โครงการเด็กเล็กปลอดภัย ป้องกันการจมน้ำ
ชื่อโครงการ | โครงการเด็กเล็กปลอดภัย ป้องกันการจมน้ำ |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอัลมูบารัค |
วันที่อนุมัติ | 2 กรกฎาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 23 กรกฎาคม 2567 - 30 กรกฎาคม 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 32,850.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็กอัลมูบารัค |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.452,101.345place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 18 ก.ค. 2567 | 30 ก.ค. 2567 | 32,850.00 | |||
2 | 0.00 | |||||
รวมงบประมาณ | 32,850.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 55 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 6 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
กระทรวงสาธารณสุข เผยข้อมูล การเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2554-2563 (ค่าเฉลี่ย 10 ปี) มีผู้เสียชีวิต 780 คน เมื่อเปรียบเทียบกับ ปี พ.ศ. 2564 มีผู้เสียชีวิตแค่ปีเดียวถึง 658 คน
โดยการเสียชีวิตของเด็กที่อายุระหว่าง 0-4 ปี มีอัตราการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละเฉลี่ยประมาณ 34 เทียบร้อยละทั้งหมดของเด็ก ระหว่างอายุ 0-15 ปี ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์การเสียชีวิตจากอุบัติเหตุการจมน้ำที่ค่อนข้างสูง
เพื่อให้เด็กเล็กมีทักษะเพิ่มเติมในการดูแลตัวเองเบื้องต้นจากการจมน้ำ การสอนการลอยตัว การฝึกหายใจในน้ำ การว่ายน้ำเบื้องต้น จึงถือเป็นทักษะสำคัญมากต่อเด็กเล็ก ที่มีพฤติกรรมตื่นตัว ชอบเรียนรู้สิ่งรอบตัว จนบางครั้งอาจพ้นสายตาของผู้ปกครอง หรือ ผู้ดูแล จนอาจนำมาซึ่งอุบัติเหตุการจมน้ำ
ผลงานวิจัยทางวิชาการจากสถาบันเพื่อการวิจัยทางการศึกษา มหาวิทยาลัย Griffith ประเทศออสเตรเลีย (ปี 2016) ระบุว่า “แท้จริงแล้วมนุษย์นั้นสามารถเริ่มเรียนว่ายน้ำได้ตั้งแต่อายุ 4 เดือน (หรือเมื่อคอแข็ง) โดยทารกและเด็กเล็กที่มีโอกาสเรียนว่ายน้ำตั้งแต่เล็กจะมีพัฒนาการที่ดีกว่าทารกและเด็กเล็กในวัยเดียวกันที่ไม่ได้เรียนว่ายน้ำ” อย่างไรก็ตาม ช่วงอายุที่เหมาะสมเท่าที่เคยมีการทดลองฝึกว่ายน้ำ จะอยู่ในช่วง 8 เดือนขึ้นไป
และจากมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ มาตรฐานด้านที่ ๒ ครู/ผู้ดูแลเด็กให้การดูแล และจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย การส่งเสริมเด็กเล็กให้รู้จักป้องกันตนเองจากการจมน้ำ จึงเป็นกิจกรรมพิเศษที่ควรส่งเสริมเพื่อพัฒนาและป้องกันด้านความปลอดภัยในเด็กเล็กอย่างรอบด้าน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพิ่มการเรียนการสอนในลักษณะ Active learning และ Active play ในโรงเรียนและศูนย์เด็กเล็ก 2. เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการจมน้ำในเด็กเล็ก 3. เพื่อเสริมสร้างพัฒนาการให้เป็นไปตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ กิจกรรมที่ 1 การปรับตัวพื้นฐานสำหรับการเริ่มฝึกว่ายน้ำในเด็กเล็ก - ร้อยละ 98 ของเด็กเล็กรู้จักท่าพื้นฐานในการว่ายน้ำ - ร้อยละ 98 ของเด็กเล็กรู้จักการหายใจ การลอยตัว การว่ายน้ำได้ - ร้อยละ 100 ของครูและบุคลากรทางการศึกษารู้ถึงแนวทางการป้องกันการจมน้ำในเด็กเล็ก กิจกรรมที่ 2 การฝึกช่วยเหลือตัวเองหากพบเจออุบัติเหตุตกน้ำในเด็กเล็ก - ร้อยละ 98 ของเด็กเล็กรู้จักถึงการป้องกันตัวเองหากตกในสถานการณ์การจมน้ำ - ร้อยละ 100 ของครูและบุคลากรทางการศึกษารู้ถึงแนวทางการป้องกันการจมน้ำในเด็กเล็ก - อุบัติเหตุจากการจมน้ำของเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กลดลง |
80.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
รวม | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 |
กิจกรรมที่ 1 การปรับตัวพื้นฐานสำหรับการเริ่มฝึกว่ายน้ำในเด็กเล็ก - ร้อยละ 98 ของเด็กเล็กรู้จักท่าพื้นฐานในการว่ายน้ำ - ร้อยละ 98 ของเด็กเล็กรู้จักการหายใจ การลอยตัว การว่ายน้ำได้ - ร้อยละ 100 ของครูและบุคลากรทางการศึกษารู้ถึงแนวทางการป้องกันการจมน้ำในเด็กเล็ก
กิจกรรมที่ 2 การฝึกช่วยเหลือตัวเองหากพบเจออุบัติเหตุตกน้ำในเด็กเล็ก - ร้อยละ 98 ของเด็กเล็กรู้จักถึงการป้องกันตัวเองหากตกในสถานการณ์การจมน้ำ - ร้อยละ 100 ของครูและบุคลากรทางการศึกษารู้ถึงแนวทางการป้องกันการจมน้ำในเด็กเล็ก - อุบัติเหตุจากการจมน้ำของเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กลดลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2567 14:31 น.