โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น (SHABAB 4.0)
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น (SHABAB 4.0) |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | สภาเด็กและเยาวชนเทศบาลตำบลโกตาบารู |
วันที่อนุมัติ | 2 กรกฎาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 2 กรกฎาคม 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 58,300.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายซอบรี อีแมดะซอ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | 6.452,101.345place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 2 ก.ค. 2567 | 30 ก.ย. 2567 | 58,300.00 | |||
2 | 0.00 | |||||
รวมงบประมาณ | 58,300.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : |
||
กลุ่มวัยทำงาน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากสถานการณ์ในปัจจุบันพบปัญหาในสังคมที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนหลายด้านด้วยกัน ปัญหาที่เป็นตัวอย่างในระดับประเทศ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การทำแท้ง โรคเอดส์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ตลอดจนปัญหาความรุนแรง ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย ท้้งด้านตัวเด็ก พฤติกรรม สิ่งแวดล้อม และปัจจัยพื้นฐานทางครอบครัว รวมทั้งลักษณะเศรษฐกิจของครอบครัวและที่อยู่อาศัย ซึ่งส่งผลให้เกิดปัญหาหลายอย่าง ตัวอย่างเช่น ปัญหาเรื่องการต่อต้านไม่ค่อยเชื่อฟังผู้ใหญ่หรือผู้ปกครอง แนะนำว่ากล่าว ตักเตือน ส่วนใหญ่จะเชื่อฟังเพื่อและไปตามเพื่อนปัญหาด้านอารมณ์ความรุนแรง ปัญหาด้านการเรียนเที่ยวกลางคืน ปัญหามีความรักในวัยเรียนส่งผลให้เกิดมีเพศสัมพันธ์และเกิดการตั้งครรภ์การทำแท้ง การติดโรคจากการมีเพศสัมพันธ์ ปัญหาการติดยาเสพติด เป็นต้น ปัญหาเหล่านี้ยังเป็นปัญหาที่ยังแก้ไม่หายและจำเป็นที่ต้องได้รับการป้องกันและแก้ไข ดังนั้น การได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและการสนับสนุนจากครอบครัวและบุคคลรอบข้างรวมถึงบุคลากรทางการแพทย์และการศึกษาที่ต้องเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ทางสังคมและเศรษฐกิจปัจจุบันที่มีผลต่อสตรีวัยรุ่น ในการให้ความรู้ข้อมูลข่าวสารเพื่อให้เกิดการปรับตัว และเกิดพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสมเพื่อลดปัญหาทางสุขภาพต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การตั้งครรภ์ไม่พร้อม โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ปัญหาการดูแลสุขอนามัยที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น อีกทั้งปัญหาการปรับตัวของวัยรุ่นที่ขาดความรู้ ประสบการณ์และขาดการสนับสนุนจากผู้ปกครอง สถานบันการศึกษาและบุคลารทีมสุขภาพ อาจนำไปสู่การมีพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพอื่น ๆ เช่น ปัญหาด้านอนามัยเจริญพันธู์ การใช้สารเสพติด ปัญหาการคบเพื่อน เป็นต้น การเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาทักษะในการดูแลตนเองจะช่วยสร้างความตระหนักและปลุกจิตสำนึกให้แก่วัยรุ่น เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่นที่มีผลต่อสุขภาพได้ ตามที่กรมอนามัย โดยสำนักอนามัยการเจริญพันธุ์ดำเนินโครงการขับเคลื่อนการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นระดับท้องถ่ิน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ที่สอดคล้องตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญํติการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น พ.ศ. 2559 เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคของประชาชนนั้น สถานการณ์การตั้งครรภ์ของวัยรุ่นในตำบลโกตาบารู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา พบว่า อัตราการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นโดยเฉพาะกลุ่ม 15-19 ปี ยังคงมีอุบัติการณ์เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลตั้งแต่ปี 2564-2566 อยู่ที่่ 60.16, 17.44 และ 26.18 ต่อพันประชากร ตามลำดับ และการตั้งครรภ์ซ้ำพบ จำนวน 0 ราย ในปี 2566 ซึ่งจากสภาพปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบต่อบุคคล ครอบครัว และสังคม ทั้งในเรื่องของสุขภาพแม่และเด็ก การเสียโอกาสทางการศึกษา ขาดการยอมรับทางสังคม นำไปสู่ปัญหาเศรษฐกิจตามมา โดยการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในระดับบุคคล ครอบครัว ชุมชน ร่วมกับเครือข่ายภาครัฐ ท้องถ่ิน สถาบันการศึกษาและภาคประชาสังคม สภาเด็กและเยาชนตำบลโกตาบารูตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ปี 2567 เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ที่ถูกต้องเรื่องเพศศึกษาและอนามัยเจริญพันธู์แก่เยาวชน รวมทั้งสร้างทักษะในการสื่อสารเรื่องเพศแก่ผู้ปกครอง และการสร้างความร่วมมือระหว่างผู้สำชุมชนทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสุขภาวะทางเพศทั้งในระดับบุคคลและสังคม นำไปสู่การลดจำนวนวัยรุ่นที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมได้ในที่สุด
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี |
---|
ลำดับ | กิจกรรมหลัก | งบประมาณ | ก.ค. 67 | ส.ค. 67 | ก.ย. 67 |
---|---|---|---|---|---|
1 | กิจกรรมเวทีการอบรมให้ความรู้และเพิ่มทักษะในการสื่อสารเรื่องเพศ กับบุตรหลานในครอบครัว จำนวน 120 คน (แกนนำเยาวชนอายุ 10-19 ปี จำนวน 100 คน แกนนำพ่อแม่ผู้ปกครองในพื้นที่ จำนวน 20 คน(2 ก.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) | 0.00 | |||
2 | 2. เวทีประชาคมผู้นำชุมชนด้านการดูแลการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ตำบลโกตาบารู จำนวน 30 คน (ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลโกตาบารู จำนวน 20 คน ตัวแทนสถานประกอบการกิจการ คลีนิก ร้านขายยา จำนวน 10 คน(2 ก.ค. 2567-30 ก.ย. 2567) | 0.00 | |||
รวม | 0.00 |
1 กิจกรรมเวทีการอบรมให้ความรู้และเพิ่มทักษะในการสื่อสารเรื่องเพศ กับบุตรหลานในครอบครัว จำนวน 120 คน (แกนนำเยาวชนอายุ 10-19 ปี จำนวน 100 คน แกนนำพ่อแม่ผู้ปกครองในพื้นที่ จำนวน 20 คน | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | |
2 2. เวทีประชาคมผู้นำชุมชนด้านการดูแลการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ตำบลโกตาบารู จำนวน 30 คน (ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่นในพื้นที่ตำบลโกตาบารู จำนวน 20 คน ตัวแทนสถานประกอบการกิจการ คลีนิก ร้านขายยา จำนวน 10 คน | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรมย่อย | 0 | 0 | 0 | 0 | 0 | |
รวมทั้งสิ้น | 0 | 0.00 | 0 | 0.00 | 0.00 |
- เยาวชนมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับเพศศึกษา อนามัยเจริญพันธุ์ การป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร สามารถตระหนักถึงปัญหาของการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และการตั้งครรภ์ไม่พร้อม
- เยาวชนมีทักษะชีวิตในการป้องกันตนเอง และมีความมั่นใจในตัวเองในการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร
- แกนนำพ่อแม่ ผู้ปกครอง ที่เข้ารับการอบรม มีทักษะในการสื่อสารเรื่องเพศ กับบุตรหลานในครอบครัว
- ผู้นำชุมชนตรหนักถึงบทบาทหน้าที่ และเกิดความร่วมมือในการขับเคลื่อนการดำเนินงาน นำไปสู่การสร้าง "ฮูกมปากัต" เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในพื้นที่
- ฝ่ายปกครองมีแผนการตรวจ/เฝ้าระวังจุดเสี่ยงในตำบล และดำเนินการตามแผนอย่างต่อเนื่องฃ
- ลูกจ้างในสถานประกอบการ ได้รับข้อมูลข่าวสาร คำปรึกษา และได้รับสวัสดิการสังคมอย่างเหมาะสม
- สามารถสรุปบทเรียนการดำเนินงาน วิเคราะห์ปัญหาและวิธีการแก้ไข เพื่อนำไปสู่การดำเนินงานในระยะต่อไป
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2567 15:26 น.