กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการฟื้นฟูสุขภาพกลุ่มอาการ Post Covid Syndrome ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยแบบองค์รวม ปี 2567
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโกตาบารู
วันที่อนุมัติ 2 กรกฎาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 2 กรกฎาคม 2567 - 30 กันยายน 2567
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 38,400.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางคอรีเยาะ สลีมิน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.452,101.345place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 2 ก.ค. 2567 30 ก.ย. 2567 38,400.00
2 0.00
รวมงบประมาณ 38,400.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การติดเชื้อ COVID-19 ในประเทศไทยพบในอัตราที่สูงถึง 4.5 ล้านคน (ข้อมูล ณ วันที่ 23 มิถุนายน 2566) จะ เห็นได้ว่าเป็นตัวเลขที่สูงมาก โดยเฉพาะสายพันธุ์โอมิครอน ที่แพร่ระบาดได้ง่าย ทำให้พบตัวเลขการติดเชื้อสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และหากติดตามอาการของผู้ติดเชื้อจำนวนหนึ่งจะสังเกตุพบอาการผิดปกติเกิดขึ้นหลังจากหายจากการติดเชื้อแล้วหรือในผู้ป่วยบางราย พบอาการแสดงยาวนานตั้งแต่ช่วงที่ติดเชื้อโดยอาการเหล่านั้นไม่ดีขึ้น อยู่นานเป็นเดือน โดยกลุ่มอาการที่พบสามารถพบได้ในหลายระบบทั่วร่างกาย อาทิเช่น พบไข้สูง มีภาวะเหนื่อย หอบ มากผิดปกติพบภาวะข้อ อักเสบ หรือการพบผื่น (rash) ที่เกิดขึ้นตามร่างกายโดยไม่ทราบสาเหตุ รวมถึงมีอาการชาตาม ปลายมือ ปลายเท้าที่ เกี่ยวข้องกับระบบประสาท และอีกหลากหลายอาการ ดังนั้นทำให้ผู้ที่เคยติดเชื้อที่มีอาการ  ต่างๆเหล่านี้ มีความกังวลต่อสุขภาพของตนเองในระยะยาว ทำให้ผู้ป่วยกลุ่มนี้เดินเข้ามาพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุดังกล่าว ซึ่งกลุ่มอาการเหล่านี้สอดคล้องกับกลุ่มอาการที่เรียกว่า ภาวะ Long COVID-19 หรือ Post COVID-19 โดยหากอ้างอิงตามองค์กรระดับสากล ได้แก่ หน่วยงาน CDC หรือแม้แต่องค์การอนามัยโลก WHO ได้ตระหนัก ถึงภาวะ Long COVID-19 นี้ว่าให้เฝ้าระวังอาการผิดปกติต่างๆเหล่านี้ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาวได้ หาก ไม่ได้เข้ารับการรักษาได้ทันท่วงทีดังนั้นจึงมีการพูดถึงการเจาะเลือดส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการณ์ทางการแพทย์ถึงเทสต์ต่างๆ ที่จะนำมาช่วยในการประเมินภาวะ Long COVID-19 นี้ ที่สามารถส่งผลเสียได้ทุกระบบในร่างกาย อาทิเช่น กระตุ้น ให้ร่างกายสร้างภูมิตอบสนองชนิดที่ทำร้ายตนเอง เกิดเป็นโรค Autoimmune disease ได้หรือพบกลุ่มอาการอักเสบ หลายระบบ Multi-Inflammatory System in Children (MIS-C) หรือ Multi-Inflammatory System in Adults (MIS-A) โดยในปัจจุบันสามารถใช้ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการในการช่วยวินิจฉัยกลุ่มโรคดังกล่าวได้อย่างแม่นยำและ ถูกต้อง


งานวิจัยที่เผยแพร่โดยอิมพีเรียลคอลเลจลอนดอน (Imperial College London) ระบุว่า จากกลุ่มตัวอย่างผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประมาณห้าแสนคนในอังกฤษ พบอาการหลงเหลือต่อเนื่องที่สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มที่มีอาการทั่วไป คือ อ่อนเพลียและเหนื่อยล้า และกลุ่มที่มีขนาดใหญ่กว่าอีกกลุ่มคือมีอาการเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ อันเป็นผลมาจากความรุนแรงจากการติดเชื้อครั้งแรก เช่น ไอ หายใจติดขัด ปวดศีรษะ ฯ นอกจากนี้ รายงานผลสำรวจของ Office of National Statistics (ONS) สหราชอาณาจักร เผยว่า จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1.2 ล้านคนที่อาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักร ความชุกของผู้มีภาวะลองโควิดอยู่ที่ร้อยละ 95 โดยมีอาการหลงเหลือกว่า 4 สัปดาห์หลังได้รับการยืนยันหรือสงสัยว่าติดเชื้อโควิด-19 อีกทั้งร้อยละ 70 ของคนในจำนวนนี้เป็นผู้ที่เคยติดเชื้อหรือสงสัยว่าติดเชื้อมาก่อนไม่ต่ำกว่า 12 สัปดาห์ อาการที่พบมากที่สุดคือ อ่อนเพลีย สูญเสียการรับกลิ่น หายใจติดขัด และสมาธิแย่ลง ตามลำดับ ส่วนในเด็กนั้นพบว่ามีภาวะลองโควิดได้เช่นกัน ข้อมูลจาก ONS พบว่า เด็กที่ติดเชื้อโควิด-19 หลังรักษาหายแล้วยังพบอาการหลงเหลือต่อเนื่องนานกว่า 4 สัปดาห์ อาการส่วนใหญ่ที่พบคืออ่อนเพลีย/เหนื่อยล้า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดและอัตราการติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยกลับมาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา การติดเชื้อโควิด-19 เมื่อรักษาหายแล้วยังก่อให้เกิดอาการหลงเหลือต่อเนื่อง เป็นภาวะที่หลายคนอาจคุ้นหูว่า ลองโควิด (Long COVID) หรือ Post COVID-19 Syndrome ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของร่างกาย รวมถึงสมรรถภาพและการใช้ชีวิตประจำวัน โดยอาการและความรุนแรงจะแตกต่างกันไปตามแต่ละบุคคล จากข้อมูลของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขพบว่า ภาวะลองโควิดมีโอกาสเกิดได้มากถึงร้อยละ 30 – 50 ด้วยเหตุนี้ งานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโกตาบารู ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการฟื้นฟูสุขภาพประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยงในพื้นที่ตำบลโกตาบารู ที่มีอาการ Post Covid Syndrome ด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยแบบองค์รวม โดยส่งเสริมการให้ความรู้ ความเข้าใจ ตลอดจนร่วมทำกิจกรรมต่างๆในการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน เพื่อเตรียมรับมือกับอาการของภาวะสุขภาพนี้ได้อย่างเหมาะสมในอนาคตต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
รวม 0 0.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

7.1 ประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยงและผู้ที่มีอาการ Post Covid Syndrome ได้รับการประเมินคัดกรองอาการ มากกว่าร้อยละ 80 7.2 ประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยงและผู้ที่มีอาการ Post Covid Syndrome ได้รับการดูแลรักษา ฟื้นฟู และติดตามดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยแบบองค์รวม มากกว่าร้อยละ 80 7. 3ประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยงและผู้ที่มีอาการ Post Covid Syndrome สามารถประชาสัมพันธ์และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยแบบองค์รวมในครอบครัว ตลอดจนในชุมชนได้ 7.4 สามารถพัฒนาแนวปฏิบัติการดูแลผู้ที่มีอาการ Post Covid Syndrome เพื่อใช้ในเครือข่ายอำเภอรามันต่อไปได้

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2567 15:23 น.