กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมให้ความรู้ในการป้องกันโรคฉี่หนู พื้นที่หมู่ที่ 7 ตำบลบ่อน้ำร้อน
รหัสโครงการ 67-L1467-02-16
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมู่ที่ 7
วันที่อนุมัติ 18 กรกฎาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2567 - 31 สิงหาคม 2567
กำหนดวันส่งรายงาน 25 กันยายน 2567
งบประมาณ 13,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุคนธ์ บัวชุม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ่อน้ำร้อน อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ละติจูด-ลองจิจูด 7.425,99.474place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

เนื่องด้วยในพื้นที่ของหมู่บ้าน บ้านควนแคงหมู่ที่ 7 มีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นลักษณะป่าพรุและดิบชื่น เป็นแหล่งน้ำขังเป็นจำนวนมาก และเป็นพื้นที่ในการประกอบอาชีพของชาวบ้าน ทำให้ชาวบ้านต้องสัมผัสและคลุกคลีกับแวดล้อมที่มีน้ำขังอยู่บ่อยๆ ทำให้พื้นที่ในหมู่บ้านควนแคงได้มีการแพร่ระบายของโรคฉี่หนู และในปีงบประมาณ 2566 พบผู้ป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคฉี่หนู จำนวน 1 ราย โรคฉี่หนูจึงเป็นโรคติดต่ออันตรายที่พบในพื้นที่ ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมูที่ 7 บ้านควนแคง จึงจัดทำการโครงการอบรมให้ความรู้ในการป้องกันโรคฉี่หนู ให้ประชาชนมีความรู้และเกิดความตระหนักถึงอันตรายจากฉี่หนู เพื่อนำไปสู่การป้องกันการเกิดโรคฉี่หนูในชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคฉี่หนู

ผู้ได้รับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคฉี่หนู ในระดับดี ร้อยละ 80

2 เพื่อสร้างความตระหนักถึงความอันตรายของโรคให้กับประชาชน

ผู้ได้รับการอบรมมีความตระหนักถึงความอันตรายเกี่ยวกับโรคฉี่หนู ในระดับดี ร้อยละ 80

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. ประชุมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านหมู่ที่ 7 บ้านควนแคง เพื่อจัดทำและเสนอโครงการ
    1. ขอความร่วมมือจากหน่วยงานฝ่ายปกครอง สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลบ่อน้ำร้อน และแกนนำธรรมชาติในพื้นที่
    2. จัดอบรมโครงการให้ความรู้ในการป้องกันโรคฉี่หนู ใช้เวลา 1 วัน       4. ประเมินและสรุปผลโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคฉี่หนู
    1. ประชาชนมีความตระหนักถึงอันตรายของโรค 3.ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องโรคในการประกอบอาชีพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ก.ค. 2567 14:06 น.