูแลผู้ป่วยลง
- ผู้ดูแลมีความรู้และทักษะในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่บ้านได้เหมาะสม
- เกิดเครือข่าย ในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนของตนเอง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 16 ก.ค. 2567 11:35 น.