โครงการผู้สูงวัยบ้านห้วยไทร รู้ทันโรค ใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง
ชื่อโครงการ | โครงการผู้สูงวัยบ้านห้วยไทร รู้ทันโรค ใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง |
รหัสโครงการ | 64-L1523-2-18 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 1 |
วันที่อนุมัติ | 5 มีนาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2567 - 30 กันยายน 2567 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2567 |
งบประมาณ | 10,340.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่ที่ 1 |
พี่เลี้ยงโครงการ | นางสาวศศิมา โสะสะ |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลนาเมืองเพชร อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง |
ละติจูด-ลองจิจูด | 7.559,99.465place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มผู้สูงอายุ | 40 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ผู้สูงอายุนับเป็นกลุ่มประชากรที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในสังคมไทย ที่ทุกฝ่ายต้องให้ความสำคัญ ให้การยกย่องนับถือเนื่องจากเป็นกลุ่มบุคคลที่เคยเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศเมื่อครั้งยังอยู่ในวัยทำงานสำหรับประเทศไทยสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วกลุ่มผู้สูงอายุจึงเป็นกลุ่มเป้าหมายเฉพาะที่สังคมจำเป็นต้องเตรียมการและให้การช่วยเหลือเกื้อกูลให้สามารถใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สุขภาพช่องปากจัดเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญกับสุขภาพ อาทิการสูญเสียฟันจำนวนมากจะลดประสิทธิภาพการเคี้ยวอาหารทำให้ต้องเลือกกินอาหารที่เคี้ยวง่ายซึ่งมีไขมันสูงคลอเลสเตอรอลสูง หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกากใยซึ่งร่างกายจำเป็นต้องได้รับการสูญเสียฟันทั้งปากเป็นปัจจัยเสี่ยงของการมีน้ำหนักลดลงและมีปัญหาในการสื่อสารหรือร่วมกิจกรรมในสังคมการมีปัจจัยเสี่ยงร่วมกันระหว่างโรคเรื้อรังกับโรคในช่องปาก เช่น โรคปริทันต์กับเบาหวานโรคหัวใจ โรคทางระบบทางเดินหายใจและสุขภาพจิต เป็นต้น สำหรับสุขภาพช่องปาก จากกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ความว่า “เวลาไม่มีฟันกินอะไรก็ไม่อร่อย ทำให้ไม่มีความสุขจิตใจก็ไม่สบายร่างกายก็ไม่แข็งแรง” ทำให้เห็นความสำคัญของสุขภาพช่องปากต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ชัดเจน ในกลุ่มอายุ ๖๐ ปี ขึ้นไป ทำให้ประสิทธิภาพการบดเคี้ยวอาหารลดลงชัดเจน แม้ว่ากลุ่มผู้สูงอายุตอนต้นจะมีจำนวนมากกว่าครึ่ง มีฟันถาวร 20 ซี่ แต่ฟันถาวรที่เหลือนั้นยังมีปัญหารอยโรคและความผิดปกติในช่องปากที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการลุกลามที่นำไปสู่ความเจ็บปวดและการสูญเสียฟัน ปัญหาที่สำคัญได้แก่ การสูญเสียฟันโดยเฉพาะการสูญเสียฟันทั้งปากในผู้สูงอายุ 60-74 ปี เพิ่มสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตด้านการบดเคี้ยวอย่างมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การเคี้ยวอาหาร การกลืน สำลักอาหารบ่อยเสี่ยงต่อการเสียชีวิต การขาดความมั่นใจไม่กล้ายิ้มเมื่อเข้าสังคมเกิดเป็นปัญหาทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต
ดังนั้นเพื่อเพิ่มประสิทธิผลในการลดการสูญเสียฟัน ให้กลุ่มผู้สูงอายุมีฟันใช้เคี้ยวอาหารอย่างเหมาะสมเพิ่มขึ้น กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ม.1 (บ้านห้วยไทร) จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพปากและฟันของผู้สูงอายุจึงเห็นสมควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพช่องปากดีจึงได้จัดทำ โครงการผู้สูงวัยบ้านเขาเพดาน รู้ทันโรค ใส่ใจดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง เพื่อเป็นการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ สามารถดูแลสุขภาพช่องปากตนเองได้ ซึ่งในระยะยาวจะลดการสูญเสียฟัน ลดความต้องการฟันเทียมเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | ๑. เพื่อให้ผู้สูงอายุ มีความรู้,มีทักษะเรื่องโรคในช่องปากและการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง ๒. เพื่อประเมินสภาวะช่องปากของผู้สูงอายุ 3. เพื่อส่งต่อผู้สูงอายุที่มีปัญหาช่องปาก ๑. ร้อยละ 80 ผู้สูงอายุ มีความรู้,มีทักษะเรื่องโรคในช่องปากและการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง ๒. ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุได้รับการประเมินสุขภาพช่องปาก 3. ร้อยละ 100 ของผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพช่องปากได้รับการส่งต่อพบทันตแพทย์ |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 | กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ | 40 | 8,470.00 | - | ||
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 | กิจกรรมที่ 2 ฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกต้องและตรวจสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ | 40 | 1,600.00 | - | ||
1 เม.ย. 67 - 30 ก.ย. 67 | กิจกรรมที่ 3 การส่งต่อผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก | 0 | 0.00 | - | ||
รวม | 80 | 10,070.00 | 0 | 0.00 |
1.รวบรวมและวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุ
2. วางแผน กำหนดกลุ่มเป้าหมายจำนวนกลุ่มเป้าหมายเนื้อหาและกำหนดรูปแบบวิธีการดำเนินโครงการ
3. จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติโครงการแก่กองทุนสุขภาพเทศบาลตำบลนาเมืองเพชร
4. ประสานวิทยากรและประสานผู้ที่เกี่ยวข้องและกลุ่มเป้าหมายเพื่อแจ้งการดำเนินงานโครงการ
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้
๑. ให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีและรอยโรคในช่องปากของผู้สูงอายุ
2. การดูแลช่องปากผู้สูงอายุ ทั้งผู้ที่มีฟันและใส่ฟันปลอม
3. ให้ทันตสุขศึกษาแนะนำการแปรงฟัน ผ้าก๊อซ หรือการใช้แปรงซอกฟัน รวมถึงการลดปัจจัย
เสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ในช่องปาก
4. ปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่พบบ่อย พร้อมวิธีดูแลที่ถูกต้อง
5. โรคฟัน และโรคในช่องปากสำหรับผู้สูงอายุ
กิจกรรมที่ 2 ฝึกทักษะการแปรงฟันที่ถูกต้องและตรวจสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ
๑. การฝึกทักษะการแปรงฟันและการใช้อุปกรณ์ดูแลช่องปากของผู้สูงอายุ
- วิธีแปรงฟัน อย่างถูกวิธี
- เลือกยาสีฟันที่ช่วยดูแลรักษาเหงือกและฟันที่มีคุณภาพ
2. ตรวจสุขภาพฟันของผู้สูงอายุ โดย เจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข
กิจกรรมที่ 3 การส่งต่อผู้สูงอายุที่มีปัญหาสุขภาพช่องปาก
หากตรวจสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุแล้วพบรายที่มีปัญหาจะส่งต่อให้กับเจ้าหน้าที่ทันตกรรมของโรงพยาบาลอย่างทันท่วงที
ผู้สูงอายุมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องรอยโรคในช่องปากและมีทักษะการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง ส่งผลให้มีสุขภาพช่องปากที่ดี ปัญหาโรคฟันผุเกิดลดน้อยลง รู้ถึงปัญหาสุขภาพช่องปากของตนเอง สามารถแก้ไขปัญหาเบื้องต้นด้วยตนเองได้
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 23 ก.ค. 2567 09:40 น.